xs
xsm
sm
md
lg

กลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยในพม่ารวมตัวหารือก่อนร่วมประชุมสันติภาพกับรัฐบาล

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>แกนนำและผู้แทนกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์หลากหลายกลุ่มของพม่า รวมตัวกันที่เมืองมายจายาง รัฐกะฉิ่น ในวันที่ 26 ก.ค. เพื่อร่วมประชุมหารือเป็นเวลา 4 วัน ก่อนเข้าร่วมการประชุมสันติภาพของรัฐบาลในเดือนส.ค. -- Agence France-Presse/Stringer.</font></b>

เอเอฟพี - แกนนำกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ของพม่า ได้จัดการพบหารือในวันนี้ (27) สื่อทางการของพม่ารายงาน ในการเตรียมการก่อนร่วมการประชุมสันติภาพครั้งใหญ่กับรัฐบาล ในความพยายามที่จะยุติความไม่สงบที่รบกวนประเทศมายาวนาน

กลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยบางกลุ่มได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิงกับรัฐบาลแล้ว แต่ยังมีอีกหลายกลุ่มที่ยังต่อสู้กับกองทัพของประเทศ รวมทั้งในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือ ซึ่งเป็นสถานที่จัดการพบหารือกันในวันนี้

อองซานซูจี กล่าวว่า การยุติการต่อสู้นั้นเป็นสิ่งสำคัญหากพม่าต้องการที่จะหลุดพ้นจากการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร และซูจี ต้องการที่จะเริ่มต้นหารืออย่างสมบูรณ์ใหม่อีกครั้งภายในไม่กี่สัปดาห์นี้

การประชุมที่จัดขึ้นในเมืองของรัฐกะฉิ่น ซึ่งเสียหายจากการสู้รบเป็นเวลาหลายปี ได้นำพาบรรดาแกนนำกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ 17 กลุ่ม มารวมตัวกันเพื่อหาข้อตกลงร่วมกันในการทำงานที่จะมุ่งไปสู่การปกครองระบอบสหพันธรัฐสำหรับประเทศ หนังสือพิมพ์โกลบอล นิว ไลท์ ออฟ เมียนมาร์ รายงาน

บรรดาผู้เจรจาที่หลายคนสวมชุดพื้นเมือง รวมตัวกันในหอประชุมของเมืองมายจายาง ซึ่งล้อมรอบไปด้วยค่ายผู้อพยพติดชายแดนจีน ที่ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการหารือครั้งนี้ด้วย

ความรู้สึกไม่ไว้วางใจต่อกองทัพที่ทรงอำนาจยังคงฝังลึก ขณะที่กลุ่มติดอาวุธเองก็มีความเห็นขัดแย้งกัน ด้วยมีกลุ่มติดอาวุธ 4 กลุ่ม ถอนตัวออกจากการประชุมในนาทีสุดท้าย

รัฐบาลพม่าชุดก่อนที่ทหารให้การสนับสนุนได้เริ่มต้นการเจรจาสันติภาพกับกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ แต่ก็ล้มเหลวที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศกับทุกกลุ่ม

ซูจี ได้ให้คำมั่นถึงการปกครองตนเองแบบสหพันธรัฐ ในความพยายามที่จะบรรลุสันติภาพ แต่กระนั้นก็ยังไม่ชี้แจงรายละเอียดถึงวิธีการดำเนินการแต่อย่างใด

แต่ความสามารถของซูจี ที่จะได้มาซึ่งข้อตกลงสันติภาพ หรือการกระจายอำนาจจากศูนย์กลาง ก็ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนของทหาร ด้วยทหารนั้นยังคงมีอำนาจทางการเมือง และเศรษฐกิจ และยังกุมกุญแจสำคัญในการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ บริหารกระทรวงที่มีบทบาทสำคัญของประเทศ และครอบครองภาคส่วนทางเศรษฐกิจที่ทำกำไรสูงของประเทศอีกด้วย.
<br><FONT color=#000033>แกนนำกลุ่มติดอาวุธจากกองทัพกะฉิ่นอิสระ (KIA) (ซ้าย) เดินมาพร้อมกับผู้แทนพิเศษของจีน (ขวา) ที่เดินทางมาเข้าร่วมในการประชุมหารือของกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ของพม่าในรัฐกะฉิ่น. -- Agence France-Presse/Stringer.</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น