xs
xsm
sm
md
lg

กองทัพพม่าลดเงื่อนไขเปิดทางกลุ่มติดอาวุธที่ยังไม่วางอาวุธร่วมเจรจาสันติภาพ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แฟ้มภาพเอพีเดือนม.ค. 2558 เผยให้เห็นสมาชิกในกลุ่มกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอางรวมตัวกันในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในรัฐชาน โดยกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า (MNDAA) กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) และกองทัพอาระกัน (AA) ยังคงจับอาวุธต่อสู้กับกองทัพของประเทศอยู่ตามพื้นที่แนวชายแดนทางตะวันออกของประเทศ. -- Associated Press/Gemunu Amarasinghe.</font></b>

รอยเตอร์ - กลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ 3 กลุ่ม ที่ถูกกันออกจากกระบวนการสันติภาพของพม่าจะไม่จำเป็นต้องยอมจำนนก่อนเข้าร่วมการหารืออีกต่อไป ตามการเปิดเผยของผู้เจรจาฝ่ายทหารพม่าวานนี้ (4) ในท่าทีที่ผ่อนคลายลงของกองทัพต่อผู้ต่อต้านรัฐบาล

การต่อสู้ตามแนวชายแดนทางตะวันออกติดกับจีนเมื่อปีก่อน เกิดขึ้นระหว่างกองทัพทหารพม่า และกองทัพพันธมิตรประชาธิปไตยแห่งชาติพม่า (MNDAA) กองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) และกองทัพอาระกัน (AA) ซึ่งจนถึงปัจจุบัน กองทัพได้เรียกร้องให้ทั้ง 3 กลุ่มวางอาวุธ ก่อนที่จะอนุญาตให้เข้าร่วมการเจรจาสันติภาพที่ครอบคลุมถึงกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์พม่ากลุ่มอื่นๆ

แต่กองทัพได้แสดงท่าทีผ่อนคลายลงต่อข้อเรียกร้องดังกล่าว หลังกลุ่มติดอาวุธทั้ง 3 ได้แสดงให้เห็นถึงความต้องการสันติภาพอย่างแท้จริง ขิ่น ซอ อู สมาชิกของคณะกรรมการสันติภาพพม่าให้สัมภาษณ์ต่อรอยเตอร์

“ก่อนหน้านี้ เราเรียกร้องให้พวกเขาวางอาวุธหากต้องการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ แต่เป็นเรื่องยากที่พวกเขาจะยอมรับในเงื่อนไขนี้” ขิ่น ซอ อู กล่าว และเผยว่า จะมีการพบหารือกับกลุ่มติดอาวุธเร็วๆ นี้

อดีตพลโทเกษียณราชการเสริมว่า ในเวลานี้กองทัพต้องการให้กลุ่มติดอาวุธดังกล่าวออกคำแถลงแสดงความตั้งใจทางการเมืองที่จะวางอาวุธ

“มันไม่ได้หมายถึงการยอมแพ้ พวกเขาแค่ต้องแสดงให้เห็นถึงความปรารถนา และความตั้งใจของพวกเขา เพราะเราต้องการให้พวกเขาทั้งหมดมีส่วนร่วม นั่นเป็นเหตุผลที่เราลดเงื่อนไขก่อนหน้านี้ลง เราตกลงที่จะแก้ปัญหาความยากลำบากของพวกเขาที่จะดำเนินการให้สอดคล้องต่อตามความต้องการของเรา” สมาชิกคณะกรรมการสันติภาพพม่า กล่าว

ขิ่น ซอ อู และสมาชิกอีก 2 คน ของคณะกรรมการจะพบหารือกับกลุ่มติดอาวุธในเร็ววันนี้เพื่อพูดคุยถึงเงื่อนไขต่างๆ สำหรับการมีส่วนร่วมในการประชุมสันติภาพทั่วประเทศที่วางแผนจัดขึ้นในช่วงปลายเดือน ส.ค.

การตัดสินใจที่จะพบหารือกลุ่มติดอาวุธ และการเชิญพวกเขาเข้าร่วมการเจรจาหยุดยิงทั่วประเทศเป็นการเดินออกจากจุดยืนที่กองทัพปฏิเสธอย่างชัดเจนยาวนานถึงการที่จะยอมรับกลุ่มติดอาวุธเหล่านี้ว่าเป็นฝ่ายที่ถูกต้องตามกฎหมายในการหารือ

ทั้งกองทัพ และอองซานซูจี หัวหน้ารัฐบาล ต่างมีเป้าหมายร่วมกันที่จะยุติความขัดแย้งก่อนการเลือกตั้งครั้งหน้าในปี 2563 ขิ่น ซอ อู ระบุ

“เรากำลังทำงานไปสู่ประชาธิปไตย นั่นเป็นเหตุผลที่เราต้องการที่จะเห็นกลุ่มติดอาวุธทั้งหมดมีส่วนร่วมทางการเมืองด้วยกัน โดยไม่มีความขัดแย้ง”.
กำลังโหลดความคิดเห็น