xs
xsm
sm
md
lg

ลาวปล่อยน้ำเขื่อนช่วยเวียดนามบรรเทาแล้งเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ชาวนา จ.ซ๊อกจาง (Soc Trang) ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำทำนา โดยเจาะบ่อนำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ ในภาพวันที่ 2 มี.ค.2559 พอจะช่วยบรรเทาได้ แต่ก็ไร้ประโยชน์ น้ำเท่านี้ไม่พอช่วยดันน้ำทะเลมิให้ทะลักเข้าสู่นาข้าวได้ เวียดนามได้ร้องขอต่อเพื่อนบ้านที่อยู่เหนือขึ้นไปตามลำน้ำโขง ให้ช่วยปล่อยน้ำลงสู่ลำน้ำสายยาวนี้. -- Agence France Presse/Stringer.</b>

MGRออนไลน์ -- ลาวได้เริ่มปล่อยน้ำจากเขื่อนหลายแห่งตั้งแต่กลางสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อสมทบกับน้ำที่ปล่อยจากเชื่อนกั้นแม่น้ำโขงในประเทศจีน และจากลำน้ำสาขาต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อช่วยบรรเทาภัยแห้งแล้ง กับภัยจากน้ำเค็มที่รุกเข้าสู่พื้นที่การเกษตร ในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขงในเวียดนาม ซึ่งรัฐบาลในกรุงฮานอยกล่าวว่า เป็นแล้งครั้งหนักหน่วงที่สุดในรอบศตวรรษ

น้ำที่ปล่อยจากเขื่อนในลาวมีปริมาณ 1,136 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที คาดว่าจะถึงเขตที่ราบปากแม่าน้ำโขงในต้น เม.ย.นี้ สื่อของทางการอ้างคำแถลงฉบับหนึ่ง ของโฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามที่ออกเมื่อวันศุกร์

คำแถลงดังกล่าวได้อ้างการให้สัมถาษณ์ของ ดร.นายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีพลังงานและเหมืองแร่ของลาว เมื่อวันพุธสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งระบุว่า ลาวได้เริ่มปล่อยน้ำในวันเดียวกัน และ จะดำเนินไปจนถึงสิ้นเดือน พ.ค. ที่คาดว่าจะเริ่มมีฝนตกลงมา

ปัจจุบันมีเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงในดินแดนลาว 2 แห่งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง คือ เขื่อนไซยะบูลี ในแขวงชื่อเดียวกัน กับเขื่อนดอนสะโฮง ในเขตสี่พันดอน เมืองโขง แขวงจำปาสัก ทางตอนใต้ของประเทศ ทั้งสองแห่งเป็นเขื่อนแบบฝายน้ำล้น และยังไม่ได้มีการขวางทางน้ำ เช่นเดียวกับเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงอีก 2 แห่งในดินแดนกัมพูชา

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ จนถึงสิ้นปี 2558 ในลาวมีเขื่อนที่ก่อสร้างเสร็จ เก็บกักน้ำและเริ่มปั่นไฟแล้ว รวมทั้งสิ้น 38 เขื่อน มีทั้งเขื่อนที่สร้างกั้นลำน้ำสาขาแม่น้ำโขง และ ลำน้ำอื่นๆ ที่ไม่ได้ไหลลงสู่แม่น้ำโขง แต่ไม่มีการกล่าวถึงรายละเอียดว่า ลาวปล่อยน้ำจากเขื่อนแห่งใดบ้าง

ภัยแห้งแล้งปีนี้ ทำให้ได้เห็นการร่วมมือช่วยเหลือกันของบรรดาประเทศ ที่ใช้แม่น้ำสายยาวนี้ร่วมกัน รวมทั้งจีนที่ไม่ได้เป็นภาคีสัญญากลุ่มประเทศแม่น้ำโขงด้วย

ก่อนหน้านี้วันที่ 17 มี.ค. นายเลหายบี่ง (Le Hai Binh) โฆษกกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามได้เปิดเผยว่า รัฐบาลจีนได้เริ่มปล่อยน้ำจากเขื่อนจิ้งหง (Jing Hong) ในเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา มณฑลหยุนหนัน ตั้งแต่วันที่ 15 มี.ค. ตามการร้องของเวียดนาม และ จะปล่อยต่อไปจนถึงวันที่ 10 เม.ย.
.
<br><FONT color=#000033>เกษตรกรฟาร์มหอยนางรมใน จ.เบ๊นแจ (Ben Tre) เก็บหอยที่เน่าตาย เนื่องจากน้ำเค็มจัด น้ำทะเลหนุนขึ้นสูง ระบบน้ำในลำน้ำโขงกับลำน้ำสาขาในเขตที่ราบปากแม่น้ำ มีไม่พอผลักดันน้ำทะเลเช่นปรกติ. -- Photo Courtesy VietnamNet. </b>
2
<br><FONT color=#000033>นาข้าวใน จ.เบ๊นแจ ก็ไม่ต่างกับในจังหวัดอื่นๆ ในเขตที่ราบใหญ่ปากแม่น้ำ ที่กำลังออกรวงก็ยืนต้นตาย เพราะน้ำทะเลดันขึ้นมา ที่เพิ่งปักดำกำลังยืนต้น ก็แห้งตายเพราะขาดน้ำ.  -- Photo Courtesy VietnamNet. </b>
3
เขื่อนจิ้งหงมีพื้นที่อ่างเก็บน้ำถึง 510 ตารางกิโลเมตร เก็บน้ำได้เต็มที่ 249,000,000 ลบม มีกำลังผลิตไฟฟ้าถึง 1,750 เมกะวัตต์ และ ตามข้อมูลของกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม จีนปล่อยน้ำจากเขื่อนใหญ่ดังกล่าว ในอัตรา 2,190 ลบม./วินาที หรือ เกือบสองเท่าของอัตราปรกติของทุกปีในฤดูนี้

กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ยังขอบคุณประเทศไทย ที่ปล่อยน้ำจากลำน้ำสาขาต่างๆ ลงสู่แม่น้ำโขงตามปรกติ ซึ่งจะทำให้ปริมาณน้ำทั้งหมดที่ไหลตามลำน้ำในช่วงนี้ ผ่านดินแดนลาว เข้ากัมพูชา สู่ภาคใต้เวียดนาม เป็นปริมาณ 3,611 ลบม./วินาที

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า เขตที่ราบอันเป็นอู่ข้าวอู่น้ำใหญ่ที่สุดในเวียดนาม กำลังเจอภัยแล้งครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 100 ปี ซึ่งสาเหตุหลักนั้นเป็นผลกระทบโดยตรงจากสภาวะเอลนีโญ แต่ในขณะนี้เดียวกันภัยแล้งที่ครอบคลุมอาณาบริเวณกว้างในอนุภูมิภาค ได้ทำให้เกิดความแห้งแล้งไปทั่ว ส่งผลต่อปริอมาณน้ำในแม่น้ำโขงตอนล่าง

ตามรายงานของสื่อทางการ ในช่วงเดือนเศษๆ มานี้ มีเกษตรกรนับพันครอบครัว ในหลายจังหวัดเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง อพยพออกจากพื้นที่อาสัยทำกิน เนื่องจากไม่สามารถต้านทานน้ำทะเลที่รุกล้ำเข้าไปได้ ปล่อยให้น้ำเค็มเอ่อล้นเข้านาข้าว ทำให้ข้าวฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ ที่กำลังออกรวง ยืนต้นตายนับจำนวนหมื่นๆ ไร่.
กำลังโหลดความคิดเห็น