xs
xsm
sm
md
lg

ประธานาธิบดีใหม่พม่าเสนอตั้ง “กระทรวงชาติพันธุ์” แก้ไขความขัดแย้งชนกลุ่มน้อย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ประธานาธิบดีถิ่น จอ (ซ้าย) และวิน มี้น ประธานสภาสภาผู้แทนราษฎร เข้าร่วมการประชุมที่อาคารรัฐสภา ในกรุงเนปีดอ วันที่ 21 มี.ค. ประธานาธิบดีคนใหม่ของพม่าเสนอตั้งกระทรวงกิจการชาติพันธุ์ หวังช่วยแก้ไขความขัดแย้งในพื้นที่ชายแดนของชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศ. -- Reuters/Stringer.</font></b>

เอเอฟพี - ประธานาธิบดีคนใหม่ของพม่า กล่าวต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติในวันนี้ (21) ว่า แผนที่ตั้งกระทรวงกิจการชาติพันธุ์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชาติที่ตกอยู่ในความขัดแย้ง ในการกล่าวสุนทรพจน์เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำพลเรือนคนแรกของประเทศในรอบหลายทศวรรษ

ถิ่น จอ คนสนิทใกล้ชิดของอองซานซูจี ที่จะบริหารประเทศแทนซูจี ชี้ว่า การจัดการต่อสงครามกลางเมืองที่ยืดเยื้อยาวนานนับครึ่งศตวรรษในพื้นที่ชายแดนชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์จะเป็นความสำคัญลำดับต้นของรัฐบาลที่จะเข้าบริหารประเทศอย่างเป็นทางการในสัปดาห์หน้า

“กระทรวงกิจการชาติพันธุ์มีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับอนาคตของชาติ ที่ต้องการสันติภาพ การพัฒนา และความยั่งยืน” ถิ่น จอ กล่าวต่อสมาชิกสภานิติบัญญัติในการกล่าวสุนทรพจน์ที่มุ่งเน้นถึงแผนที่จะปรับปรุงระบบราชการของประเทศให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ถิ่น จอ เข้ารับตำแหน่งผู้นำในขณะที่พม่าอยู่ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างมากหลังตกอยู่ภายใต้การปกครองของทหารนานหลายปี

การเปิดกว้างมากขึ้น เศรษฐกิจที่ขยายตัว และชัยชนะอย่างถล่มทลายในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์เมื่อเดือน พ.ย. ของซูจี และพรรคของเธอ ล้วนเป็นมุมมองในแง่ดีต่ออนาคต

แต่ความขัดแย้งที่ยังคงดำเนินอยู่ในหลายพื้นที่ระหว่างกลุ่มติดอาวุธชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ และกองทัพ หลังข้อตกลงหยุดยิงที่ลงนามกันในปีก่อนล้มเหลวที่จะรวมทุกกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศ

ประชาชนราว 240,000 คน ต้องอพยพหลบหนีความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพม่า ส่วนใหญ่ในรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือ ที่การต่อสู้ระหว่างกองทัพ และกลุ่มกบฏยังคงดำเนินต่อเนื่อง และในรัฐยะไข่ ทางตะวันตก ที่ชาวมุสลิมโรฮิงญาหลายหมื่นคนยังติดอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยหลังเกิดเหตุความรุนแรงระหว่างชุมชนในปี 2555

ยังมีประชาชนอีกหลายพันคนต้องไร้ที่อยู่อาศัยในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในรัฐชาน ทางตะวันออก ท่ามกลางการต่อสู้ระหว่างกองทัพ และกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) ที่ยังไม่ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิง

สถานการณ์ในรัฐยะไข่เป็นข้อกังวลสำคัญของประชาคมโลก ที่ได้เรียกร้องต่อรัฐบาลใหม่ที่จะให้ความสำคัญต่อชะตากรรมของชาวโรฮิงญา ที่หลบหนีออกจากประเทศหลายพันคนในทุกๆ ปี ด้วยเรือที่ไม่แข็งแรง

กฎระเบียบการเป็นพลเมืองหลากหลายประการทำให้หลายคนกลายเป็นคนไร้รัฐ ขณะเดียวกัน พวกเขาอ้างว่า เผชิญต่อการกดขี่ข่มเหงอย่างเลวร้ายโดยชุมชนชาวพุทธยะไข่ ที่ส่วนใหญ่มองพวกเขาว่าเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

ในสัญญาณของความท้าทายที่กำลังรอคอยรัฐบาลชุดใหม่ สมาชิกรัฐสภาจากพรรคยะไข่กล่าวว่า เขาคัดค้านแนวคิดที่ว่ากระทรวงกิจการชาติพันธุ์สามารถจัดการต่อรอยร้าวระหว่างชุมชนที่ฝังลึกในรัฐของเขาได้

“กระทรวงกิจการชาติพันธุ์เกี่ยวข้องต่อชาติพันธุ์พม่า ชาวเบงกาลีไม่ได้เป็นหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ของเร“” บา เช็ง สมาชิกรัฐสภาจากเขตเลือกตั้งจอก์พยู กล่าว

โวลเคอร์ เติร์ก ผู้ช่วยข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติด้านความคุ้มครอง กล่าวว่า ประชาคมโลกเข้าใจว่า สถานการณ์ในรัฐยะไข่นั้นซับซ้อน แต่มีความหวังว่ารัฐบาลใหม่จะสามารถหาทาง และวิธีที่จะจัดการต่อสถานการณ์ดังกล่าว .
กำลังโหลดความคิดเห็น