xs
xsm
sm
md
lg

“ซูจี” คุยแกนนำกลุ่มติดอาวุธ “ว้า-เมืองลา” ร่วมประชุมปางโหลง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>อองซานซูจี ที่ปรึกษาแห่งรัฐและรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ (ขวา) พบหารือกับแกนนำกองทัพสหรัฐว้า (UWSA) และกองกำลังเมืองลา (NDAA-ESS) ในกรุงเนปีดอ เมื่อวันที่ 29 ก.ค. -- Agence France-Presse/Aung Htet.</font></b>

เอเอฟพี - แกนนำกลุ่มชาติพันธุ์ที่ติดอาวุธหนักที่สุดของพม่าได้พบหารือกับอองซานซูจี เมื่อวันศุกร์ (29) โดยโฆษกประจำสำนักงานของซูจีระบุว่า การเจรจาเป็นไปด้วยดี ในความพยายามสำคัญต่อการสร้างสันติภาพของประเทศ

กองทัพสหรัฐว้า (UWSA) หยุดต่อสู้กับรัฐบาลในปี 2532 แลกกับการควบคุมพื้นที่ห่างไกลติดชายแดนจีนที่เชื่อว่าเต็มไปด้วยยาเสพติด กองทัพที่มีนายทหารราว 20,000-25,000 นาย ยังไม่ได้ให้คำมั่นในข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศ ซึ่งเป็นอุปสรรคในเป้าหมายของซูจีที่ต้องการบรรลุสันติภาพที่ยั่งยืน

ความขัดแย้งทางชาติพันธุ์ที่ซับซ้อนเกิดขึ้นทั่วพื้นที่ชายแดนของพม่า ขัดขวางความพยายามที่จะสร้างเศรษฐกิจของประเทศ หลังสิ้นสุดการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร และถึงแม้บางกลุ่มที่ต่อสู้กับกองทัพเป็นเวลาหลายสิบปีได้ลงนามหยุดยิง แต่ก็ยังอยู่ในช่วงเปราะบาง ทำให้ซูจีต้องทำงานอย่างเร่งด่วน

กองทัพว้าถูกกล่าวหาว่าผลิตและค้ายาบ้า และเฮโรอีนจำนวนมหาศาล และซื้ออาวุธจากรายได้เหล่านั้น

ซอ เต โฆษกสำนักงานของซูจี กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า การหารือที่เป็นไปในทางบวกอย่างมากเมื่อวันศุกร์ (29) ระหว่างแกนนำของกลุ่มว้า กองกำลังเมืองลา และซูจี เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญในการสร้างความไว้วางใจ

ซูจี ต้องการที่จะจัดการประชุมหารือเพื่อถกถึงกฎระเบียบการปกครองตนเองแบบสหพันธรัฐสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์แลกเปลี่ยนกับความสงบสุข

การประชุมดังกล่าวถูกเรียกว่า “การประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21” ซึ่งเป็นชื่อเดียวกับที่บิดาของซูจี คือ นายพลอองซาน เรียกการประชุมในปี 2490 และได้เห็นกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ให้คำมั่นสัญญาเข้าร่วมกับพม่า แต่ข้อตกลงดังกล่าวมีอันต้องล้มไปภายใต้การปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารที่เข้าควบคุมประเทศไม่นานหลังการลอบสังหารนายพลอองซาน

ซูจี ยังไม่ได้กำหนดวันประชุม แต่พยายามที่จะให้กลุ่มติดอาวุธทุกกลุ่มเข้าร่วมการหารือครั้งนี้

“ทั้งกองทัพสหรัฐว้า และกองกำลังเมืองลา สนับสนุนการประชุมปางโหลงศตวรรษที่ 21 และพวกเขาพยายามที่จะเข้าร่วม” ซอ เต กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญ กล่าวว่า ความขัดแย้งที่มีอยู่มากมายของพม่าพัวพันต่อการค้ายาเสพติด หยก และป่าไม้ ที่ทำให้แต่ละฝ่ายมีความซับซ้อนมากขึ้น และประชาชนหลายหมื่นคนถูกสังหาร หรือต้องอพยพจากที่อยู่อาศัยเพราะภัยสงครามที่ดำเนินมานานหลายสิบปี.
กำลังโหลดความคิดเห็น