xs
xsm
sm
md
lg

น้ำเขื่อนจีน-ลาวถึงที่ราบปากแม่น้ำโขง เวียดดี๊ด๊ามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>น้ำเริ่มจืดอีกครั้ง นายเหวียนวันหือว์ (Nguyen Van Huu) กับเพื่อนบ้านที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในเขต อ.โจะแหล็ก (Cho Lach) จ.เบ๊นแจ (Ben Tre) ก็เริ่มใช้น้ำในคลองซอยชลประทาน ไปรดพืชสวนอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันเสาร์ ศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์ภาคใต้คาดว่า ทั่วทั้งเขตที่ราบปากแม่น้ำในรัศมี 25-40 กิโลเมตรจากฝั่งทะเล จะได้รับน้ำจากแม่น้ำโขง ที่ปล่อยไปจากเขื่อนจีน กับเขื่อนในลาวอีก 4 แห่งอย่างทั่วถึงภายในเดือนนี้. -- DanViet Online.</b>

MGRออนไลน์ -- น้ำในแม่น้ำโขงที่ปล่อยจากเขื่อนในจีนและ สปป.ลาว ปริมาณมหาศาลในแต่ละวัน ได้เคลื่อนลงไปถึงเขตที่ราบปากแม่น้ำในภาคใต้เวียดนามแล้วช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งได้สร้างความยินดีปรีดาแก่เกษตรกรที่อาศัยฟ้าฝน และ น้ำท่าตามธรรมชาติในการเพาะปลูก กระแสน้ำจากแม่น้ำใหญ่เริ่มไหลบ่าเข้าสู่ระบบคูคลอง ท้องนา ท้องร่องสวน น้ำที่เคยเค็มจัดเริ่มจืดอีกครั้งหนึ่ง สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนได้

อย่างไรก็ตาม หลายจังหวัดในภาคใต้เวียดนามยังคงเผชิญหน้ากับการท้าทายอันใหญ่หลวง คำถามใหญ่ก็คือน้ำที่ปล่อยมาจากจีนและลาว จะสามารถผลักดันน้ำทะเลที่ท่วมท้นขึ้นไป เป็นระยะทางเฉลี่ย 20 กิโลเมตร ในจังหวัดต่างๆ ได้หรือไม่

ตามรายงานของซเวินเหวียดออนไลน์ ช่วงเดือนที่่ผ่านมา เกษตรกรใน จ.โด่งท้าป (Dong Thap) นับพันๆ ครอบครับ ได้ใช้เงินไปมากมายในการเจาะน้ำบาดาล เพื่อนำไปใช่้ในนาข้าว ปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเกษตรกรได้เปิดรับน้ำจากแม่โขง เข้าสู่ระบบคูคลองอย่างเต็มที่ และ ในวันศุกร์ เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบท ได้ไปตรวจสภาพน้ำ ในเขต อ.อานฝู (An Phu) จ.อานซยาง (An Giang) พบว่าความเค็มของน้ำในลำคอลงใหญ่มีระดับต่ำมากจนเกือบเป็นปรกติ เกษตรกรสามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่นเดียวกับในอีกหลายท้องถิ่น

"ฉันมีนาอยู่ 15 เฮกตาร์ (93.75 ไร่) ข้าวเพิ่งอายุได้ 2 สัปดาห์ เริ่มแห้งตาย และ ไม่มีฝนตกเลยตลอดเดือนมานี้ แต่ตอนนี้ระดับในคลองเพิ่มขึ้น 3 ฟุตแล้ว ข้าวฉันรอดตายแล้ว.." นายเลวันเลิม (Le Van Lam) ราษฎร อ.เติ่นห่อม (Tan Hong) จ.โด่งท้าป ให้สัมภาษณ์ซเวินเหวียด

"น้ำที่้ส่งมาตอนนี้เป็นประโยชน์โดยตรงต่อนาข้าวฤดูร้อน 12,000 เฮกตาร์ (75,000 ไร่) กับสวนผักอีกกว่า 4,000 เฮกตาร์ (25,000 ไร่) ของประชาชนในย่านนี้.." เจ้าหน้าที่เกษตรจังหวัดอานซยาง ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ออนไลน์ภาษาเวียดนาม

อานซยางใช้น้ำโดยตรงจากลำน้ำเหิ่ว (Hau) ซึ่งอยู่ทางตะวันตกสุด ในบรรดาลำน้ำสายหลัก 4 สาย ที่กระจายสาขาออกสู่เขตที่ราบปากแม่น้ำอันกว้างใหญ่ ก่อให้เกิดระบบระบบนิเวศอันสลับซับซ้อน ผ่านระบบคูคลองธรรมชาติมากมาย ซึ่งได้ประกอบดันเป็นเส้นเลือดใหญ่ทั้งในด้านการเกษตร และการคมนาคมขนส่งทั่วภูมิภาค

