xs
xsm
sm
md
lg

เวียดระทมเตือนรับมือภัยแล้ง อู่ข้าวที่ราบปากแม่น้ำโขงปีนี้แล้งเข็ญ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#00003>ชาวนานครเกิ่นเทอ (Can Tho) ทางภาคตะวันตก เขตที่ราบปากแม่น้ำโขง เก็บเกี่ยวข้าวฤดูหนาว-ฤดูใบไม้ผลิ ในเดือน ก.พ.2558 การทำนาแห่งฤดูกาลใหม่กำลังจะเริ่มขึ้นในเดือนหน้านี้ พร้อมกับข่าวร้ายเตือนให้ ทั่วทั้งเขตที่ราบใหญ่เตรียมรับมือภัยแล้ง ที่เชื่อว่าจะสร้างประวัติกาลใหม่ สาหัสยิ่งกว่าทุกครั้งในรอบเกือบ 30 ปี. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ผู้เชี่ยวชาญอุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์ในภาคใต้เวียดนาม ได้เตือนให้ทางการจังหวัดต่างๆ รวมทั้งเกษตรกรในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นอู่ข้าวใหญ่ของประเทศ เตรียมการรับมือภัยแล้งที่กำลังจะเป็นประวัติการณ์ใหม่ หลังจากฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ฤดูฝนสั้นกว่าปกติ ระดับน้ำในแม่น้ำสาขาต่างๆ ต่ำมากกว่าจุดต่ำสุดในรอบเกือบ 20 ปี ภัยแล้งจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจ และสังคมอย่างกว้างขวาง

ฤดูแล้งกำลังมาถึงตั้งแต่ปลายเดือน ต.ค.นี้เป็นต้นไป และลากยาวไปจนถึงช่วง เม.ย.-พ.ค.ปีหน้า ซึ่งสั้นกว่าปกติอยู่ราว 15 วัน น้ำทะเลจะท่วมลึกเข้าทำลายพืชผลในเทือกไร่นาสวน สร้างความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงแก่เกษตรกร ถ้าหากไม่รีบดำเนินมาตรการป้องกันทันท่วงที สื่อของทางการรายงาน อ้างนายดั่งวันยวุ๋ง (Dang Van Dung) รองผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาและอุทกศาสตร์ภาคใต้ ในนครโฮจิมินห์

สิ่งนี้กำลังจะเกิดขึ้นขณะที่ระดับน้ำในลำน้ำสายต่างๆ นิ่ง และมีระดับต่ำลงเรื่อยๆ ลำน้ำลำคลองหลากสายเป็นเสมือนสายเลือดใหญ่หล่อเลี้ยง ระบบที่ราบปากแม่น้ำสายหลักอันสลับซับซ้อน และรุ่มรวยด้วยนาข้าว สวนผักผลไม้เขตร้อน กับการประมงท้องถิ่น และเป็นแหล่งปลูกข่าวส่งออกราว 60% ของปริมาณที่ผลิตได้ทั่วทั้งประเทศ หนังสือพิมพ์เตื่อยแจ๋รายงาน

นักอุตุนิยมฯ คนเดียวกันนี้่กล่าวว่า ฤดูแล้งปี 2558-2559 คาดว่าจะเริ่มในสิ้นเดือน ต.ค.หรือ สัปดาห์ต้นเดือน พ.ย. สั้นกว่าปกติราว 15 วัน สภาพเช่นนี้จะทำให้จังหวัดต่างๆ ในภาคใต้ขาดน้ำอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร สถานการณ์เช่นนี้จะส่งผลกระทบต่อการการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวเวียดนามนับล้านๆ ครอบครัว

นายยวุ๋ง กล่าวว่า สาเหตุที่ฤดูแล้งมาเร็วกว่าปกติก็เนื่องจากเป็นปีที่เกิดปรากฏการณ์เอลนิโญ ซึ่งหมายถึงปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิผิวน้ำทะเลในย่านแปซิฟิกสูงกว่าปกติ ซึ่งเกิดขึ้นทุกๆ 2-7 ปี อันเนื่องจากสภาวะโลกร้อนโดยรวม

ภาคใต้เวียดนามที่อยู่ตอนล่างสุดของอนุภูมิภาคแม่น้ำโขง ได้รับผลกระทบโดยตรงจากภัยแล้งในประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่เหนือขึ้นไปตามลำน้ำสายนี้ ซึ่งก็คือ กัมพูชา ไทย และเวียดนาม

นอกจากนั้น ตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา จนถึงสิ้นเดือน ก.ย. ก็ยังเกิดฝนขาดช่วงในหลายจังหวัด ทั้งในภาคใต้ ภาคกลาง กระทั่งภาคเหนือ ระดับน้ำในแม่น้ำสายต่างๆ เกือบทุกสายล้วนต่ำกว่าทุกๆ ปี

