xs
xsm
sm
md
lg

จีนสร้างเขื่อนใหญ่ปากแบงปีนี้ กั้นลำน้ำโขงทั้งสายสุดทันสมัยไฮเทคเปิดให้เรือแล่นได้ด้วย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<FONT color=#00003>แผนที่เล็กขององค์การ Terra กับ แผนที่ของกูเกิ้ล แสดงจุดที่ตั้งเขื่อนปากแบงขนาด 912 เมกะวัตต์ มูลค่า 2,000 ล้านดอลลาร์ ของกลุ่มบริษัทจีน ที่จะสร้างกั้นแม่น้ำโขงทั้งสาย ในเขตเมืองปากแบง แขวงอุดมไซ กลายเป็นเขื่อนน้ำโขง ที่อยู่เหนือสุด จากบรรดา 11 เขื่อนในดินแดนลาวและกัมพูชา แต่ลาวกล่าวว่า เขื่อนแห่งนี้ไฮเทคสุดๆ นับจำนวนแค่เครื่องปั่นไฟ ก็มีถึง 16 หน่วยแล้ว.</b>

MGRออนไลน์ -- กลุ่มบริษัทต้าถังโอเวอร์ซีใส์อินเวสต์เม้นต์ (Datang Overseas Investment) จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเริ่มก่อสร้างเขื่อนปากแบง ซึ่งเป็นเขื่อนใหญ่กั้นแม่น้ำโขงทั้งสาย ในแขวงอุดมไซ ทางตอนเหนือของลาว โดยคาดว่าจะเริ่มได้ในปลายปีนี้ ขณะการสำรวจศึกษาผลกระทบด้านต่างๆ กำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย ซึ่งจะเป็นเขื่อนทันสมัยได้มาตรฐานโลก และ ยังมีการนำใช้เทคโยโลยีใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยใช้ในลาวมาก่อน

นี่คือเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงแห่งที่ 3 และ อยู่ตอนบนสุดของลำน้ำสายนี้ ใน สปป.ลาว หรือ ถ้าหากจะไม่นับรวมกับเขื่อนดอนสะโฮง ที่กั้นเพียงน้ำไหลเพียง 1 สาย ในระบบแม้น้ำอันสลับซับ ในเขตสี่พันดอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก ทางตอนใต้สุด เขื่อนปากแบงก็จะเป็นแห่งที่ 2 ที่สร้างกั้นลำน้ำทั้งสาย ถัดจากเขื่อนไซยะบูลี ที่อยู่ใต้ลงไปราว 200 กม. และ อยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้

แน่นอนที่สุดปากแบง เป็นเขื่อนขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ถูกตามคัดค้าน จากกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดกล้อมมากที่สุด โดยกล่าวหาว่า เป็นโครงการที่จะส่งผลกระทบมากมายต่อ สัตว์ป่าและพืชพรรณ ส่งผลกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่นเกือบ 7,000 คน เขื่อนจะเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศ กระทบห่วงโซ่อาหาร ส่งผลให้จำนวนปลาในแม่น้ำ ซึ่งเป็นอาหารโปรตีนหลัก สำหรับประชาชนที่อยู่ใต้เขื่อนลงไป มีจำนวนลดน้อยลง

ตามรายงานของสื่อทางการ การสำรวจและศึกษากำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้าย คณะผู้บริหารโครงการปากแบง ได้นำเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้องไปยัง ประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ไทย เวียดนาม และ กัมพูชาได้รับทราบแล้ว เมื่อทุกอย่างแล้วเสร็จ ก็จะลงมือก่อสร้างทันที

