xs
xsm
sm
md
lg

กัมพูชาระบุไม่มีแผนจะรับผู้ลี้ภัยเพิ่มจากค่ายผู้อพยพของออสเตรเลีย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>รถตู้คันหนึ่งขับเข้าไปในบ้านพักที่เป็นที่อยู่อาศัยชั่วคราวสำหรับผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกจากศูนย์ควคุมตัวแปซิฟิกใต้ ในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. โดยผู้ลี้ภัยกลุ่มแรกภายใต้ข้อตกลงระหว่างออสเตรเลียและกัมพูชาเป็นชาวอิหร่าน 3 คน และชาวโรฮิงญา 1 คน.--Reuters/Samrang Pring.</font></b>

รอยเตอร์ - กัมพูชา ระบุวันนี้ (31) ว่า ไม่มีความประสงค์ที่จะรับผู้ลี้ภัยเพิ่มจากศูนย์ผู้อพยพในแปซิฟิกใต้ภายใต้ข้อตกลงกับออสเตรเลีย ข้อตกลงเกี่ยวกับการตั้งรกรากใหม่ให้แก่ผู้ลี้ภัยที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยกลุ่มสิทธิมนุษยชน

ออสเตรเลีย ให้คำมั่นว่าจะหยุดผู้แสวงหาที่พักพิงล่องเรือมาจากอินโดนีเซีย และศรีลังกา และขึ้นฝั่งออสเตรเลีย แทนการเข้าสกัดเรือ และส่งคนเหล่านั้นไปยังค่ายผู้อพยพในปาปัวนิวกินี และนาอูรู

ออสเตรเลีย และกัมพูชาตกลงกันเมื่อเดือน ก.ย.2557 ว่า ผู้ลี้ภัยบางส่วนจากนาอูรู จะเข้ามาตั้งถิ่นฐานใหม่ในกัมพูชา แลกต่อความช่วยเหลือจากออสเตรเลีย แต่จนถึงขณะนี้มีผู้ลี้ภัยเดินทางมากัมพูชาเพียง 4 คน เท่านั้น

“เราไม่มีแผนที่จะรับผู้ลี้ภัยจากนาอูรูเพิ่ม ด้วยสถานการณ์ของประเทศเราเช่นนี้เราไม่สามารถรับผู้ลี้ภัยได้เป็นร้อยเป็นพันคน ยิ่งรับน้อยยิ่งดีกว่า” โฆษกกระทรวงมหาดไทยของกัมพูชา กล่าว

จูเลีย บิชอป รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของออสเตรเลีย ปฏิเสธว่า ข้อตกลงดังกล่าวล้มเหลว

“กัมพูชามุ่งมั่นต่อการแก้ไขปัญหาระดับภูมิภาค และมุ่งมั่นผ่านบันทึกความเข้าใจกับรัฐบาลออสเตรเลียที่จะตั้งรกรากใหม่ให้แก่ผู้แสวงหาที่พักพิงที่พบว่า เป็นผู้ลี้ภัยโดยแท้จริง ข้อตกลงประสงค์ให้ใช้ประโยชน์จากทักษะของแรงงานต่างชาติ และด้วยหนทางนี้ พวกเขาสามารถตั้งรกรากใหม่ในกัมพูชา และช่วยกระตุ้น GDP ของกัมพูชา” บิชอป กล่าวต่อผู้สื่อข่าว

ส่วนหนึ่งของข้อตกลงที่ประกาศเมื่อปีก่อน กัมพูชาจะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมมูลค่า 28.56 ล้านดอลลาร์ โดยไม่คำนึงถึงจำนวนผู้ลี้ภัยที่เข้าอาศัยในกัมพูชา

กลุ่มสิทธิมนุษยชนประณามออสเตรเลียในความพยายามที่จะตั้งรกรากผู้ลี้ภัยในประเทศยากจน เช่น กัมพูชา ที่มักประสบปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน และเศรษฐกิจที่มีขนาดไม่ถึง 1% ของเศรษฐกิจออสเตรเลีย

โฆษกฝ่ายค้านของออสเตรเลียระบุว่า ข้อตกลงกับกัมพูชาเป็นเรื่องตลกที่มีราคาแพง

ชาวอิหร่าน 3 คน และโรฮิงญา 1 คน ที่เดินทางไปยังกัมพูชาเมื่อเดือน มิ.ย. ภายใต้แผนดังกล่าว ได้พักอาศัยอยู่ในวิลล่าในกรุงพนมเปญที่องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM) จัดหาให้ และออสเตรเลียเป็นผู้ให้ทุน

IOM ปฏิเสธที่จะแสดงความคิดเห็นถึงคำแถลงของรัฐบาลกัมพูชา โดยระบุว่า ผู้ลี้ภัยกำลังเรียนรู้ภาษา และวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่อง และขอความเป็นส่วนตัว

ปีเตอร์ ดัทตัน รัฐมนตรีกระทรวงตรวจคนเข้าเมืองของออสเตรเลีย ระบุว่า มีผู้ลี้ภัยอีกหลายคนในนาอูรู กำลังเตรียมพร้อมจะเดินทางไปกัมพูชา และออสเตรเลียกำลังทำงานในส่วนของรายละเอียดต่างๆ กับเจ้าหน้าที่.
กำลังโหลดความคิดเห็น