xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” ขึ้นเวทีสหประชาชาติครั้งแรกให้คำมั่นส่งเสริมสิทธิมนุษยชนพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐ และรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศพม่า ขึ้นกล่าวปราศรัยในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติครั้งที่ 71 ที่สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ นิวยอร์ก วันที่ 21 ก.ย. -- Agence France-Presse/Jewel Samad.</font></b>

เอเอฟพี - อองซานซูจี ให้คำมั่นที่จะส่งเสริมสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่ ในการเปิดตัวครั้งแรกที่สหประชาชาติ ในฐานะผู้นำโดยพฤตินัยของพม่า

อดีตผู้นำฝ่ายค้านที่ถูกรัฐบาลเผด็จการทหารควบคุมตัวในบ้านพักเป็นเวลาหลายปี ได้ขึ้นเวทีสหประชาชาติเป็นตัวแทนกล่าวให้แก่พม่า แต่ผู้สนับสนุนชาติตะวันตกบางส่วนที่ต่อสู้เพื่ออิสรภาพของซูจี เริ่มแสดงความผิดหวัง เมื่อซูจี ที่ในเวลานี้เป็นนักการเมือง ปฏิเสธที่จะยอมรับชาวโรฮิงญา ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ

ซูจี ไม่ได้กล่าวถึงโรฮิงญาด้วยชื่อดังกล่าวในการขึ้นกล่าวปราศรัย แต่ให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนคณะกรรมการที่นำโดย นายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับรัฐยะไข่ ที่มีชาวโรฮิงญาหลายพันคนต้องอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นอันเลวร้ายนานหลายปี

“มีการคัดค้านอย่างไม่ลดละจากบางส่วนต่อการจัดตั้งคณะกรรมการ” ซูจี กล่าว โดยอ้างถึงการชุมนุมประท้วงที่เกิดขึ้นต่อคณะที่ปรึกษา

“อย่างไรก็ตาม เรามุ่งมั่นที่จะพยายามให้ความพยายามของเราบรรลุความสามัคคี ความสงบสุข และความเจริญรุ่งเรืองในรัฐยะไข่ และอยากจะใช้โอกาสที่จะขอความเข้าใจ และการสนับสนุนอย่างสร้างสรรค์ของประชาคมโลก” ซูจี กล่าว

“เราขอยืนยันอีกครั้งต่อความเชื่อของเราในหลักพื้นฐานสิทธิมนุษยชน ในศักดิ์ศรี และคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ด้วยการยืนหยัดต่อต้านกองกำลังของความรู้สึกอคติ และการไม่ยอมรับความต่าง” ผู้นำพม่า ระบุ

ก่อนเดินทางมาร่วมการประชุมสหประชาชาติ ที่นิวยอร์ก ซูจี ได้พบหารือกับประธานาธิบดีบารัค โอบามา ที่ทำเนียบขาว ที่เห็นชอบจะยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรที่เหลืออยู่กับพม่า

ผู้กำหนดนโยบายของสหรัฐฯ กล่าวเป็นส่วนตัวว่า พวกเขาทราบว่า ซูจี กำลังเผชิญต่อแรงกดดันอย่างรุนแรงภายในประเทศ ที่ชาวโรฮิงญาตกเป็นเป้าของการดูถูกในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง และไม่ได้มองว่าเป็นพลเมืองของประเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น