xs
xsm
sm
md
lg

ต่างชาติวิจารณ์ขรม “ซูจี” ทำนิ่งวิกฤตโรฮิงญา

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ลี้ภัยชาวมุสลิมโรฮิงญาถือป้ายประท้วงร้องตะโกนต่อต้านการข่มเหงชาวมุสลิมโรฮิงญาในพม่า หน้าสถานทูตพม่าในกรุงกัวลาลัมเปอร์ วันที่ 25 พ.ย. --  Agence France-Presse/Mana Vatsyana.</font></b>

เอเอฟพี - อองซานซูจี วีรสตรีประชาธิปไตยแห่งพม่า ถูกกล่าวหาว่าล้มเหลวที่จะปกป้องคุ้มครองชาวมุสลิมโรฮิงญาจากสิ่งที่กลุ่มสิทธิมนุษยชนระบุว่า เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นระบบโดยกองทัพของประเทศ

เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ที่ได้รับเสียงชื่นชมจากประชาคมโลกถึงการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยตลอดหลายปีภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร ยังคงปิดปากเงียบ แม้จะมีหลักฐานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของกองทัพในรัฐยะไข่ปรากฏเพิ่มขึ้นก็ตาม

สหประชาชาติ กล่าวว่า การปฏิบัติการด้านความมั่นคงในรัฐยะไข่เมื่อไม่นานนี้ เป็นการล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญา ที่ทำให้ประชาชนจำนวนมากต้องหลบหนีไปบังกลาเทศ

“ความล้มเหลวที่จะกล่าวสนับสนุนชาวโรฮิงญาของซูจี สร้างความงุนงงให้แก่ผู้ที่ยืนกรานเลือกซูจีเป็นสัญลักษณ์ในการต่อสู้เรียกร้องสิทธิมนุษยชน” เดวิด แมทธีสัน จากฮิวแมนไรท์วอช กล่าว

แมทธีสัน กล่าวว่า การนิ่งเงียบของซูจีอาจเป็นเพราะไม่สนใจ หรือการสื่อสารได้อย่างจำกัด แต่ที่ดูจะมีแนวโน้มมากที่สุด คือ ซูจีนั้นไม่สามารถควบคุมกองทัพได้

ชาวโรฮิงญาหลายพันคนหลบหนีการปิดล้อมทางทหารในรัฐยะไข่ไปบังกลาเทศ พร้อมกับเรื่องราวการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทหาร ทั้งการข่มขืน การทรมาน และการฆ่าชาวมุสลิมโรฮิงญา

กลุ่มสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า ทหารใช้การโจมตีด่านชายแดนตำรวจเมื่อเดือนก่อน เป็นข้ออ้างในการปราบปรามชาวโรฮิงญา แต่รัฐบาลปฏิเสธข้อกล่าวหาเหล่านี้ โดยระบุว่า ทหารเพียงแค่กำลังปกป้องประเทศจากผู้ก่อความไม่สงบ

อย่างไรก็ตาม ทหารไม่อนุญาตให้ผู้สืบสวน และผู้สื่อข่าวต่างชาติเข้าไปในพื้นที่ปิดล้อม และโต้แย้งรายงานเกี่ยวกับการละเมิดสิทธินั้นเป็นเรื่องเท็จ

ซูจี ที่เดินทางไปเยือนอินเดีย และญี่ปุ่นระหว่างเกิดเหตุวิกฤตในรัฐยะไข่ ได้แสดงความเห็นเพียงแค่กล่าวว่า การสืบสวนเหตุโจมตีกำลังอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมาย

แต่ซูจี ก็ต้องเผชิญต่อการวิพากษ์วิจารณ์ที่เพิ่มสูงขึ้น จากการนิ่งเฉยไม่ทำอะไรต่อวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนแมรี ในกรุงลอนดอน กล่าวว่า การนิ่งเงียบของซูจีเท่ากับเป็นการทำให้ “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชอบด้วยกฎหมาย” และปกป้อง “การข่มเหงชนกลุ่มน้อยโรฮิงญา”

“แม้ข้อเท็จจริงที่ว่า เรื่องนี้เป็นบททดสอบสำคัญของความเป็นผู้นำของซูจี แต่ผู้นำโดยพฤตินัยของพม่ากลับนิ่งเฉยไม่สนใจ” นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยควีนแมรี กล่าว

แม้อองซานซูจี จะนำพรรคของตัวเองเข้ากุมอำนาจบริหารประเทศ แต่ก็ถูกรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลเผด็จการทหารร่างขึ้นจำกัดอำนาจ ด้วยรัฐธรรมนูญนั้นสงวนที่นั่ง 1 ใน 4 ของสภาให้แก่ทหาร และควบคุมกระทรวงที่เกี่ยวข้องต่อความมั่นคง

นอกจากนั้น ซูจี ยังถูกจำกัดด้วยมุมมองของชาวพุทธพม่า ที่ว่า โรฮิงญานั้นเป็นผู้ลักลอบเข้าประเทศอย่างผิดกฎหมาย ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ความเคลื่อนไหวใดๆ ก็ตามที่แสดงถึงการสนับสนุนชาวโรฮิงญา มีความเสี่ยงที่จะถูกตอบโต้กลับอย่างรุนแรงจากประชาชน.
กำลังโหลดความคิดเห็น