ใน จ.บี่งเฟื้อก (Binh Puoc) ที่อยู่ติด จ.เตยนีง (Tay Ninh) เหนือนครโฮจิมินห์ขึ้นไป ปริมาณน้ำฝนทั้งปีวัดได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันในหลายปีที่ผ่านมาเฉลี่ยถึง 874 มิลลิเมตร หนังสือพิมพ์ฉบับเดียวกัน กล่าว

ในบรรดาสถานีตรวจภูมิอากาศ จำนวน 30 แห่งทั่วภาคใต้ มีเพียง 6 แห่งที่บันทึกปริมาณน้ำฝนได้เท่าๆ กับปริมาณเฉลี่ยในช่วง 2-3 ปีก่อนหน้านี้ ฝนที่ตกน้อยทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำ ลำน้ำสายต่างๆ หลายสายต่ำกว่าปกติ รวมทั้งในท้องที่ อ.ต่วนเจิว (Tuan Chau) จ.ลองอาน (Long An) ที่อยู่ติดนครโฮจิมินห์ ปริมาณน้ำฝนวัดได้ต่ำกว่าปริมาณเมื่อปี 2540 ถึง 2.82 เมตร เป็นระดับต่ำสุดเท่าที่เคยบันทึกไว้ในท้องถิ่นนี้

สิ่งที่จะติดตามมาพร้อมๆ กับระดับน้ำที่ต่ำมากก็คือ น้ำเค็ม ที่จะแทรกขึ้นไปตามลำน้ำสายต่างๆ ทั้ง 9 สาขาในเขตที่ราบปากแม่น้ำโขง รวมทั้งที่อยู่สูงขึ้นไป คือ แม่น้ำโด่งนาย (Dong Nai) กับ แม่น้ำไซ่ง่อน ที่ไหลผ่าใจกลางนครโฮจิมินห์ด้วย
.
<FONT color=#00003>นักอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม กล่าวเตือนเช่นกันว่าการสร้างเขื่อนกั้นลำน้ำโขง หลายแห่งทั้งในลาวและในกัมพูชา เพื่อผลิตไฟฟ้า กำลังจะสร้างความเสียหายให้แก่ระบบแม่น้ำทั้งสาย ส่งผลกระทบต่อประชากรหลายสิบล้านคน ที่อาศัยทำกินและพึ่งพาน้ำจากแม่น้ำสายยาวนี้. -- สำนักงานคณะกรรมการแม่น้ำโขง. </b>
2
นักอุตุนิยมวิทยาฯ ได้เตือนให้ท้องถิ่นต่างๆ หาทางเก็บกักน้ำจืดไว้ใช้ และเตรียมรับมือภัยแล้ง เกษตรกรต้องเอาใจใส่ต่อพืชผลในเทือกไร่นาสวนของตน ระวังมิให้น้ำเค็มแทรกซึมเข้าไป ตลอดฤดูหนาว และฤดูใบไม้ผลิที่กำลังจะมาถึง ไปจนกระทั่งฤดูฝนปีหน้า เตื่อยแจ๋ กล่าว

สูงขึ้นไปในลาวซึ่งเป็นต้นทางของแม่น้ำโขงในอนุภูมิภาค กรมอุตุนิยมและอุทกศาสตร์ในนครเวียงจันทน์ ได้ออกเตือนทางการแขวงต่างๆ ทั้งในภาคกลาง และภาคใต้ ตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ให้เตรียมรับมือภัยแล้งอันเนื่องมาจากปรากฏการณ์เอลนิโญ ถึงแม้ว่าช่วงที่ผ่านมาจะเกิดอุทกภัยหลายแขวงก็ตาม แต่ก็เป็นปรากฏการณ์ระยะสั้นๆ ในปีที่เกิดเอลนิโญ

นายไมกอง พมมะวง อธิบดีกรมประทาน ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวสารปะเทดลาวในช่วงเดียวกันว่า ภัยแล้งกำลังคุกคามหนักในหลายพื้นที่ ตั้งแต่แขวงบอลิคำไซ คำม่วน และสะหวันนะเขต และได้เตือนให้ทางการท้องถิ่นแห่งต่างๆ เก็บกักน้ำในห้วยฝายชลประทาน และเตรียมรับมือภัยแล้งอย่างเป็นระบบ

หลายปีมานี้ นักอนุรักษ์ธรรมชาติและสภาพแวดล้อมได้เคลื่อนไหวแสดงความห่วงใยต่อการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้ากั้นลำน้ำโขงหลายแห่ง ที่กำลังดำเนินอยู่ในดินแดนลาวขณะนี้ โดยระบุว่าจะเป็นสาเหตุซ้ำเติม ทำให้เกิดความแห้งแล้งหนักในพื้นที่ใต้ลงไป ส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชากรหลายสิบล้านคนที่อาศัยทำกิน และพึ่งพาน้ำจากแม่น้ำสายหลัก รวมทั้งส่งผลกระทบต่อการแพร่พันธุ์ของปลานานาชนิดตลอดลำน้ำอีกด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น