xs
xsm
sm
md
lg

มหาเถรสมาคมพม่าชี้แจงไม่เกี่ยวข้องพุทธหัวรุนแรง “มะบะธา” ต่อต้านมุสลิม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>พระสงฆ์จากคณะกรรมการมหาเถระสมาคม ที่เป็นผู้แทนของคณะสงฆ์ระดับสูงในประเทศ เดินออกจากที่ประชุมในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 13 ก.ค. โดยคณะกรรมการได้ออกคำแถลงระบุว่าไม่เคยรับรองกลุ่มมะบะธา ที่เป็นกลุ่มชาตินิยมสุดโต่ง ซึ่งอยู่เบื้องหลังการรณรงค์ต่อต้านชาวมุสลิม. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - คณะผู้แทนพระสงฆ์ระดับสูงของพม่าได้วางตัวออกห่างจากกลุ่มหัวรุนแรงชาวพุทธ ที่อยู่เบื้องหลังการรณรงค์ต่อต้านชาวมุสลิม ซึ่งถูกกล่าวหาว่าก่อให้เกิดเหตุความรุนแรงทางศาสนาเพิ่มขึ้นในทั่วประเทศ

คณะกรรมการมหาเถรสมาคมของพม่า ที่เป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ระดับสูงในพม่า ได้ออกคำแถลงเมื่อเย็นวันอังคาร (12) ระบุว่า คณะไม่เคยให้การรับรอง “มะบะธา” กลุ่มชาตินิยมสุดโต่ง

“มะบะธา” เป็นกลุ่มที่นำโดยพระสงฆ์ที่เป็นแนวหน้าในการประท้วงต่อต้านมุสลิมในพม่าในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นับตั้งแต่ก่อตั้งกลุ่ม และเพิ่งกล่าวว่า กลุ่มตั้งขึ้นภายใต้กฎระเบียบของมหาเถรสมาคม อันเป็นข้อกล่าวอ้างที่ถูกปฏิเสธจากคณะสงฆ์ชั้นสูงของประเทศ ที่นับเป็นการชี้แจงครั้งแรกถึงความไม่เกี่ยวข้องกันระหว่างพระสงฆ์ในพุทธศาสนากระแสหลัก และกลุ่มหัวรุนแรง

“องค์กรมะบะธา ไม่ได้รวมอยู่ภายใต้กฎระเบียบพื้นฐาน กระบวนการและคำชี้แนะขององค์กรสงฆ์” คณะกรรมการมหาเถรสมาคม ระบุในคำแถลง

“นับตั้งแต่การประชุมคณะสงฆ์ครั้งแรกในปี 2523 จนกระทั่งการประชุมครั้งที่ 5 ในปี 2557 ที่ประชุมไม่เคยยอมรับ หรือตั้งกลุ่มมะบะธา และไม่เคยใช้คำว่ามะบะธา”

คณะกรรมการได้ออกคำแถลงนี้ไม่กี่ชั่วโมงก่อนที่คณะสงฆ์ระดับสูงประมาณ 50 รูป รวมตัวกันเป็นเวลา 2 วัน ในห้องประชุมภายในถ้ำจำลองชานนครย่างกุ้ง

กลุ่มมะบะธาปรากฏตัวในลักษณะของแรงผลักดันทางการเมือง ภายใต้อดีตรัฐบาลที่ทหารให้การสนับสนุนที่ประสบความสำเร็จในการโน้มน้าวการออกชุดกฎหมายที่กลุ่มเรียกร้องสิทธิมนุษยชนระบุว่า เป็นกฎหมายที่เลือกปฏิบัติต่อสตรี และชนกลุ่มน้อยทางศาสนา

แต่บทบาทของกลุ่มมะบะธาจางหายไปในการเลือกตั้งเดือน พ.ย. เมื่อพันธมิตรของกลุ่มในพรรคการเมืองพ่ายให้แก่พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของอองซานซูจี และนับตั้งแต่นั้นกลุ่มพยายามที่จะฟื้นตัวกลับมาใหม่ โดยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา กลุ่มกลับมาใช้แนวทางการใช้ถ้อยคำวาจาที่ทำลายความรู้สึกผู้อื่นสร้างภาพให้อิสลามเป็นภัยคุกคามพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเดือนที่ผ่านมา มีมัสยิด 2 หลัง ถูกกลุ่มม็อบชาวพุทธเข้าทำลายในภาคกลาง และภาคเหนือของประเทศ

ถ้อยคำรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมส่วนใหญ่มีเป้าหมายที่ชาวโรฮิงญา ชนกลุ่มน้อยที่ถูกปฏิเสธการให้สิทธิความเป็นพลเมืองในพม่า และถูกผลักไสให้อยู่ในสภาพที่ถูกแบ่งแยก นับตั้งแต่เกิดเหตุความไม่สงบนองเลือดทั่วรัฐยะไข่ ในปี 2555 ขณะเดียวกัน คำว่าโรฮิงญา ยังก่อให้เกิดความรู้สึกรุนแรงในพม่า ที่การชุมนุมประท้วงของกลุ่มมะบะธาหลายครั้งต้องการให้ชาวโรฮิงญาเหล่านี้เป็นที่รู้จักในชื่อ เบงกาลี เท่านั้น ที่หมายถึงผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ.
.
<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 28 เม.ย. ผู้สนับสนุนและพระสงฆ์ของกลุ่มมะบะธา รวมตัวชุมนุมที่ด้านนอกสถานทูตสหรัฐฯ ในนครย่างกุ้ง เพื่อประท้วงเกี่ยวกับชาวมุสลิมโรฮิงญา. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น