ตามแผนการเดิมที่ประกาศในปลายปี 2558 โครงการปากแบง อาจจะเริ่มการก่อสร้างในต้นปี 2560 นี้ แต่รายงานล่าสุดของสื่อทางหทาร แสดงให้เห็นการดำเนินการด้านการสำรวจศึกษา และ กระบวนการปรึกหารือ กับประเทศมาชิกกลุ่มแม่น้ำโขง ที่ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม เขื่อนปากแบงมูลค่ากว่า 2,000 ล้านดอลลาร์ แม้จะมีกำลังติดตั้งเพียง 912 เมกะวัตต์ แต่จะมีเครื่องปั่นไปถึง 16 หน่วย ซึ่งมากกว่าทุกเขื่อนทั้งที่กำลังก่อสร้าง และ เปิดใช้แล้วในลาวขณะนี้ ตัวเขื่อนยาวเกือบ 1,000 เมตร สูงประมาณ 64 เมตร สำนักสารประเทดลาวรายงาน อ้างตัวเลขล่าสุดของกรุทรวงพลังงานและเหมืองแร่ เมื่อไม่นานมานี้

ตามข้อมูลชุดเดียวกันนี้ เขื่อนปากแบงจะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ มีระบบที่สามารถปล่อยให้ดินตะกอนก้นแม่น้ำลอดผ่านไปได้ เป็นการลบคำครหา ของกลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติที่ว่า การก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำทั้งสาย จะทำให้มูลดินที่มีประโยชน์ ต่อพืชและสัตว์ใต้น้ำ ไม่สามารถผ่านไปสู่ตอนล่างของแม่น้ำได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบเป็นทอดๆ ไปยังภาคการเกษตร เทือกไร่นาสวนของประชาชนหลายล้านคน ที่ต้องอาศัยน้ำจากแม่น้ำโขง

นอกจากนั้นยังจะมีการจัดสร้าง เส้นทางขึ้นลงของปลา ไว้ด้านข้างของเขื่อน โดยมีความกว้างประมาณ 15 เมตร ยาวประมาณ 1,000 เมตร ทำให้ปลาสามารถขึ้นลงได้อย่างสะดวกสบาย โดยไม่ใช้ระบบ "บันไดปลาโจน" เช่นเมื่อก่อน

ตามรายงานของสำนักข่าวทางการ ลักษณะพิเศษสุดของเขื่อนปากแบงก็คือ จะมีช่องทางเดินเรือแบบยกขึ้นลง ทำให้เรือขนาด 500 ตัน แล่นผ่านได้ ซึ่งหมายความว่า ทั้งเรือสินค้า และ เรือท่องเที่ยว ที่แล่นรับส่ง ระหว่าง อ.เชียงของ จ.เชียงราย (และ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว) กับเมืองหลวงพระบาง สามารถให้บริการได้ต่อไปตามปรกติ

คาดว่าภายในปี 2565 จะสามารถทดลองเดินเครื่องปั่นไฟ 2 หน่วยแรก และ ปี 2566 จะสามารถเดินเครื่องได้ครบทั้ง 16 หน่วย การก่อสร้างจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ ผลิตไฟฟ้าได้เต็มกำลังในปี 2567 หรือ อีก 7 ปีตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ไฟฟ้าที่ผลิตได้ราว 90% จะส่งขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวนที่เหลือจะใช้ภายในประเทศ และ มีแนวโน้มว่าบริษัทผลิตไฟฟ้าของไทย จะเข้าร่วมหุ้นในโครงการนี้ด้วย
.
<br><FONT color=#00003>แผนที่กูเกิ้ลขยายให้เห็น จุดที่จะสร้างเขื่อนปากแบง กั้นบริเวณปากลำน้ำแบง ไหลลงสู่แม่น้ำโขง ห่างตัวเมืองลงไปทางใต้ราว 14 กม. </b>
2
<br><FONT color=#00003>เขื่อนจะมีระบบปิดเปิดประตูน้ำทันสมัย ให้เรือขนส่งสินค้า เรือท่องเที่ยง ระหว่าง อ.เชียงของ จ.เชียงราย กับเมืองหลวงพระบาง ยังคงให้บริการได้ต่อไป ยังมีทางน้ำไหล ซูเปอร์ไฮเวย์ กว้างถึง 15 เมตรสำหรับปลาขึ้นลง อีกต่างหาก ปลาไม่ต้องกระโจนขึ้นไปตามขั้นบันไดให้เหนื่อย. </b>
3
<br><FONT color=#00003>ภาพนี้ไม่สามารถให้เครดิตแก่เจ้าของได้ แต่แพร่กันในโลกออนไลน์ของชาวลาว เป็นสะพานปากแบง ข้ามแม่น้ำโขง ที่จีนสร้างให้ และ เปิดใช้เมื่อปีที่แล้ว เป็นจุดตัดสำคัญ เชื่อม จ.น่านของไทย เปิดประตูสู่เดียนเบียนฟูในเวียดนาม.  </b>
4