ในท้องที่นครเกิ่นเทอ (Can Tho) ศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเขตที่ราบปากแม่น้ำ ซึ่งอยู่สูงขึ้นไปจากบริเวณปากแม่น้ำ ระดับน้ำในลำน้ำเหิ่วสูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ในช่วง 2-3 วันมานี้ ความเค็มของน้ำวัดได้เพียง 0.09-0.19 ส่วน เทียบกับช่วงต้นเดือน มี.ค. ที่ความเค็มสูง 1.5-2.5 ต่อ 1,000 ส่วน
.
<br><FONT color=#000033>เหนือขึ้นไปจาก จ.เบ๊นแจ เกษตรกรที่บ้านเตินหุ่ง (Tan Hung) อ.เตียวเกิ่น (Teo Can) จ.จ่าวีง (Tra Vinh) เริ่มสูบน้ำเข้าผืนนาอีกครั้ง แต่อีกหลายท้องถิ่นยังต้องรอน้ำต่อไป เพื่อขับไล่น้ำเค็มที่ไหลเอ่อเข้าไปถึง 20 กิโลเมตร ในเขตนาข้าว. -- DanViet Online.</b>
2
<br><FONT color=#000033>นายเหวียนวันโด๋ (Nguyen Van Do) ชาวบ้านเติ่นซวน อ.บาติ จ.เบ๊นแจ เริ่มนำน้ำในคลองชลประทาน กลับไปเลี้ยงวัวอีกครั้งหนึ่งในวันเสาร์ เกษตรกรทั่วทั้งเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง เหมือนมีชีวิตใหม่ น้ำจากจีนและลาวที่ปล่อยลงไปตามลำน้ำโขงปริมาณมหาศาลในแต่ละวัน ไปถึงเขตที่ราบปากแม่น้ำ ปลายสัปดาห์ที่แล้ว. -- DanViet Online.</b>
3
อย่างไรก็ตามในเขตที่อยู่ใกล้กับทะเล ภัยแล้งครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี ทำให้น้ำในลำน้ำลำคลองแห้งเหือด หลายท้องถิ่นสร้างเขื่อนปิดกั้น มิให้น้ำทะเลหนุน สร้างความเสียหายให้แก่ไร่นาสวน แต่ในอีกหลายจังหวัด รวมทั้งบั๊กเลียว (Bac Lieu) และ จ.ซ๊อกจาง (Soc Trang) มีหลายท้องที่ไม่มีระบบประตูน้ำปิดเปิด ทำให้น้ำเค็มบ่าทะลักเข้าสู่ระบบชลประมาณ ห่างจากชายฝั่งขึ้นไป 10-20 กม.

เจ้าหน้าที่ชลประทานกล่าวว่า นาข้าวนับหมื่นๆ เฮกตาร์ตกอยู่ในสภาพถูกน้ำเค็มคุกคามและเสี่ยงต่อการสูญเสีย ผืนนาเหล่านั้นยังต้องการน้ำจากแม่น้ำโขงอีกปริมาณมหาศาล เพื่อชะล้าง ไล่น้ำเค็มให้ถอยร่นลงทะเล

ใน จ.เบ๊นแจ (Ben Tre) นาข้าวฤดูร้อนของเกษตรกรนับหมื่นครอบครับ ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงและต่อเนื่อง จากน้ำทะเลที่หนุนขึ้นไป และ ต่างรอคอยน้ำจากแม่น้ำโขงอย่างใจจดจ่อ โดยหวังว่าจะไปถึงที่นั่นในอีกวันหรือสองวันข้างหน้า ซเวินเหวียดกล่าว

ตามประมาณการโดยศูนย์อุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์ภาคใต้ ในนครโฮจิมินห์ ท้องถิ่นต่างๆ ที่อยู่ห่างจากชายฝั่งทะเล 25-40 กม. ทั่วเขตที่ราบปากแม่น้ำ จะได้รับน้ำจืดจากแม่น้ำโขงอย่างทั่วถึงภายในเดือน เม.ย.นี้ ทั้งนี้เป็นการคิดคำนาณโดยอาศัยตัวเลขปริมาณน้ำ ที่ปล่อยจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ในจีน 1 แห่ง และ เขื่อนในลาวอีก 4 แห่ง

ตามตัวเลขของกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม จีนได้ปล่อยน้ำจากเขื่อนจิ่นหง ในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน ลงสู่แม่น้ำโขงในปริมาณ 2,254 บาศเมตรต่อวินาที ตั้งแต่สัปดาห์ต้นเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา และ จะปล่อยน้ำในระดับนี้ ไปจนถึงต้นเดือนหน้า

ต่อมาวันที่ 23 มี.ค. ลาวได้เริ่มน้ำปล่อยจากเขื่อนจำนวน 4 แห่ง ในลำน้ำ 4 สาย ที่เป็นสาขาหลักของแม่น้ำโขง รวมกันเป็นปริมาณ 1,136 ลบม./วินาที และ ยังมีน้ำที่ไหลจากแม่น้ำมูลกับลำน้ำสายอื่นในประเทศไทยอีกราว 220 ลบม./วินาที เมื่อรวมกับน้ำจากเขื่อนจีนและลาว ก็จะได้น้ำลงแม่น้ำโขงเป็นทั้งหมด 3,611 ลบม./วินาที

น้ำไหลผ่านดินแดนลาว กัมพูชา และ ไปถึงเขตที่ราบปากแม่น้ำ ภาคใต้เวียดนาม ราววันที่ 2 เม.ย.ตามการคาดหมายของทุกฝ่าย.
กำลังโหลดความคิดเห็น