xs
xsm
sm
md
lg

ชาวพุทธหัวรุนแรงตอบโต้ทันควันจัดประท้วงรับ “โคฟี อันนัน” ถึงสนามบิน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายโคฟี อันนัน (ซ้าย) และนางอองซานซูจี เข้าร่วมการประชุมที่ศูนย์สันติภาพและความปรองดองแห่งชาติในนครย่างกุ้ง โดยอดีตเลขาธิการสหประชาชาติมีกำหนดเดินทางไปเมืองสิตตเว รัฐยะไข่ แต่กลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรงในพื้นที่ระบุว่าจะจัดชุมนุมประท้วงที่สนามบินคัดค้านการเยือนครั้งนี้. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>

เอเอฟพี - ชาวพุทธหัวรุนแรงขู่จัดชุมนุมประท้วงต่อต้านการเยือนรัฐยะไข่ ของนายโคฟี อันนัน อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ ในวันนี้ (5) ที่มีกำหนดลงพื้นที่เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง

อองซานซูจี ได้ขอให้ นายอันนัน เป็นหัวหน้าคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อแนะแนวทางต่อรัฐบาลที่จะแก้ไขปัญหาความแตกแยกทางศาสนาในรัฐทางตะวันตกแห่งนี้

รัฐยะไข่เผชิญต่อเหตุความรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมนับตั้งแต่ปี 2555 และชะตากรรมของชาวมุสลิมโรฮิงญายังทำให้ชื่อเสียงของ ซูจี ในฐานะผู้ปกป้องสิทธิต้องแปดเปื้อน

ชาวพม่าชาตินิยมยืนยันว่า กลุ่มคนนับล้านเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ และปฏิเสธที่จะใช้คำว่า “โรฮิงญา” และแทนที่ด้วยคำว่า “เบงกาลี” เพื่อใช้เรียกคนกลุ่มนี้

นายอันนัน ที่มีกำหนดเดินทางถึงเมืองสิตตเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ในวันอังคาร (6) กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า เขาตั้งใจที่จะให้ความเป็นธรรมในความพยายามที่จะสร้างสันติสุข และความปรองดอง แต่นักเคลื่อนไหวชาวยะไข่คัดค้านการเยือนของอดีตเลขาธิการสหประชาชาติ

“เรื่องของรัฐยะไข่เป็นเรื่องภายในท้องถิ่น เรารู้จักโคฟี อันนัน และชื่อเสียงของเขา แต่เราไม่ยอมรับการแทรกแซงของเขาในเรื่องของเรา เราจะประท้วงกันวันพรุ่งนี้ที่สนามบินสิตตเว โดยส่วนตัวแล้วเราเคารพโคฟี อันนัน แต่เราไม่คิดว่าเขาจะทราบประวัติศาสตร์ของยะไข่” อ่อง เต หนึ่งในแกนนำกลุ่มประท้วง กล่าว

คาดว่าอดีตเลขาธิการสหประชาชาติจะเยือนค่ายพักชาวโรฮิงญา และพบกับกลุ่มชุมชน และเจ้าหน้าที่ของยะไข่ แต่กลุ่มการเมืองกลุ่มใหญ่ที่สุดของพื้นที่ คือ พรรคแห่งชาติอาระกัน ปฏิเสธที่จะพบหารือกับนายโคฟี อันนัน

ชาวโรฮิงญาถูกปฏิเสธสิทธิความเป็นพลเมืองในพม่า และเผชิญต่อข้อจำกัดความเคลื่อนไหวในรัฐ รวมทั้งควบคุมการเข้าถึงการดูแลสุขภาพ และบริการพื้นฐานอื่นๆ โดยชาวมุสลิมโรฮิงญามากกว่า 100,000 คน อาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นที่มีสภาพย่ำแย่

การปฏิบัติต่อคนเหล่านี้ถูกมองว่าเป็นจุดด่างพร้อยต่อความคืบหน้าในการปฏิรูปประชาธิปไตยของพม่านับตั้งแต่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งของอองซานซูจีเข้าครองอำนาจในเดือน เม.ย.

ซูจี ผู้นำที่แท้จริงของพม่า กล่าวว่า คณะกรรมการของนายอันนัน จะช่วยเยียวยาบาดแผลของความขัดแย้งทางศาสนา

“เราไม่สามารถเพิกเฉยต่อปัญหา... การไม่สนใจปัญหาจะยิ่งทำให้พวกเขาแย่ลง” ซูจี กล่าวต่อผู้สื่อข่าว

ในช่วงไม่กี่เดือนแรกของการทำงาน รัฐบาลพยายามเลี่ยงที่จะก่อความไม่พอใจต่อชาวพุทธชาตินิยม โดยในเดือน มิ.ย. ซูจี ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่กล่าวถึงคนกลุ่มนี้ด้วยคำว่า “ชาวมุสลิมในรัฐยะไข่” แต่กระนั้นคำสั่งดังกล่าวก็ก่อให้เกิดการชุมนุมประท้วงใหญ่ในรัฐยะไข่ ด้วยชาวพุทธในพื้นที่เรียกร้องให้รัฐบาลเรียกคนกลุ่มนี้ว่า “เบงกาลี”

ผู้ชุมนุมประท้วงชาวยะไข่เคยโจมตีหน่วยงานช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ต่างชาติในรัฐ รวมทั้งสหประชาชาติ เนื่องจากการให้การสนับสนุนแก่ชาวโรฮิงญา.
กำลังโหลดความคิดเห็น