หลายเสียงกล่าวว่า เขื่อนปากแบง จะช่วยเสริมสร้างความมั่นคงด้านการพลังงาน ให้แก่ระบบรถไฟฟ้าจีน-ลาว ระยะทางกว่า 400 กิโลเมตร ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้ และ มีกำหนดแล้วเสร็จใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งตามแผนการนั้น จะใช้พลังงาน จากไฟฟ้าของเขื่อนน้ำอูหลายโครงการ ในแขวงหลวงพระบาง

ตามรายงานของเครือข่ายแม่น้ำระหว่างประเทศ หรือ International River Network คาดว่าเขื่อนปากแบงจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในท้องถิ่นเป็นวงกว้าง ราว 27 หมู่บ้าน รวมทั้ง 2 แห่งในประเทศไทยด้วย และ จะมีราษฎรได้รับผลกระทบราว 6,700 คน

แต่นายจันสะแหวง บุนยัง ผู้อำนวยการกรมนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงานฯ บอกสำนักข่าวของทางการเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เขื่อนปากแบงจะส่งผลกระทบต่อประชาชน 7 หมู่บ้าน และ มีเพียงหมู่บ้านเดียว ประชากรราว 1,000 คน ที่จะต้องอพยพโยกย้าย ออกจากเขตน้ำท่วม อีก 6 แห่ง เพียง "ขยับขยาย"

เช่นเดียวกันกับเขื่อนแห่งอื่นๆ ผู้ที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด จะได้รับค่าชดใช้อย่างยุติธรรม ได้รับความช่วยเหลืออย่างเหมาะสม มีการจัดสรรที่ดินเพื่ออยู่อาศัย และ ที่ดินทำกิน มีการจัดระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานต่างๆให้ ซึ่งรวมทั้งถนนหนทาง น้ำสะอาด ไฟฟ้าใช้ โรงเรียนสำหรับลูกหลาน สถานีอนามัย และ อื่นๆ ที่มีความจำเป็นในเบื้องต้น

ตามรายงานของกระทรวงพลังงานฯ ที่เผยแพร่ก่อนหน้านี้ เขื่อนปากแบงจะสร้างกั้นแม่น้ำโขง ในจุดที่อยู่ใต้เมืองปากแบงลงไป >ราว 14 กม. หรือ เหนือจากเมืองมรดกโลกของลาวขึ้นไปประมาณ 100 กม. ตรงบริเวณลำน้ำแบง ไหลลงแม่น้ำโขง

กลุ่มต้าถังจากจีน ได้เซ็นบันทุกความเข้าใจกับทางการลาว ในเดือน ส.ค.2550 เพื่อก่อสร้างโครงการปากแบง และ เริ่มทำการศึกษาตั้งแต่นั้น ผลการสำรวจศึกษาเบื้องต้นได้รับอนุมัติจากรัฐบาลลาวในเดือน ม.ค.2557 และ เริ่มเข้าสู่กระบวนการปรึกษาหารือกับสมาชิกกลุ่มแม่น้ำโขง

เมืองปากแบงเป็นเมืองท่องเที่ยวยอดนิยมอีกแห่งหนึ่งในภารคเหนือของลาว เป็นกึ่งกลางของเส้นทางเดินเรือ และ ใช้เป็นจุดแวะพักสำหรับเรือโดยสาร เรือสินค้า กับ เรือท่องเที่ยวจาก อ.เชียงของ จ.เชียงรายของไทย ที่มุ่งไปลงยังหลวงพระบาง และ IRN กล่าวว่าเขื่อนปากแบง กำลังจะทำลายระบบแม่น้ำโขง ช่วงที่มีทัศนียภาพสวยงามมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง ทางตอนเหนือของประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น