พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานในพิธีเปิดร่วมกับประเทศจีน ลาว พม่า ไทย เวียดนาม กัมพูชา และ สำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) โดยมีเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโสของแต่ละประเทศเข้าร่วมการประชุม พล.อ.ไพบูลย์ ขอบคุณสำนักงานยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) ที่ได้ริเริ่มทำงานแก้ปัญหายาเสพติดในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมาตั้งแต่ ปี2536 และทำหน้าที่เป็นแกนกลางขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือนี้ให้เกิดผลประจักษ์ โดยเห็นว่า UNODC และประเทศในอนุภูมิภาค ควรมองปัญหาแบบองค์รวม คือมุ่งเป้าหมายและระดมกำลังไปสู่การแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำเป็นหลัก เนื่องจากยังเป็นแหล่งที่มีการลักลอบผลิตยาเสพติดที่ส่งผลกระทบต่อประเทศในอนุภูมิภาคและภูมิภาค ควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาในระดับประเทศของแต่ละประเทศ และนอกเหนือจากการทำงานในกรอบ MOU 7 ฝ่ายแล้ว ประเทศภาคียังได้มีการทำงานร่วมกันใน แผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย ซึ่งริเริ่มโดยสาธารณรัฐประชาชนจีน ในปี 2556 เพื่อมุ่งสร้างให้พื้นที่ลำน้ำโขงและพื้นที่ใกล้เคียงปลอดภัยจากการลักลอบขนส่งยาเสพติด การปฏิบัติการในระยะที่ 1 และระยะที่ 2 ของ 4 ประเทศคือ จีน ลาว เมียนมา และไทย ประสบผลสำเร็จอย่างดียิ่ง
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ในปีนี้มีการขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมประเทศเวียดนามและกัมพูชา ตามแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปีของโครงการ ซึ่งด้วยข้อมูลการข่าวที่รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ทำให้การทำงานเป็นทีมของทั้ง 6 ประเทศ ได้ผลดีมากและเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งให้กับประเทศในภูมิภาคอื่นที่ประสบปัญหายาเสพติดได้ใช้รูปแบบของโครงการแม่น้ำโขงปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน โดยปัจจุบันได้มีการขยายขอบข่ายการดำเนินงานไปสู่มิติอื่น เช่น การพัฒนาทางเลือก การลดอุปสงค์ยาเสพติด ฯลฯ ซึ่งการดำเนินงานทั้งภายใต้กรอบ MOU 7 ฝ่ายฯ และตามแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย ล้วนมีความเชื่อมโยง และเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน ให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคประสบผลสำเร็จ
พล.อ.ไพบูลย์ กล่าวว่า ในปีนี้มีการขยายความร่วมมือให้ครอบคลุมประเทศเวียดนามและกัมพูชา ตามแผนปฏิบัติการระยะ 3 ปีของโครงการ ซึ่งด้วยข้อมูลการข่าวที่รวดเร็วและเป็นปัจจุบัน ทำให้การทำงานเป็นทีมของทั้ง 6 ประเทศ ได้ผลดีมากและเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งให้กับประเทศในภูมิภาคอื่นที่ประสบปัญหายาเสพติดได้ใช้รูปแบบของโครงการแม่น้ำโขงปลอดภัยในการทำงานร่วมกัน โดยปัจจุบันได้มีการขยายขอบข่ายการดำเนินงานไปสู่มิติอื่น เช่น การพัฒนาทางเลือก การลดอุปสงค์ยาเสพติด ฯลฯ ซึ่งการดำเนินงานทั้งภายใต้กรอบ MOU 7 ฝ่ายฯ และตามแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย ล้วนมีความเชื่อมโยง และเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกัน ให้การแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคประสบผลสำเร็จ