xs
xsm
sm
md
lg

ลาวเดินหน้าสร้างเขื่อนปากแบง ผลิตไฟฟ้าบนลำน้ำโขง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เรือหาปลาของชาวบ้านแล่นผ่านพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง บนแม่น้ำโขง ใกล้ชายแดนกัมพูชา-ลาว ในจ.สตึงเตรง คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงเผยว่าลาวได้แจ้งว่าจะดำเนินการขั้นตอนการปรึกษาหารือการสร้างเขื่อนปากแบง ซึ่งเป็นเขื่อนไฟฟ้าบนลำน้ำโขงแห่งที่ 3 ถัดจากเขื่อนไซยะบุรีและดอนสะโฮง โดยที่สื่อของลาวได้รายงานไปก่อนหน้านี้ว่าเขื่อนแห่งนี้จะเริ่มสร้างในช่วงต้นปี 2560. --  Associated Press/Heng Sinith.</font></b>

เอพี - ลาวได้แจ้งต่อประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่า กำลังเดินหน้าโครงการเขื่อนผลิตไฟฟ้าอีกแห่งหนึ่งบนลำน้ำโขง

คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง องค์กรบริหารจัดการแม่น้ำร่วมกันในกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขงที่ประกอบด้วย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และไทย ได้ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่งว่า คณะกรรมาธิการได้รับแจ้งจากลาวว่า ลาวจะดำเนินขั้นตอนการปรึกษาหารือเกี่ยวกับการสร้างเขื่อนปากแบง

ในกรณีของการปรึกษาหารือโครงการเขื่อนไซยะบุรี และเขื่อนดอนสะโฮงก่อนหน้านี้ ลาวยังคงมุ่งมั่นเดินหน้าแม้จะมีเสียงคัดค้านจากนักวิทยาศาสตร์ นักอนุรักษ์ และประเทศอื่นๆ ก็ตาม

ลาวได้เริ่มงานในส่วนของการเตรียมงานสำหรับโครงการเขื่อนปากแบง ขนาด 912 เมกะวัตต์ ในแขวงอุดมไซย ไปแล้ว และสำนักข่าวลาวรายงานในเดือน ก.ค. ว่า การก่อสร้างจะเริ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2560

นักวิจารณ์ระบุว่า เขื่อนเหล่านี้จะทำลายการประมง และพื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่ปากแม่น้ำ ที่หล่อเลี้ยงผู้คนมากกว่า 60 ล้านชีวิตในภูมิภาค อันเป็นผลกระทบที่รุนแรงที่สุดต่อประเทศปลายน้ำคือกัมพูชา และเวียดนาม ที่ในเวลานี้พื้นที่เหล่านั้นได้รับแรงกดดันจากเขื่อนหลายสิบแห่งที่สร้างขึ้นบนสาขาของแม่น้ำโขงอยู่แล้ว

รัฐบาลลาวมองว่า การส่งออกไฟฟ้าจากเขื่อนเหล่านี้เป็นหนทางในการพัฒนาเศรษฐกิจประเทศ และวางแผนที่จะสร้างเขื่อนอีก 9 แห่ง บนแม่น้ำโขง

แต่การสร้างเขื่อน นอกจากจะเป็นอันตรายต่อการทำประมง อาจส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารอีกด้วย โดยโครงการอาหารโลกระบุว่า เกือบครึ่งหนึ่งของเด็กชาวลาวที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี ประสบภาวะขาดสารอาหารเรื้อรัง และการเจริญเติบโตหยุดชะงัก

“ผลกระทบจากเขื่อนลาว และเขื่อนอีก 6 แห่งที่สร้างขึ้นในจีน จะเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงถึงที่สุด” เหวียน ถิ ฮง วัน ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่น้ำเวียดนาม กล่าว

เหวียน ถิ ฮง วัน ระบุว่า ลาวอาจสร้างเขื่อนมากเกินไป และจบลงด้วยการมีพลังงานไฟฟ้าส่วนเกิน เพราะแผนของลาวไม่ได้พิจารณาการพัฒนาพลังงานระยะยาวในภูมิภาค

“รัฐบาลลาวควรร่างแผนแม่บทสำหรับความมั่นคงทางพลังงานสำหรับลาว และสำหรับภูมิภาค การลงทุนของลาวในเขื่อนไฟฟ้าโดยไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบทางสังคมต่อประเทศอื่นๆ ที่อยู่ตอนล่างของแม่น้ำ จะกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้” ผู้ประสานงานเครือข่ายแม่น้ำเวียดนาม กล่าว

มัวรีน แฮร์ริส ผู้อำนวยการโครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขององค์กรแม่น้ำนานาชาติ ระบุว่า ผลกระทบจากเขื่อนใหม่แต่ละแห่งในข้อเสนอนั้นเพิ่มมากขึ้น และคุกคามการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานของระบบนิเวศของแม่น้ำ และทำลายความหลากหลายทางชีวภาพรวมกันกับระบบอาหารที่ประชาชนหลายล้านคนต้องพึ่งพาอาศัย

เมื่อต้นปี การศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากเวียดนาม คาดการณ์ว่า การผลิตข้าวในพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงจะลดลงอย่างหนักเพราะเขื่อนที่ลาววางแผนสร้างจะดักจับตะกอน สารอาหารที่ไหลลงมายังปลายน้ำลดลง และจำนวนปลาลดลงจากการถูกขัดขวางในการอพยพย้ายถิ่นเพื่อขยายพันธุ์

รายงานยังประเมินว่า การทำประมง และการเกษตรจะมีความสูญเสียมากกว่า 760 ล้านดอลลาร์ต่อปีในเวียดนาม และ 450 ล้านดอลลาร์ในกัมพูชา ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด.
กำลังโหลดความคิดเห็น