กระบี่ - 6 ชาติลุ่มน้ำโขง และ UNODC วางแผนแก้ไขปัญหายาเสพติดพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำ ดึงอินเดีย ร่วมหารือ
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (23 พ.ค.) ณ ห้องกระบี่ โรงแรมดุสิตธานีกระบี่ บีช รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ MOU 7 ฝ่าย ว่า ด้วยการควบคุมยาเสพติดในอนุภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกถึงความร่วมมืออย่างเหนียวแน่น และปณิธานอันแรงกล้าของประเทศชาติสมาชิก ประกอบด้วย กัมพูชา จีน ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และ UNODC ที่ต้องการขจัดภัยคุกคามจากยาเสพติดให้หมดไปจากภูมิภาค
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ทาง UNODC ได้ริเริ่มทำงานแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมาตั้งแต่ปี 2536 และได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือให้เกิดผลประจักษ์ โดยมุ่งเป้าหมาย และระดมสรรพกำลังไปสู่การแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำเป็นหลัก เนื่องจากยังเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้ ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาในระดับประเทศของแต่ละประเทศ และนอกเหนือจากการทำงานในกรอบ MOU 7 ฝ่าย ประเทศภาคี ยังมีการทำงานร่วมกันในแผน “ปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย”
ปัจจุบัน ได้มีการขยายการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขง โดยมีความเชื่อมโยง และเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคให้ประสบผลสำเร็จด้วย นอกจากนี้ ได้เชิญผู้แทนจากประเทศอินเดีย ร่วมหารือเกี่ยวกับการควบคุมสารตั้งต้น
ซึ่งเริ่มตั้งแต่ควบคุมการผลิต ควบคุมการรั่วไหลจากประเทศต้นทาง ไปยังแหล่งผลิต รวมไปถึงประเทศในแถบยุโรปด้วย ที่ผลิตสารตั้งต้นของยาอี และเมทแอมแฟตามีน เนื่องจากปัจจัยปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาโลก และส่งผลกระทบถึงกัน หากสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำได้ ก็เท่ากับสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดส่วนใหญ่ได้
เมื่อเวลา 09.00 น. วันนี้ (23 พ.ค.) ณ ห้องกระบี่ โรงแรมดุสิตธานีกระบี่ บีช รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานเปิดการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจ MOU 7 ฝ่าย ว่า ด้วยการควบคุมยาเสพติดในอนุภูมิภาค โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงออกถึงความร่วมมืออย่างเหนียวแน่น และปณิธานอันแรงกล้าของประเทศชาติสมาชิก ประกอบด้วย กัมพูชา จีน ลาว พม่า ไทย เวียดนาม และ UNODC ที่ต้องการขจัดภัยคุกคามจากยาเสพติดให้หมดไปจากภูมิภาค
พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า ทาง UNODC ได้ริเริ่มทำงานแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงมาตั้งแต่ปี 2536 และได้ทำหน้าที่เป็นแกนกลางขับเคลื่อนกลไกความร่วมมือให้เกิดผลประจักษ์ โดยมุ่งเป้าหมาย และระดมสรรพกำลังไปสู่การแก้ไขปัญหาในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำเป็นหลัก เนื่องจากยังเป็นแหล่งผลิตยาเสพติดที่ใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้ ควบคู่ไปกับการแก้ปัญหาในระดับประเทศของแต่ละประเทศ และนอกเหนือจากการทำงานในกรอบ MOU 7 ฝ่าย ประเทศภาคี ยังมีการทำงานร่วมกันในแผน “ปฏิบัติการแม่น้ำโขงปลอดภัย”
ปัจจุบัน ได้มีการขยายการปฏิบัติงานตามแผนพัฒนาแผนปฏิบัติการแม่น้ำโขง โดยมีความเชื่อมโยง และเป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในอนุภูมิภาคให้ประสบผลสำเร็จด้วย นอกจากนี้ ได้เชิญผู้แทนจากประเทศอินเดีย ร่วมหารือเกี่ยวกับการควบคุมสารตั้งต้น
ซึ่งเริ่มตั้งแต่ควบคุมการผลิต ควบคุมการรั่วไหลจากประเทศต้นทาง ไปยังแหล่งผลิต รวมไปถึงประเทศในแถบยุโรปด้วย ที่ผลิตสารตั้งต้นของยาอี และเมทแอมแฟตามีน เนื่องจากปัจจัยปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาโลก และส่งผลกระทบถึงกัน หากสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่สามเหลี่ยมทองคำได้ ก็เท่ากับสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดส่วนใหญ่ได้