xs
xsm
sm
md
lg

ชาวพม่านับร้อยรวมตัวประท้วงประณามสหรัฐฯ ใช้คำ “โรฮิงญา” เรียกผู้อพยพผิดกฎหมาย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้สนับสนุนและพระภิกษุของกลุ่มมะบะธา ที่เป็นกลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรงชุมนุมประท้วงที่ด้านนอกสถานทูตสหรัฐฯ ในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 28 เม.ย. กลุ่มชาตินิยมสุดโต่งประณามคำแถลงของสถานทูตสหรัฐฯ ที่เกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของชนกลุ่มน้อยมุสลิมโรฮิงญา ในอุบัติเหตุเรือล่มที่เมืองสิตตเว เมื่อวันที่ 19 เม.ย. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>

รอยเตอร์ - ผู้ชุมนุมประท้วงหลายร้อยคน รวมทั้งพระสงฆ์ ประณามสหรัฐฯ จากการใช้ศัพท์คำว่า “โรฮิงญา” อธิบายถึงชุมชนชาวมุสลิมไร้สัญชาติของพม่า ระหว่างการประท้วงที่บริเวณด้านนอกสถานทูตสหรัฐฯ ในนครย่างกุ้ง เมื่อวันพฤหัสบดี (28)

ชาวโรฮิงญา ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสภาพที่ถูกแบ่งแยก ถูกชาวพม่าที่นับถือศาสนาพุทธจำนวนมากมองว่า เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

การชุมนุมประท้วงเกิดขึ้นเนื่องจากคำแถลงของสถานทูตเมื่อสัปดาห์ก่อนที่แสดงความเสียใจต่อผู้เคราะห์ร้าย 21 คน ที่สื่อกล่าวว่า เป็นชาวโรฮิงญา ที่จมน้ำนอกชายฝั่งรัฐยะไข่ และมีขึ้นเพียงหนึ่งวันหลังประธานาธิบดีถิ่น จอ รับสาสน์ตราตั้งจาก นายสก็อต มาเซียล เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ คนใหม่

“วันนี้ พวกเรา จากที่นี่ ต้องการที่จะประกาศต่อสถานทูตสหรัฐฯ และทูตประจำพม่า รวมถึงชาติอื่นๆ ทั้งหมดว่า ไม่มีโรฮิงญาในประเทศของเรา หากสหรัฐฯ ยอมรับคำว่า “โรฮิงญา” คุณ (สหรัฐฯ) ควรพาพวกเขากลับไปประเทศของคุณ” ปามุกคา พระสงฆ์ และสมาชิกกลุ่มมะบะธา ที่เป็นกลุ่มชาวพุทธหัวรุนแรงกล่าวต่อชาวพม่าราว 300 คน ที่รวมตัวอยู่บนถนนที่วุ่นวายตรงข้ามสถานทูต

รัฐบาลชุดก่อนหน้านี้เรียกคนเหล่านี้ว่า เบงกาลี ที่หมายความว่า เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ แม้จะมีหลายคนใช้ชีวิตอยู่ในพม่ามาหลายชั่วอายุคนก็ตาม

อองซานซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย และที่ปรึกษาแห่งรัฐ ถูกวิพากษ์วิจารณ์จากกลุ่มสิทธิมนุษยชนจากการเลี่ยงใช้คำว่าโรฮิงญา และไม่ดำเนินการมากพอที่จะจัดการต่อชะตากรรมของคนกลุ่มนี้

ชาวโรฮิงญาหลายพันคนหลบหนีการกดขี่ข่มเหง และความยากจนในประเทศ ขณะเดียวกัน มีชาวโรฮิงญาราว 125,000 คน ยังคงไร้ที่อยู่ และเผชิญต่อข้อจำกัดการเดินทางในค่ายพักแรม นับตั้งแต่การต่อสู้ปะทุขึ้นในรัฐยะไข่ระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมในปี 2555

ซอ เต โฆษกสำนักงานที่ปรึกษาแห่งรัฐ กล่าวว่า ประเด็นเรื่องชื่อ กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้รับผิดชอบ และจะจัดการด้วยวิธีทางการทูต

ด้านโฆษกสถานทูตสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯ สนับสนุนสิทธิการชุมนุมประท้วง และเสริมว่า ในทั่วโลกผู้คนนั้นสามารถที่จะระบุตัวเองได้

เจ้าหน้าที่ตำรวจจากเขตย่างกุ้งตะวันตก กล่าวว่า ผู้จัดการชุมนุมจะเผชิญต่อข้อหาจัดชุมนุมประท้วงในสถานที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต.
.

.

.
<br><FONT color=#000033>เจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยที่บริเวณด้านนอกสถานทูตสหรัฐฯ ขณะที่กลุ่มมะบะธาชุมนุมประท้วง. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>
.
กำลังโหลดความคิดเห็น