xs
xsm
sm
md
lg

เวียดนามแล้งรุนแรงที่สุดในรอบ 90 ปี ที่ราบปากน้ำโขงดินเค็มผลกระทบรุนแรง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือนมี.ค. 2556 เกษตรกรพาฝูงวัวหาหญ้ากลางทุ่งในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ในจ.ซาลาย เขตที่ราบสูงภาคกลางของประเทศ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่าเวียดนามกำลังประสบภัยแล้งครั้งรุนแรงที่สุดในรอบ 90 ปี และปัญหาดินเค็มเนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำโขงลดลงต่ำสุด โดยเฉพาะพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง ในภาคใต้ของประเทศ. -- Agence France-Presse/Hoang Dinh Nam.</font></b>

เอเอฟพี - เวียดนาม กำลังประสบภัยแล้งรุนแรงที่สุดในรอบเกือบศตวรรษด้วยความเค็มของดินที่ส่งผลกระทบต่อเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขงทางภาคใต้ ผู้เชี่ยวชาญเผย

ระดับน้ำของแม่น้ำโขงลดลงสู่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2469 ซึ่งนำไปสู่ภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุด และความเค็มของดินในพื้นที่” เหวียน วัน ตีง รองหัวหน้าฝ่ายชลศาสตร์ กระทรวงเกษตร กล่าว

ภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง พื้นที่ลุ่มต่ำ และมีการเพาะปลูกหนาแน่น เป็นที่อยู่ของประชาชนมากกว่า 20 ล้านคน และเป็นอู่ข่าวของประเทศ การเพาะปลูกอย่างเข้มข้น และระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงทำให้พื้นที่แห่งนี้กลายเป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบางของระบบนิเวศมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

นักวิทยาศาสตร์กล่าวโทษสภาพภูมิอากาศอันเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญในช่วง 2558-2559 ที่ส่งผลให้เกิดภัยแล้งในปัจจุบัน และการขาดแคลนน้ำยังขัดขวางการทำการเกษตรในประเทศใกล้เคียงทั้งกัมพูชา ลาว ไทย และพม่า

เล แอ็ง ต่วน ศาสตราจารย์ด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ ในเขตที่ราบลุ่มปากแม่น้ำโขง กล่าวว่า มากถึง 40-50% ของพื้นที่ที่สามารถเพาะปลูกได้ราว 13.75 ล้านไร่ในเขตปากแม่น้ำ ได้รับผลกระทบจากการสะสมของเกลือในดิน

“เราไม่มีมาตรการเฉพาะใดๆ ที่จะช่วยบรรเทาสถานการณ์ที่เกิดขึ้น” ต่วน กล่าว

ผู้ปกครองคอมมิวนิสต์เวียดนามได้ประกาศให้ความช่วยเหลือ 3.8 ล้านดอลลาร์ สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ

เวียดนาม เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าว และกาแฟรายใหญ่ที่สุดอันดับ 2 ของโลก ซึ่งพืชทั้ง 2 ชนิดมีความเสี่ยงที่จะประสบปัญหาจากภัยแล้ง

ความหนาวเย็น และความแห้งแล้งกระทบอุตสาหรรมกาแฟของประเทศในปี 2556 และ 2557 แต่ผลผลิตข้าวของเวียดนามเพิ่มขึ้นเกือบ 4 เท่า นับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 ตามรายงานของทางการ เนื่องจากการใช้สายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง และการสร้างเครือข่ายเขื่อนกั้นน้ำที่ทำให้เกษตรกรสามารถปลูกข้าวได้มากถึง 3 ครั้งต่อปี.
กำลังโหลดความคิดเห็น