xs
xsm
sm
md
lg

ตำรวจหม่องจับโปลิศ ซุกยาบ้าเกือบ 300,000 เม็ดในค่ายชายแดน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ทหารลาว (ซ้ายมือ) กับตำรวจจีน ยืนประจำจุดที่ตั้ง ที่บริเวณท่าเรือเชียงกอก ริมฝั่งแม่น้ำโขงแขวงหลวงน้ำทา ในอาณาบริเวณที่เป็นชายแดนลาว-พม่า วันที่ 1 มี.ค.2559 พม่า ลาวและจีน ร่วมกันลาดตระเวณแม่น้ำโขง กวาดล้างจับกุมโจรสลัดปล้นเรือสินค้า และ การลักลอบขนยาเสพติดข้ามแดน พม่ากลายเป็นแหล่งใหญ่ในการผลิตทั้งยาบ้าและเฮโรอีน โดยขนเข้าจีนและลาว จำนวนมหาศาลเล็ดลอดผ่านไปยังประเทศที่สาม การปราบปรามยากยิ่งขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่รัฐ เป็นผู้ค้าเสียเอง. -- Reuters/Jorge Silva. </b>

ย่างกุ้ง (รอยเตอร์) -- ตำรวจพม่าได้ควบคุมตัวตำรวจด้วยกันเอาไว้ 7 นาย ซึ่งเป็นหน่วยรักษาชายแดน หลังจากได้ตรวจพบยาบ้าจำนวนเกือบ 300,000 เม็ดซุกเอาไว้ในห้องครัวของค่ายที่ตั้ง นายตำรวจอาวุโสผู้หนึ่งกล่าวกับรอยเตอร์เมื่อวันพฤหัสบดี

ตำรวจพม่าได้บุกเข้าตรวจค้นแค้มป์ที่ตั้ง ที่อยู่ในเขตห่างไกล ใกล้ชายแดนบังกลาเทศ และ พบยาเสพติดดังกล่าว ซุกซ่อนอยู่ในห้องครัวของค่าย

"ตำรวจได้ตรวจพบยาบ้ารวมทั้งสิ้น 292,500 เม็ด ซ่อนอยู่ในดินในห้องครัว" โซลินเอ (Zoe Linn Aye) นายกตำรวจอาวุโส ที่กองบัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในกรุงเนปีดอ กล่าวกับรอยเตอร์ และ ยังระบุอีกว่า การจับยึดยาเสพติดครั้งนี้ คาดว่าจะมีมูลค่าถึง 580 ล้านจ๊าต (490,000 ดอลลาร์)

ตลอดหลายทศวรรษที่ผ่านมา พม่าเป็นแหล่งผลิตดิบรายใหญ่ รวมทั้งผลิตผลจากฝิ่นซึ่งได้แก่เฮโรอีน และ ไม่กี่ปีมานี้ก็ได้กลายเป็นแหล่งจัดหายากระตุ้น ประเภทเทธาแอมเฟตามิน หรือ ยาบ้า

ยาเสพติดเป็นปัญหาสร้างความปวดหัว ให้แก่รัฐบาลใหม่ของนางอองซานซูจี ซึ่งเป็นผู้บริหารประเทศที่มีขนาดใหญ่ ยากจนและแตกเป็นฝักฝ่าย หลังจากชนะการเลือกตั้งเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว

ยาเสพติดส่วนใหญ่ผลิตในเขตชายแดน ที่ควบคุมโดยกบฏกลุ่มชาติพันธุ์ หรือ โดยกลุ่มติดอาวุธที่มีความสัมพันธ์กับฝ่ายทหาร ชายแดนตะวันตกของพม่า ที่ติดกับอิยเดียและบังกลาเทศ ถูกใช้เป็นเส้นทางในการลักลอบส่งสารตั้งต้น ที่ใช้ในการผลิตยาบ้าเข้าสู่พม่า ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า หลังจากนั้นก็จะขนยาที่ผลิตแล้วเข้าสู่ย่านเอเชียใต้

ยาเสพติดจากพม่ายังหลั่งไหล ผ่านทางตอนเหนือเข้าสู่จีน และ ไปทางทิศตะวันตก ออกสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผู้เชี่ยวชาญวิตกว่า อีกไม่นานพม่าอาจได้เห็น คนใช้เมธาแอมเฟตามินกันเกลื่อน ยาเสพติดชนิดนี้ใช้กันแพร่หลายส่วน ของทวีปเอเชีย.
.
<br><FONT color=#00003>เรือติดธงชาติ 3 ประเทศ ขณะผู้แทนสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดจีน ไทย ลาวและพม่า ออกตรวจเยี่ยมชมปฏิบัติการต้านโจรสลัด และ สกัดยาเสพติด ที่ลักลอบขนในแม่น้ำโขง วันที่ 1 มี.ค.2559 ยูเอ็นประมาณว่า ในปี 2556 การค้ายาบ้ากับเฮโรอีนในย่านนี้มีมูลค่ารวมประมาณ 31,000 ล้านดอลลาร์. -- Reuters/Jorge Silva.</b>
กำลังโหลดความคิดเห็น