xs
xsm
sm
md
lg

ผู้ลี้ภัยชุดแรกจากศูนย์กักกันออสเตรเลียเดินทางถึงกัมพูชาแล้ว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ลี้ภัย (ซ้าย) จากเกาะนาอูรู ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกัมพูชาห้อมล้อมขณะเดินทางถึงสนามบินนานาชาติกรุงพนมเปญ วันที่ 4 มิ.ย. เจ้าหน้าที่สนามบินระบุว่าเครื่องบินที่มีผู้ลี้ภัย 4 คน จากศูนย์กักกันออสเตรเลียบนเกาะนาอูรู เดินทางถึงกัมพูชาแล้ววันนี้ ตามโครงการตั้งถิ่นฐานใหม่ที่สองประเทศลงนามข้อตกลงร่วมกัน.--Reuters/Samrang Pring.</font></b>

รอยเตอร์ - ผู้แสวงหาที่พักพิงชุดแรกจากศูนย์กักกันตัวในเกาะห่างไกลทางแปซิฟิกใต้ เดินทางถึงกัมพูชาในวันนี้ (4) ภายใต้โครงการตั้งถิ่นฐานใหม่ของออสเตรเลียที่เป็นข้อถกเถียงซึ่งนักวิจารณ์ระบุว่า เป็นการทิ้งผู้ลี้ภัย และเลี่ยงหน้าที่พันธกรณีระหว่างประเทศ

ชาวอิหร่าน 3 คน และโรฮิงญา 1 คน เป็นส่วนหนึ่งของผู้ที่ถูกควบคุมตัว 677 คน บนเกาะนาอูรู ซึ่งเดินทางมายังกัมพูชาตามข้อเสนอตั้งถิ่นฐานใหม่ที่มีขึ้นระหว่างสองประเทศเมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา รัฐบาลกัมพูชาจะได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมมูลค่า 40 ล้านดอลลาร์ ภายใต้ข้อตกลงการตั้งถิ่นฐานใหม่ที่ถูกกลุ่มสิทธิมนุษยชน และสมาชิกรัฐสภาฝ่ายค้านกล่าวประณาม ซึ่งออสเตรเลียนั้นล้มเหลวที่จะบรรลุข้อตกลงตั้งถิ่นฐานใหม่คล้ายกันนี้กับมาเลเซีย เมื่อศาลสูงออสเตรเลียระบุว่า ขัดรัฐธรรมนูญ

ออสเตรเลียได้ให้คำมั่นที่จะหยุดผู้ลี้ภัยที่ล่องเรือจากอินโดนีเซียเพื่อมาขึ้นฝั่งประเทศ ด้วยการเข้าสกัดเรือในทะเล และส่งผู้ลี้ภัยไปยังค่ายในปาปัวนิวกินี และนาอูรู ซึ่งผู้ลี้ภัยเหล่านี้มักถูกควบคุมตัวอยู่เป็นเวลานาน

เจ้าหน้าที่สนามบินยืนยันว่า เครื่องบินของสายการบินมาเลเซียที่มีผู้ลี้ภัยโดยสารมาด้วยนั้นลงจอดที่สนามบินกรุงพนมเปญ เมื่อช่วงสายของวันนี้ (4)

“เรายินดีต้อนรับพวกเขา และหวังให้พวกเขาโชคดีในประเทศของเรา เราเป็นประเทศที่ไม่เลือกปฏิบัติ และพวกเรารวมทั้งผู้ที่มาใหม่จะสร้างประเทศร่วมกัน” โฆษกรัฐบาลกัมพูชา กล่าว

กลุ่มสิทธิมนุษยชนได้กล่าวตำหนิรัฐบาลออสเตรเลียสำหรับความพยายามที่จะตั้งถิ่นฐานให้ผู้ลี้ภัยในประเทศยากจนกว่า เช่น กัมพูชา ประเทศที่มักถูกจับจ้องเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และเศรษฐกิจที่มีขนาดเล็กกว่าออสเตรเลีย

ฟิล โรเบิร์ตสัน รองผู้อำนวยการฮิวแมนไรท์วอช ภูมิภาคเอเชีย กล่าวว่า กัมพูชาเป็นหุ้นส่วนที่ไม่เหมาะสมสำหรับการตั้งถิ่นฐานใหม่ ดังที่เห็นได้จากการส่งกลับผู้ลี้ภัยจากเวียดนาม และว่าผู้ลี้ภัย 4 คนนี้เป็นหนูทดลองของออสเตรเลีย ด้วยความจริงที่ว่ากัมพูชานั้นยังไม่พร้อมรับผู้ลี้ภัยอื่นๆ

“เป็นเวลา 9 เดือนนับตั้งแต่ลงนามข้อตกลงระหว่างออสเตรเลีย-กัมพูชาลงนาม สถานการณ์ของผู้ลี้ภัย และความเป็นอยู่ของผู้แสวงหาที่พักพิงในกัมพูชายังไม่ดีขึ้นเลย” ฟิล โรเบิร์ตสัน กล่าว

ออสเตรเลีย พยายามที่จะโน้มน้าวผู้ลี้ภัยให้สมัครใจตั้งถิ่นฐานใหม่ในกัมพูชา ทั้งการเสนอเงินสด และแจกแผ่นพับชักชวนที่น่าดึงดูดใจ เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย เบียร์ และบุหรี่ราคาถูก ขณะที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่กัมพูชาก็ไม่มีโชคเช่นกัน ดังจดหมายที่รั่วมาจากซา เค็ง รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า ไม่มีใครสนใจจุดจัดแสดงของกัมพูชาที่จัดขึ้นในนาอูรู.
กำลังโหลดความคิดเห็น