xs
xsm
sm
md
lg

ปีที่แล้วเขื่อนเสร็จอีก 26 แห่ง ต่อไฟให้ก่อนผ่อนทีหลัง ลาวสว่างไสวทั่วประเทศ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

 <br><FONT color=#00003>5 ม.ค.2559 เขื่อนดอนสะโฮงที่ก่อสร้างขึ้นกั้นทางน้ำไหลขนาดใหญ่ในแม่น้ำโขง แขวงจำปาสัก ประเดิมปีใหม่ด้วยการผันทางน้ำไหลเพื่อสร้างสันเขื่อน ในโครงการผลิตไฟฟ้ามูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ เป็นแห่งหนึ่งที่จะแล้วเสร็จใน 5 ปีข้างหน้า ซึ่งจะทำให้มีเขื่อนเพิ่มขึ้นเป็นกว่า 60 แห่ง ปีที่แล้วเพิ่ม 26 แห่งรวมเป็น 38 แห่งในปัจจุบัน. </b>

MGRออนไลน์ -- ลาวยังคงมุ่งพัฒนาแหล่งพลังงานจากธรรมชาติและจนถึงสิ้นปี 2558 ที่ผ่านมา มีเขื่อนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จและผลิตกระแสไฟฟ้าอยู่ทั่วประเทศรวมทั้งสิ้น 38 แห่ง ขณะเดียวกันก็เร่งก่อสร้างระบบสายส่งเข้าสู่แหล่งชุมชนต่างๆ ซึ่งทำให้ทุกเมือง (อำเภอ) ทั่วประเทศ มีไฟฟ้าใช้ครบ 100% เหลือเพียงหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลอีกราว 20% เศษๆ ของจำนวนทั้งหมด ที่จะต้องเข้าถึงกระแสไฟฟ้าในระยะข้างหน้า

รัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ ดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ด้อยโอกาสเหล่านั้น โดยขยายข่ายสายส่งไฟฟ้าเข้าสู่ชุมชน ต่อสายไฟเข้าสู่บ้านเรือนให้ราษฎรก่อน แล้วค่อยชำระแบบผ่อนผันโดยคิดรวมเข้าในค่าใช้กระแสไฟฟ้ารายเดือน แบบทะยอยผ่อนส่ง นายคำมะนี อินทิลาด รัฐมนตรีพลังงานฯ ลาว รายงานต่อที่ประชุมใหญ่พรรคประชาชนปฏิวัติลาวสัปดาห์นี้

ปฏิบัติการของกระทรวงฯ "ได้ทำให้พ่อแม่ประชาชนมีความพึงพอใจ และ ทำให้สามารถพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทีละก้าว.." ดร.คำมะนีกล่าว

เขื่อนผลิตไฟฟ้าทั้ง 38 แห่ง มีมูลค่ารวมประมาณ 10,000 ล้านดอลลาร์ มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมกัน 6,265 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นจำนวน 26 แห่ง เมื่อเทียบกับ 5 ปีก่อนหน้านี้่ และ คาดว่าอีก 4 ปีข้างหน้าคือในปี 2563 ลาวจะมีเขื่อนผลิตไฟฟ้าสร้างแล้วเสร็จ มากกว่า 60 เขื่อน มีกำลังผลิตรวมกันกว่า 10,000 เมกะวัตต์ ผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า 6,000 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี

ปัจจุบันทั้ง 148 ตัวเมืองทั่วประเทศมีไฟฟ้าใช้ถาวร ในนั้นมี 85.54% ของหมู่บ้านในทั่วทั้งประเทศ และ 89.78% ของจำนวนครัวเรือนทั่วประเทศสามารถเข้าถึงไฟฟ้า กับอีกจำนวนหนึ่งที่อยู่ห่างไกล ได้ใช้ไฟฟ้าพลังงานทางเลือกอื่นๆ ในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ทางการสามารถขยายกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ราษฎรในชนบทได้อีก 43,218 ครอบครัวใน 2,404 หมู่บ้าน

นอกจากนั้นจนถึงกลางปีที่แล้ว มีชาวลาวจำนวน 14,327 ครอบครัว คิดเป็น 1.27 ของครัวเรือนทั่วประเทศ ได้ใช้ประโยชน์จากไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานแสงอาทิตย์ ไฟฟ้าชีวมวล ชีวภาพ ไฟฟ้าจากพลังงานลม และ อื่นๆ ที่มีเงื่อนไขเอื้ออำนวย
.
<br><FONT color=#00003>ดร.คำมะนี อินทิลาด รมว.พลังงานและเหมืองแร่ ขึ้นว่าการกระทรวงปลายปีที่แล้ว ได้รับเลือกเป็นกรรมการศูนย์กลางพรรคอย่างสมบูรณ์ ระหว่างการประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 พรรคประชาชนปฏิวัติลาว วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา. </b>
2
<br><FONT color=#00003>พ.ย.2558 โครงการน้ำเงียบ 1 ในแขวงบอลิคำไซ-ไซสมบูน เริ่มผันน้ำผ่านอุโมงค์ขนาดใหญ่ เพื่อก่อสร้างสันเขื่อนเช่นกัน จะเปิดในปีข้างหน้านี้ ซึ่งจะทำให้ลาวมีเขื่อนจำนวน 60 แห่ง ตามแผนการในปี 2563 มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมกันกว่า 10,000 เมกะวัตต์.</b>
2
ในระยะเดียวกัน ลาวสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าส่งจำหน่ายให้แก่ ไทย เวียดนาม และ กัมพูชาเพิ่มขึ้น 4 เท่าตัว เทียบกับเมื่อปี 2553 ก่อนการประชุมใหญ่พรรคครั้งก่อน และ คาดว่าปี 2559 จะสามารถจำหน่ายไฟฟ้าให้แก่พม่าได้อีกแห่งหนึ่ง การส่งออกไฟฟ้าสร้างรายได้ให้แก่ประเทศเฉลี่ยกว่า 300 ล้านดอลลาร์ต่อปี และ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละปี รัฐมตรีลาวกล่าว

โดยภาพรวมในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา แขนงอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและเหมืองแร่ ได้ประกอบส่วนอย่างสำคัญ เข้าในการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ มีมูลค่าคิดเป็น 12% ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ เพิ่มขึ้น 9.22% เทียบกับระหว่างปี 2549-2553 สำนักข่าวสารปะเทดลาวรายงาน

พรรคประชาชนปฏิวัติลาวเปิดประชุมใหญ่ครั้งที่ 10 สัปดาห์นี้ เพื่อสรุปผลงานในรอบ 5 ปี และ กำหนดยุทธศาสตร์กับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า รวมทั้งมีการเลือกตั้งผู้นำใหม่ด้วย นายคำมะนี ซึ่งได้รับแต่งตั้งขึ้นว่าการกระทรวงสำคัญนี้เมื่อปีที่แล้ว ได้รับเลือกเป็นกรรมการศูนย์กลางพรรคอีกคนหนึ่งในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา.
กำลังโหลดความคิดเห็น