xs
xsm
sm
md
lg

ลาวเดินหน้าสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ไม่สนผลกระทบเวียดนาม-เขมร

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 20 มิ.ย.2559 เรือประมงแล่นเข้าใกล้เขตก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ใกล้พรมแดนกัมพูชา-ลาว ในเขตจ.สตึงเตรง ของกัมพูชา การสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงของลาวคาดว่าจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนหลายล้านคนที่อยู่ปลายน้ำ โดยเฉพาะกัมพูชาและเวียดนาม แม้จะมีคำร้องให้ชะลอการก่อสร้างจากประเทศเพื่อนบ้าน แต่ลาวยังคงเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงต่อไป. -- Associated Press/Heng Sinith.</font></b>

เอพี - ลาวกำลังเร่งก่อสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขง แม้จะมีคำร้องขอให้ชะลอการก่อสร้างจากประเทศเพื่อนบ้านก็ตาม และการสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงกำลังคุกคามการประมงซึ่งมีความสำคัญต่อชีวิตของผู้คนที่ยากจนหลายล้านคนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

พื้นที่ก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ที่อยู่ห่างจากชายแดนลาว-กัมพูชา ไม่ถึง 2 กิโลเมตร เป็นพื้นที่ที่มีชื่อเสียงในเรื่องของน้ำตกที่สวยงามและเป็นหนึ่งในแหล่งที่อยู่อาศัยเพียงไม่กี่แห่งของโลมาอิรวดีที่ใกล้สูญพันธุ์

ลาวเป็นประเทศที่ยากจนที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์และอิทธิพลของจีน ทำให้ผู้นำเผด็จการของประเทศสามารถจัดการกับแม่น้ำที่มีความยาว 4,800 กิโลเมตรแห่งนี้ ที่มีต้นทางจากทิเบต ไหลผ่าน 6 ประเทศ ก่อนลงสู่ทะเลจีนใต้

จีนสร้างเขื่อนขึ้น 6 แห่งบนแม่น้ำโขงนับตั้งแต่กลางทศวรรษ 1990 ขณะที่ลาววางแผนจะสร้างเขื่อนทั้งหมด 9 แห่ง นอกจากนั้นยังมีเขื่อนหลายแห่งถูกสร้างขึ้นตามแม่น้ำสาขาของแม่น้ำโขง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เขื่อนทั้งหมดได้สร้างความเสียหายต่อการทำประมงน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก และลดคุณภาพของพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญ ที่ช่วยหล่อเลี้ยงกัมพูชาและเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ปลายน้ำ

แม้ว่าจะสร้างเขื่อนขึ้นไม่กี่แห่งบนแม่น้ำโขงตอนล่าง แต่เขื่อนก็จะสร้างความเสียหายต่อลุ่มน้ำที่ประชาชนกว่า 60 ล้านคนพึ่งพาอาศัย

"เขื่อนดอนสะโฮง เป็นเหมือนกับลูกระเบิดที่อยู่เหนือเรา" เจ้าของเรือท่องเที่ยวและคุณพ่อลูก 10 ที่เข้าร่วมการประท้วงพร้อมกับชาวกัมพูชาอีกหลายร้อยคน กล่าว

ประเทศที่เหลือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่มีอำนาจที่จะหยุดยั้งลาว ภายใต้ข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีขอบเขตเพียงแค่การให้คำปรึกษาเพื่อนบ้านเท่านั้น
.
<br><FONT color=#000033> ชาวประมงเขมรแล่นเรือเข้าฝั่งหลังออกจับปลาใกล้กับพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ซึ่งชาวเขมรจำนวนมากคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแห่งนี้. -- Associated Press/Heng Sinith.</font></b>
.
เขื่อนดอนสะโฮงขนาด 256 เมกะวัตต์แห่งนี้ อาจเป็นอันตรายอย่างยิ่งเพราะขัดขวางเส้นทางสำคัญของการย้ายถิ่นของปลา ตามการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้พิจารณาครอบคลุมไปถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับประเทศเพื่อนบ้าน แต่ลาวระบุว่าจะสร้างช่องทางใหม่เพื่อให้ปลาสามารถว่ายขึ้นไปยังต้นน้ำได้

