xs
xsm
sm
md
lg

ตำรวจนับร้อยเข้ารักษาความปลอดภัยหวั่นเกิดจลาจลรอบใหม่ในหมู่บ้านพม่า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนรักษาความปลอดภัยอยู่ด้านนอกมัสยิดที่ถูกทำลายในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของเมืองพะโค เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. ทางการระดมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจนับร้อยนายเข้ารักษาความปลอดภัยในหมู่บ้านหลังมีข่าวลือว่าอาจเกิดเหตุจลาจลขึ้นอีก. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - เจ้าหน้าที่ตำรวจจำนวนมากถูกระดมกำลังเข้ารักษาความสงบในหมู่บ้านทางภาคกลางของพม่า ที่ความตึงเครียดทางศาสนากำลังเพิ่มสูง หลังกลุ่มม็อบชาวพุทธเข้าทำลายมัสยิด ตามการเปิดเผยของทางการ

นับเป็นเหตุความรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมครั้งล่าสุดที่เกิดขึ้นในพม่า ที่เหตุรุนแรงนองเลือดทางศาสนาเกิดขึ้นกระจายไปทั่วประเทศนับตั้งแต่ปี 2555 ทำให้กระแสความรู้สึกชาตินิยมชาวพุทธกลายเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับรัฐบาลใหม่ของอองซานซูจี

ความรุนแรงครั้งล่าสุดปะทุขึ้นในสัปดาห์นี้ เมื่อกลุ่มม็อบชาวพุทธที่โกรธแค้นราว 200 คน เข้าอาละวาดทั่วพื้นที่ชุมชนชาวมุสลิมในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเมืองพะโค หลังเกิดเหตุโต้เถียงระหว่างเพื่อนบ้านเกี่ยวกับการก่อสร้างโรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม

โอน ละวิน เจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องถิ่น ระบุว่า บรรยากาศยังคงตึงเครียดในวันนี้ (25) โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจประมาณ 100 นาย ถูกส่งลงพื้นที่เพื่อรักษาความสงบ

“เมื่อคืน มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ 50 นาย เฝ้าระวังหมู่บ้านเพื่อเตรียมความพร้อมหลังมีข่าวลือว่าอาจมีเหตุจลาจลเกิดขึ้นอีก และในตอนนี้เราได้จัดกองกำลังตำรวจมากถึง 100 นาย” โอน ละวิน กล่าว และว่า ยังไม่มีการจับกุมใดๆ เกิดขึ้นจากเหตุทำลายมัสยิด

วิน ฉ่วย เลขานุการมัสยิด กล่าวว่า ชาวมุสลิมต่างหวาดกลัวถึงความปลอดภัยของตัวเอง และกำลังวางแผนที่ย้ายไปเมืองที่อยู่ใกล้เคียงจนกว่าความตึงเครียดจะคลายลง

“สถานการณ์ของเรายังไม่ปลอดภัย และตอนนี้เรากำลังวางแผนที่จะออกจากหมู่บ้าน เรายังรู้สึกหวาดกลัว” วิน ฉ่วย กล่าว

กระแสความรู้สึกต่อต้านชาวมุสลิมถูกกระตุ้นขึ้นทั่วพม่าในช่วงหลายปีมานี้ โดยความรุนแรงทางศาสนาครั้งเลวร้ายที่สุดเกิดขึ้นในภาคกลางของพม่า และรัฐยะไข่ ทางตะวันตกของประเทศ ที่เป็นที่อยู่ของชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญาไร้สัญชาติ ที่หลายหมื่นคนยังคงอาศัยอยู่ในค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศนับตั้งแต่เกิดเหตุจลาจล

พระสงฆ์หัวรุนแรง และชาวพุทธชาตินิยมคัดค้านอย่างหนักต่อความเคลื่อนไหวที่จะยอมรับชาวโรฮิงญาว่าเป็นชนกลุ่มน้อยอย่างเป็นทางการในประเทศ และยืนยันให้เรียกคนเหล่านี้ว่าเบงกาลี ซึ่งหมายถึงผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

ซูจี ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากการไม่แสดงจุดยืนต่อชาวโรฮิงญา หรือการล่วงละเมิดที่ชาวโรฮิงญาต้องเผชิญ ในตอนนี้ ซูจี เป็นผู้นำรัฐบาลพลเรือนชุดแรกของพม่าในรอบหลายทศวรรษ ได้ร้องขอ “พื้นที่” ในขณะที่ฝ่ายบริหารพยายามที่จะสร้างความไว้วางใจระหว่างชุมชนทางศาสนา.
.
<br><FONT color=#000033>เลขานุการมัสยิดถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่หลังเห็นสภาพมัสยิดเสียหายหนัก หลังกลุ่มม็อบเข้ารื้อทำลาย สถานการณ์ภายในหมู่บ้านยังคงตึงเครียด ชาวมุสลิมจำนวนมากวิตกถึงความปลอดภัยและวางแผนที่จะย้ายออกจากหมู่บ้านชั่วคราว. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น