xs
xsm
sm
md
lg

มาเลย์-อินโดฯ แถลงเลิกผลักดันเรือผู้อพยพ ให้ที่พัก 1 ปี รอกลับบ้าน หรือตั้งถิ่นฐานใหม่

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>รัฐมนตรีต่างประเทศมาเลเซียอานิฟา อามาน (ขวา) จับมือ รมว.ต่างประเทศอินโดนีเซีย นางเรตโน มาร์สุดี พร้อม พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาปกร รมว.ต่างประเทศของไทย ถ่ายภาพร่วมกัน ภายหลังการพบหารือสามฝ่ายในวันพุธ 20 พ.ค.นี้ ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ เพื่อหาทางแก้ไขปัญหาผู้อพยพผิดกฎหมายชาวโรฮิงยาและชาวบังกลาเทศ. -- Agence France-Presse/Manan Vatsayayana. </b>

เอเอฟพี - มาเลเซีย และอินโดนีเซียระบุวันนี้ (20) ว่า จะไม่ผลักดันเรือผู้อพยพอีก ในการตอบสนองต่อแรงกดดันจากประชาคมระหว่างประเทศ ด้วยการเสนอที่จะรับคลื่นมนุษย์เรือไว้ในประเทศที่พวกเขาจะไปตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศที่สาม หรือกลับประเทศต้นทางภายในระยะเวลา 1 ปี

มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย ได้จุดกระแสความไม่พอใจอันเนื่องจากการป้องกันเรือที่อัดแน่นไปด้วยผู้อพยพจากบังกลาเทศ และชนกลุ่มน้อยโรฮิงญาจากพม่าไม่ให้ขึ้นฝั่งประเทศ

“การลากเรือ และการผลักดันเรือจะไม่เกิดขึ้นอีก” นายอานิฟา อามาน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย กล่าวในการแถลงข่าวร่วมกับ นางเรตโน่ มาร์ซูดี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย หลังการหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว

“เราเห็นพ้องกันที่จะจัดหาที่พักชั่วคราวให้ผู้อพยพ ที่กระบวนการตั้งถิ่นฐาน และการส่งกลับจะเสร็จสิ้นภายใน 1 ปี โดยประชาคมระหว่างประเทศ” อานิฟา กล่าว

การหารือในมาเลเซียครั้งนี้ยังรวมทั้ง พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย แต่ไม่ได้อยู่ร่วมในการแถลงข่าว

อานิฟา กล่าวว่า ฝ่ายไทยงดเข้าร่วมในข้อเสนอ โดยระบุว่า ต้องกลับไปตรวจสอบกับรัฐบาลก่อน

“ในเวลานี้ มาเลเซีย และอินโดนีเซียขอเชิญให้ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเข้าร่วมในความพยายามครั้งนี้” อานิฟา กล่าว

ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้อพยพราว 3,000 คน ได้ว่ายขึ้นฝั่ง หรือได้รับการช่วยเหลือนอกชายฝั่งมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย หลังการปราบปรามของไทยทำให้ผู้ค้ามนุษย์ทิ้งเหยื่อไว้กลางทะเล

อานิฟา กล่าวว่า หน่วยข่าวกรองของมาเลเซียประเมินว่า จำนวนคนที่ยังติดอยู่กลางทะเลมีประมาณ 7,000 คน และข้อเสนอที่พักนี้มีให้เฉพาะต่อคนที่อยู่ในทะเลตอนนี้เท่านั้น

ในช่วงเช้าวันนี้ (20) มีผู้อพยพอีก 433 คน ได้รับการช่วยเหลือนอกชายฝั่งอินโดนีเซีย ชาวประมงท้องถิ่นที่ช่วยชีวิตผู้อพยพไว้ระบุว่า หลายคนอยู่ในสภาพเลวร้ายจากความทุกข์ยากกลางทะเล และบางส่วนเสียชีวิตจากความอดอยาก

พม่าเองก็อยู่ภายใต้แรงกดดันในการช่วยสกัดกั้นการไหลออกของชาวมุสลิมโรฮิงญาที่หลบหนีออกจากรัฐยะไข่ ที่ตกอยู่ในความรุนแรง และการเลือกปฏิบัติจากชาวพุทธมาเป็นเวลาหลายปี ซึ่งส่วนใหญ่มุ่งหน้าไปยังมาเลเซีย ประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม

สื่อทางการพม่ารายงานอ้างคำแถลงของกระทรวงการต่างประเทศว่า รัฐบาลมีความวิตกร่วมกับประชาคมระหว่างประเทศเกี่ยวกับปัญหาผู้อพยพ และพม่าพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อผู้ที่ทุกข์ทรมานอยู่ในทะเล.
.
<br><FONT color=#000033>นางเรตโน่ มาร์ซูดี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย (ซ้าย) และนายอานิฟา อามาน รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศมาเลเซีย (ขวา) แถลงข่าวร่วมกันหลังการหารือประเด็นความเคลื่อนไหวที่ผิดปกติของผู้คนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กระทรวงการต่างประเทศ เมืองปุตราจายา วันที่ 20 พ.ค.--Agence France-Presse/Manan Vatsyayana.</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น