xs
xsm
sm
md
lg

ต่างชาติวิตกความตึงเครียดทางศาสนาในพม่าก่อนการเลือกตั้งครั้งสำคัญ

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>พระพม่ายืนดูโปสเตอร์ที่จัดแสดงภาพความรุนแรงที่เกี่ยวข้องกับชาวมุสลิมทั่วโลก ระหว่างการเฉลิมฉลองขององค์กรมะบะธา (คณะกรรมการคุ้มครองเชื้อชาติและศาสนา) ที่วัดแห่งหนึ่งในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 14 ก.ย. กลุ่มพระสงฆ์ชาตินิยมได้จัดพิธีนาน 2 สัปดาห์ ทั่วประเทศเพื่อฉลองร่างกฎหมายที่ผ่านสภาเมื่อไม่นานนี้ และกลุ่มพระสงฆ์ชาตินิยมเหล่านี้ดำเนินกิจกรรมต่อต้านชาวมุสลิมเพิ่มมากขึ้นก่อนการเลือกตั้งครั้งสำคัญ ซึ่งหลายประเทศแสดงความวิตกว่าอาจนำมาซึ่งความขัดแย้งและการแบ่งแยก.--Agence France-Presse/ye Aung Thu.</font></b>

เอเอฟพี - สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และอีกหลายประเทศได้ออกคำแถลงระบุถึงความวิตกเกี่ยวกับความตึงเครียดทางศาสนาที่เพิ่มสูงขึ้นในพม่า ที่อาจก่อให้เกิดการแบ่งแยก และความขัดแย้งในขณะที่การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งเริ่มต้นขึ้น

พม่ากำลังมุ่งไปสู่การเลือกตั้งครั้งสำคัญในวันที่ 8 พ.ย. ที่หลายคนหวังว่า จะเป็นการเลือกตั้งที่เสรีที่สุดหลังการปกครองของทหารนานหลายทศวรรษสิ้นสุดลง โดยเป็นที่คาดกันอย่างกว้างขวางว่า พรรคฝ่ายค้านของอองซานซูจี จะได้เสียงสนับสนุนอย่างมากมาย

แต่ความตึงเครียดทางศาสนากำลังเพิ่มสูงขึ้นในประเทศที่ประชากรส่วนใหญนับถือศาสนาพุทธ ที่ได้เห็นความไม่สงบทางศาสนาเกิดขึ้นเป็นระยะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ และชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมกำลังเผชิญต่อการไม่มีส่วนร่วมทางการเมืองเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่อิทธิพลของพระสงฆ์ชาตินิยมขยายตัว

ในคำแถลงที่ออกหนึ่งวันหลังกลุ่มพระสงฆ์สายแข็งกร้าวเริ่มพิธีทั่วประเทศนาน 2 สัปดาห์ ที่เกิดขึ้นพร้อมๆ กับการเริ่มต้นการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง ซึ่งรัฐบาลต่างชาติได้เรียกร้องพม่าให้ส่งเสริมความอดกลั้น ความเคารพซึ่งกันและกัน และความเท่าเทียมภายใต้กฎหมายเพื่อให้แน่ใจว่าการเลือกตั้งเป็นไปอย่างสันติ และมีส่วมร่วมของทุกฝ่าย

“เรา ในฐานะคู่ค้าระหว่างประเทศได้ลงทุนในความสำเร็จของประเทศนี้ และการเลือกตั้งเหล่านี้มีความวิตกเกี่ยวกับความเจริญรุ่งเรืองของศาสนากำลังถูกใช้เป็นเครื่องมือของการแบ่งแยก และความขัดแย้งระหว่างการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง” คำแถลง ระบุ

คำแถลงฉบับดังกล่าวลงนามโดยสถานทูตออสเตรเลีย แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส นอร์เวย์ ญี่ปุ่น สวีเดน อังกฤษ และสหรัฐฯ

ความไม่สงบทางศาสนาได้บดบังความพยายามในการปฏิรูปของพม่าที่เริ่มขึ้นหลังหลุดพ้นจากการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารภายใต้การนำของรัฐบาลกึ่งพลเรือนที่เข้าบริหารประเทศในปี 2554

ชาติเผชิญต่อเหตุความรุนแรงต่อต้านมุสลิมที่ปะทุขึ้นตั้งแต่ปี 2555 อันเนื่องจากความไม่พอใจระหว่างชาวพุทธ และชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ ที่นำไปสู่เหตุนองเลือดจนทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 200 คน และอีกราว 140,000 คนต้องไร้ที่อยู่

เหตุไม่สงบแพร่ลุกลามกระจายไปทั่วประเทศ พร้อมกับการเพิ่มขึ้นของอิทธิพลของพระสงฆ์ชาตินิยม

ในเดือน มี.ค. ทางการพม่าได้เพิกถอนเอกสารประจำตัวชั่วคราว ความเคลื่อนไหวที่ส่งผลกระทบต่อชาวโรฮิงญาหลายแสนคน ส่งผลให้คนเหล่านี้ไร้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง หลังรัฐสภาห้ามบุคคลที่ไม่มีสถานะพลเมืองอย่างสมบูรณ์ลงคะแนนเสียง

ในขณะที่การเลือกตั้งใกล้เข้ามา ซูจี ได้กล่าวหาว่าฝ่ายตรงข้ามใช้ศาสนาต่อต้านพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) แต่ทั้งพรรคฝ่ายค้านของซูจี และพรรครัฐบาลต่างก็ไม่ได้เสนอชื่อผู้สมัครที่เป็นชาวมุสลิมลงรับเลือกตั้ง

เมื่อวันจันทร์ (14) พระสงฆ์หลายร้อยรูปได้รวมตัวกันในนครย่างกุ้งเพื่อเริ่มพิธีนาน 2 สัปดาห์ซึ่งจัดขึ้นทั่วพม่าเพื่อฉลองการผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองศาสนา 4 ฉบับ ที่รวมทั้งฉบับที่ห้ามการแต่งงานระหว่างศาสนา ซึ่งนักเคลื่อนไหวระบุว่า เป็นการเลือกปฏิบัติต่อสตรี และชนกลุ่มน้อยทางศาสนา.
กำลังโหลดความคิดเห็น