xs
xsm
sm
md
lg

ทูตสหรัฐฯ ยืนยันจะเรียกชาวมุสลิมในพม่าว่า “โรฮิงญา” แม้ทางการพม่าขอให้เลิก

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>สก็อต มาร์เซียล ทูตสหรัฐฯ ประจำพม่า กล่าวสุนทรพจน์เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวอชิงตันและรัฐบาลพลเรือนชุดใหม่ของพม่า ในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 10 พ.ค. -- Agence France-Presse/Romeo Gacad.</font></b>

รอยเตอร์ - ทูตสหรัฐฯ ประจำพม่าคนใหม่ ระบุว่า จะใช้คำว่า “โรฮิงญา” เรียกชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมต่อไป แม้รัฐบาลที่ควบคุมโดยอองซานซูจี จะขอให้งดเว้นการใช้คำจำกัดความดังกล่าวก็ตาม

ชาวมุสลิมโรฮิงญา ราว 1.1 ล้านคน ที่ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในสภาพที่มีลักษณะถูกแบ่งแยกในพื้นที่ห่างไกลทางตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า ถูกชาวพุทธพม่าจำนวนมากมองว่า เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

สก็อต มาร์เซียล เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำพม่าคนใหม่ เข้าทำหน้าที่ในช่วงเวลาสำคัญหลังพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของอองซานซูจี ชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์อย่างถล่มทลาย หลังพยายามต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยมาหลายทศวรรษ

“จุดยืนของเรา และการปฏิบัติอย่างสากลของเราคือ การยอมรับว่าชุมชนต่างๆ ทั่วทุกแห่งนั้นมีความสามารถที่จะเลือกสิ่งที่พวกเขาควรถูกเรียกถึง และเราควรยอมรับสิ่งนั้น” มาร์เซียล กล่าว หลังถูกถามว่า เขาตั้งใจจะใช้คำว่าโรฮิงญาต่อไปหรือไม่

ทูตสหรัฐฯ ยังกล่าวเสริมว่า เป็นนโยบายของวอชิงตันมาก่อนแล้ว และฝ่ายบริหารตั้งใจที่จะปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าว

แม้จะได้รับเสียงชื่นชมจากชาติตะวันตกจากบทบาทในการเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตยของพม่าระหว่างอยู่ภายใต้การปกครองของทหารนานหลายปี แต่ซูจี ก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากต่างประเทศ และจากประชาชนบางส่วนในพม่า จากการไม่ค่อยกล่าวถึงการละเมิดสิทธิชาวโรฮิงญา ด้วยการกล่าวถึงคนกลุ่มนี้อาจสร้างความเสียหายทางการเมืองภายในประเทศ เพราะคนกลุ่มนี้ที่ไม่เป็นที่ชื่นชอบในพม่า รวมทั้งบางส่วนในพรรคของซูจี และผู้สนับสนุน ทำให้ซูจี เสี่ยงที่จะเสียเสียงสนับสนุนหากยกประเด็นนี้ขึ้น

ชาวโรฮิงญาราว 125,000 คน ยังคงพลัดถิ่น และเผชิญต่อข้อจำกัดในการเดินทางในค่ายพักผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ นับตั้งแต่การต่อสู้ปะทุขึ้นในรัฐยะไข่ ระหว่างชาวพุทธ และชาวมุสลิมในปี 2555 ชาวโรฮิงญาหลายพันคนต้องหลบหนีการประหัตประหาร และความยากจน

รัฐบาลชุดก่อนหน้าของเต็งเส่ง เรียกคนกลุ่มนี้ว่า เบงกาลี ที่หมายถึงผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ แม้หลายคนใช้ชีวิตอยู่ในพม่ามาหลายชั่วอายุคนก็ตาม

เมื่อสัปดาห์ก่อน เจ้าหน้าที่จากกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวต่อสื่อว่า พวกเขาได้ร้องขอ นายมาร์เซียล ให้งดเว้นจากการใช้คำว่า “โรฮิงญา” ที่ถูกมองว่า เป็นความขัดแย้ง ด้วยโรฮิงญานั้นไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์อย่างเป็นทางการของประเทศ และในมุมมองของพวกเขา การใช้คำจำกัดความดังกล่าวเป็นการไม่สนับสนุนกระบวนการสร้างความปรองดองแห่งชาติ.
กำลังโหลดความคิดเห็น