xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ ห่วงการต่อสู้ในภาคเหนือของพม่าทำผู้คนอพยพกว่า 4,000 คน

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีวันที่ 16 ม.ค. 2557 เผยให้เห็นทหารของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) กลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ปะหล่อง ยืนรักษาความปลอดภัยอยู่นอกหมู่บ้านในเมืองมานตอง รัฐชาน ทางเหนือของพม่า ประชาชนมากกว่า 4,000 คน อพยพหลบหนีออกจากที่อยู่อาศัยของตัวเองหลังเกิดเหตุปะทะหลายระลอกระหว่างสองกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ ตามการเปิดเผยของสหประชาชาติ และสถานทูตสหรัฐฯ ได้ออกคำแถลงแสดงความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซึ่งนอกจากจะกระทบความปลอดภัยของประชาชนแล้ว ยังคุกคามกระบวนการสันติภาพของประเทศอีกด้วย. -- Agence France-Presse/Ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - สถานทูตสหรัฐฯ ในนครย่างกุ้ง แสดงความรู้สึกวิตกกังวลอย่างหนักต่อเหตุปะทะที่เกี่ยวข้องต่อกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ และกองทัพ ในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศ ที่ทำให้ผู้คนจำนวนหลายพันต้องอพยพหลบหนีความรุนแรง และเตือนว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นคุกคามกระบวนการสร้างสันติภาพอันซับซ้อนของประเทศ

การต่อสู้อย่างหนักปะทุขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนในรัฐชานระหว่างกลุ่มกบฏชาติพันธุ์ 2 กลุ่ม คือ สภาเพื่อการกอบกู้รัฐชาน (RCSS) และกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA)

ความรุนแรงเกิดขึ้นในช่วงการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองอันซับซ้อนจากรัฐบาลที่กองทัพให้การสนับสนุน ไปสู่พรรคการเมืองของนางอองซานซูจี ที่ครองเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปีก่อน

“สถานทูตสหรัฐฯ รู้สึกวิตกกังวลอย่างมากต่อเหตุการณ์การต่อสู้ที่กำลังดำเนินต่อเนื่องในรัฐชาน ที่เกี่ยวข้องต่อสภาเพื่อการกอบกู้รัฐชาน (RCSS) และกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) และกองทัพ” สถานทูตกล่าวในคำแถลงฉบับหนึ่ง

“เราเรียกร้องให้ทุกฝ่ายอดทนอดกลั้น และพิจารณาถึงการเจรจาเพื่อที่กระบวนการสันติภาพจะยังคงดำเนินไปตามแผน และผู้พลัดถิ่นจะสามารถกลับไปยังที่อยู่อาศัย และใช้ชีวิตของตนเองเช่นเดิม” คำแถลงระบุ

นับตั้งแต่เริ่มต้นเดือน มีประชาชนอย่างน้อย 4,300 คน ได้หลบหนีออกจากบ้านเรือนเพื่อหาที่ลี้ภัยอันเนื่องจากความรุนแรง ตามการประเมินของสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ

ความขัดแย้งได้ปะทุขึ้นในหลายเมืองในพื้นที่ทางเหนือของรัฐชาน ที่เป็นที่อยู่ของกลุ่มชาติพันธุ์ปะหล่อง ที่มีกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติตะอาง (TNLA) เป็นตัวแทน ขณะที่กลุ่ม RCSS มีฐานที่มั่นอยู่ทางใต้ลงมา

กลุ่ม TNLA กล่าวหาว่า กองทัพพม่าช่วยเหลือ RCSS ที่เป็นหนึ่งใน 8 กลุ่มชาติพันธุ์ที่เข้าร่วมในการเจรจาสันติภาพของรัฐบาลเพื่อหาทางที่จะยุติความขัดแย้งที่ยาวนานหลายทศวรรษระหว่างรัฐ และชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์

แต่ TNLA และกองกำลังติดอาวุธชาติพันธุ์อีกหลายกลุ่มที่ยังติดอยู่ในความขัดแย้งที่ดำเนินต่อเนื่องกับกองทัพ ได้คว่ำบาตรการเจรจาสันติภาพที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกึ่งพลเรือนซึ่งเข้าครองอำนาจในปี 2554 และนำพาพม่าออกจากการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหาร

อย่างไรก็ตาม ยังคงไม่ชัดเจนว่าอะไรเป็นสาเหตุที่จุดชนวนการต่อสู้ระหว่าง RCSS และ TNLA แต่การขาดการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในข้อตกลงสันติภาพ ได้สร้างความวิตกว่ากลุ่มชาติพันธุ์อาจเริ่มแข่งขันกันเองกับกลุ่มอื่นๆ ในการควบคุมดินแดน

ความพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงหยุดยิงทั่วประเทศจะตกไปอยู่ในมือของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ของซูจี ที่มีกำหนดตั้งรัฐบาลในเดือน เม.ย.

ก่อนการเลือกตั้งเดือน พ.ย. นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า ซูจีจะดิ้นรนอย่างหนักเพื่อชนะเสียงสนับสนุนในหมู่ชนกลุ่มน้อยที่มีสิทธิเลือกตั้งเพราะชาติพันธุ์พม่าของเธอ แต่พรรค NLD ของเธอกลับกวาดชัยได้เสียงส่วนใหญ่จากทั่วประเทศ แม้กระทั่งในพื้นที่ชาติพันธุ์บางแห่ง โดยซูจี ได้ให้คำมั่นว่าจะยกประเด็นชาติพันธุ์ขึ้นเป็นวาระสำคัญสำหรับการบริหารของเธอ.
กำลังโหลดความคิดเห็น