ลาวกล่าวว่า พลังงานที่ได้จากเขื่อนจะช่วยพัฒนาพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศ และตามแผนโดยรวมของลาว สำหรับเขื่อนไฟฟ้าทั้ง 9 แห่งนั้น ไฟฟ้าที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะส่งออกไปไทยและเวียดนาม

แต่การวิจัยชี้ว่าผลกระทบโดยรวมจากเขื่อนที่วางแผนสร้างบนแม่น้ำโขงทั้งหมดนั้นจะสร้างความเสียหายใหญ่หลวง

เมื่อเร็วๆ นี้ การศึกษาผลกระทบสำหรับเวียดนาม โดยบริษัท DHI ที่เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านน้ำของเดนมาร์ก คาดการณ์ว่าการผลิตข้าวในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงจะลดลงฮวบฮาบ เพราะเขื่อนจะดักตะกอน ทำให้สารอาหารที่ไหลมาตามกระแสน้ำลดลง การศึกษายังคาดอีกว่าความเสียหายของการทำประมงและการเกษตรต่อปีจะมีมูลค่ามากกว่า 760 ล้านดอลลาร์ในเวียดนาม และ 450 ล้านดอลลาร์ในกัมพูชา ซึ่งเป็น 2 ประเทศที่ได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุด

ผลกระทบจากเขื่อนของจีนปรากฎให้เห็นทั่วแม่น้ำโขงตั้งแต่ลาว และในเมืองเชียงของของไทย ที่เคยคับคั่งไปด้วยเรือประมงหลายร้อยลำ ซึ่งในช่วงกว่าทศวรรษที่ผ่านมา ชาวประมงจับปลาได้มากกว่า 10 กิโลกรัมต่อวัน แต่เวลานี้ ได้เพียงแค่ 1-2 กิโลกรัม หรือบางครั้งจับไม่ได้เลย นอกจากนั้นปลาบางสายพันธุ์ก็ไม่ปรากฎให้เห็นอีก

"ผมเป็นชาวประมง แต่ผมรู้สึกเหมือนกับว่าผมจะต้องซื้อปลากระป๋องกิน" ชายวัย 60 ปี กล่าว

จากการศึกษายังระบุว่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนที่ไม่สามารถคาดเดาได้ยังสร้างความเสียหายต่อสวนริมน้ำที่เรียงรายตามแนวแม่น้ำโขง ซึ่งมากกว่าครึ่งของที่ดินริมน้ำจะสูญหายไปหากเขื่อนต้นน้ำถูกสร้างตามแผนทั้งหมด

นักรณรงค์ขององค์กรแม่น้ำนานาชาติระบุว่า แม่น้ำโขงจะได้รับความเสียหายที่ไม่สามารถแก้ไขได้ในช่วงทศวรรษหน้าหากไร้ข้อตกลงผูกพันในการควบคุมการพัฒนา

"เขื่อนแต่ละแห่งมีเจ้าของและการดำเนินการแตกต่างกันไปตามแต่ละบริษัท จากแต่ละประเทศ ซึ่งต่างก็มุ่งสกัดทรัพยากรของแม่น้ำโขงเพื่อประโยชน์สูงสุดที่พวกเขาสามารถทำได้" นักรณรงค์ กล่าว.
.
<br><FONT color=#000033>การให้บริการพานักท่องเที่ยวชมโลมาอิรวดีในแม่น้ำโขง เป็นอีกหนึ่งช่องทางรายได้ของชาวเขมรในจ.สตึงเตรง แต่การสร้างเขื่อนจะส่งผลกระทบกับแหล่งที่อยู่อาศัยของโลมา. -- Associated Press/Heng Sinith.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น