xs
xsm
sm
md
lg

พม่าตั้ง “ซูจี” นำคณะกรรมการพัฒนารัฐยะไข่ แก้ไขความขัดแย้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือนมิ.ย. 2555 เผยให้เห็นสภาพความเสียหายที่เกิดจากเหตุความรุนแรงระหว่างชุมชนชาวพุทธและชาวมุสลิมในเมืองสิตตเว รัฐยะไข่ ทางการพม่าได้ประกาศตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อการดำเนินการความสงบสุขและการพัฒนาในรัฐยะไข่ ในความพยายามที่จะทำให้รัฐยะไข่เกิดความสงบสุข โดยมีอองซานซูจีเป็นผู้นำในคณะทำงานชุดนี้. -- Agence France-Presse.</font></b>

รอยเตอร์ - อองซานซูจี จะเป็นผู้นำในความพยายามครั้งใหม่ที่จะนำความสงบสุข และการพัฒนามาสู่รัฐยะไข่ พื้นที่ที่เกิดเหตุความรุนแรงระหว่างชาวพุทธ และชาวมุสลิมในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ที่ขัดขวางความคืบหน้าการปฏิรูปประชาธิปไตย

ประชาชนมากกว่า 100 คน เสียชีวิตจากเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐยะไข่ เมื่อปี 2555 และมีชาวมุสลิมโรฮิงญาไร้สัญชาติกว่า 125,000 คน ต้องลี้ภัยอยู่ในค่ายพักชั่วคราวซึ่งจำกัดความเคลื่อนไหวอย่างเข้มงวด นอกจากนั้น ยังมีชาวโรฮิงญาอีกหลายพันคนหลบหนีการประหัตประหาร และความยากจนอพยพทางเรือไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ทางใต้

สำนักงานประธานาธิบดี ได้ประกาศเมื่อวันอังคาร (31) ว่า ซูจี ที่ครองตำแหน่งที่ปรึกษาแห่งรัฐ จะเป็นผู้นำคณะกรรมการกลางเพื่อการดำเนินการความสงบสุขและการพัฒนาในรัฐยะไข่ ซึ่งคณะกรรมการชุดใหม่นี้ จะประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ 27 คน ที่รวมทั้งคณะรัฐมนตรีทั้งชุด

การประกาศครั้งนี้ให้ข้อมูลเพียงแค่รายชื่อของผู้ที่อยู่ในคณะกรรมการ แต่ไม่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีที่กลุ่มจะจัดการปัญหามากมายของรัฐ

รัฐมนตรีกระทรวงกิจการชายแดน ที่ได้รับการแต่งตั้งโดยผู้บัญชาการทหารสูงสุด และมุขมนตรีรัฐยะไข่ ที่เป็นสมาชิกของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตยของซูจี ทั้งคู่จะมีตำแหน่งเป็นรองประธานคณะกรรมการ

ซอ เต โฆษกสำนักงานที่ปรึกษาแห่งรัฐ กล่าวว่า คณะกรรมการจะจัดการเดินทางลงพื้นที่สำรวจรัฐยะไข่ในเร็วๆ นี้ แต่ไม่ได้ระบุวันที่แน่นอน หรือกล่าวว่า ซูจี จะร่วมไปกับคณะเดินทางหรือไม่

อองซานซูจี เคยรณรงค์หาเสียงในพื้นที่ทางใต้ของรัฐยะไข่ ก่อนการเลือกตั้งเดือน พ.ย. แต่หลีกเลี่ยงที่จะเข้าไปยังเมืองสิตตเว ที่เป็นเมืองเอกของรัฐ และไม่เคยเดินทางไปยังค่ายพักแรมสำหรับผู้ไร้ที่อยู่จากเหตุความรุนแรง

ความไม่เต็มใจของ ซูจี ที่จะกล่าวถึงชะตากรรมของชาวโรฮิงญาถูกกลุ่มสิทธิมนุษยชนวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก

ความรู้สึกต่อต้านชาวมุสลิมโรฮิงญาแพร่ลามไปอย่างกว้างขวางในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือพุทธ ซึ่งรวมทั้งหลายคนในพรรคของซูจี และผู้สนับสนุนพรรค

ซูจี กล่าวเมื่อเดือนก่อนว่า ประเทศต้องการเวลาในการจัดการต่อปัญหาดังกล่าว และเตือนถึงการใช้คำจำกัดความที่ยั่วยุอารมณ์ ซึ่งซูจี กล่าวว่า จะทำให้สถานการณ์ยากลำบากยิ่งขึ้น

ทางการพม่า ไม่ถือว่า โรฮิงญา เป็นหนึ่งใน 135 กลุ่มชาติพันธุ์ที่ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ และรัฐบาลชุดก่อนหน้าเรียกชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมกลุ่มนี้ว่า เบงกาลี ที่หมายถึงผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ.
กำลังโหลดความคิดเห็น