xs
xsm
sm
md
lg

ชมภาพชุด .. รัสเซียส่งเรือพิฆาต “มือปราบเรือดำน้ำ” เยือนเวียดนาม

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เรือแอดมิรัลแพนเทเลเยฟ (Admiral Panteleyev) สังกัดกองทัพเรือแปซิฟิก จากเมืองวลาดิวอสตอก ขณะเตรียมจะทอดสมอที่ท่าเตี่ยนซา (Tien Sa) นครด่าหนัง วันที่ 31 ก.ค.2558 สำหรับการเยือนสันถวไมตรีเวียดนามเป็นเวลา 3 วัน พ้อมเรือทักโบ๊ตแบบ SB-522 อีก 1 ลำ และ เรือเพนเชกา (Penchega) ซึ่งเป็นเรือเติมเชื้อเพลิง เรือลำนี้ไม่ใช่ คนแปลกหน้า ในเวียดนาม แต่เคยไปเยือนหลายครั้ง และ ในยุคสงครามเย็น ที่นี่ก็เคยเป็นเสมือนบ้านแห่งที่สองอีกด้วย. --  Agence France-Presse/Vietnam News Agency. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เรือพิฆาต “แอดมิรัล แพนเทเลเยฟ” (Admiral Panteleyev) กองทัพเรือรัสเซีย ได้ไปเยือนเวียดนามโดยแวะจอดที่ท่าเรือเตี่ยนซา (Tien Sa) นครด่าหนัง อันเป็นเมืองท่าที่เจ้าภาพใช้ต้อนรับการไปเยือนเรือรบของมิตรประเทศทุกลำอย่างเท่าเทียมกันในช่วงหลายปีมานี้ รวมทั้งเรือรบจากกองทัพเรือที่ 7 ของสหรัฐฯ ด้วย

เมื่อไปถึงตอนเช้าวันที่ 31 ก.ค. กัปตันพร้อมลูกเรือแพนเทเลเยฟ ซึ่งประกอบด้วย นายทหารเรือกับลูกเรือ จำนวน 482 คน ได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากประธานคณะกรรมประชาชนนครด่าหนัง และผู้บัญชาการกองทัพเรือเขต 3 ผู้แทนจากกองทัพเรือเวียดนาม ตลอดจนสถานกงสุลใหญ่สหพันธรัฐรัสเซีย สื่อออนไลน์ภาษาเวียดนามรายงาน

เรือแพนเทเลเยฟ เจ้าของฉายา “มือปราบเรือดำน้ำ” ใม่ใช่ “คนแปลกหน้า” ในเวียดนาม หากประจำในกองทัพเรือแปซิฟิกมาตั้งแต่ครั้งที่รัสเซีย ยังเป็นหนึ่งในบรรดาสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพโซเวียต และฐานทัพเรืออ่าวกามแรง (Cam Ranh) เมื่อก่อนก็เคยเป็นบ้านอีกแห่งหนึ่งของเรือพิฆาตลำนี้ เรือแพนเทเลเยฟ อยู่เยือนเวียดนามจนถึงวันอาทิตย์ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา

การเยือนของเรือแพนเทเลเยฟในปีนี้ ยังมีขึ้นในขณะที่รัสเซี่ยเพิ่มแสนยานุภาพ ซึ่งรวมทั้งเรือรบกับเรือดำน้ำลำใหม่อีกจำนวนหนึ่งในกองเรือแปซิฟิก ในความพยายามที่จะกลับคืนสู่ท้องทะเลที่เคยเป็นถิ่นเก่าในยุคสงครามเย็น เมื่อครั้งอาณาจักรโซเวียตเฟื่องฟูสุดขีด นอกจากนั้น ก็ยังมีขึ้นในขณะที่การฝึกซ้อมทางเรือครั้งใหญ่ที่สุดระหว่างรัสเซียกับจีน กำลังจะเริ่มขึ้นในทะเลจีนตะวันออกเร็วๆ นี้

เรือแพนเทเลเยฟ เป็นหนึ่งในบรรดาเรือพิฆาตชั้นอูดาลอย (Udaloy Class) จำนวน 8 ลำ ที่ยังเหลืออยู่ในกองทัพเรือรัสเซีย (รวมทั้งเรือชั้นอูดาลอย 2 หรือ Class II อีก 1 ลำ ซึ่งประจำการในกองทัพเรือภาคเหนือ) ในนั้นมี 3 ลำ ประจำกองทัพเรือแปซิฟิกของรัสเซีย ที่ฐานทัพเรือวลาดิวอสตอกปัจจุบัน

ต่อออกมาทั้งหมด 12 ลำ ระหว่างปี 2523 จนถึงปี 2534 ก่อนสหภาพโซเวียตจะล่มสลาย ในนั้นถูกไฟไหม้ไป 2 ลำ และปลดระวางประจำการไปอีก 4 ลำ ด้วยหลากหลายสาเหตุ และมีอยู่ 1 ลำถูกนำกลับคืนมาใช้อีกหลังปลดระวางเพียงข้ามปี

โซเวียต ต่อเรือพิฆาตชั้นอูดาลอยออกมาเพื่อภารกิจปราบเรือดำน้ำเป็นหลัก ลำหลังๆ เน้นการต่อสู้อากาศยานมากขึ้น จึงติดระบบอาวุธนำวิถีมากมายหลายรุ่น พร้อมตอร์ปิโด ปืนใหญ่ กับปืนยิงเร็วระยะประชิด และยังบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ขนส่ง/ค้นหา/ปราบเรือดำน้ำแบบ Ka-27 อีก 2 ลำ พร้อมโรงเก็บอยู่ด้านท้ายเรือ นับเป็นเรือรบที่มีอันตรายรอบตัวอีกชั้นหนึ่งของค่ายนี้
.
<bR><FONT color=#000033>เรือแพนเทเลเยฟ พร้อมนายทหารเรือกับลูกเรือจำนวน 482 นาย ขณะทอดสมอที่บริเวณท่าเรือเตี่ยนซา นครด่าหนัง ตอนเช้าวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา เจ้าบ้านได้จัดท่าเรือแห่งนี้เป็นอีกแห่งหนึ่ง ไว้ต้อนรับเรือรบจากมิตรประเทศอย่างเท่าเทียมกัน รวมทั้งเรือกองทัพเรือสหรัฐด้วย เรือพิฆาตชั้นอูดาลอย (Udaloy-Class) ลำนี้ ไปเยือนเวียดนามขณะที่รัสเซียกับจีน กำลังจะเริ่มฝึกซ้อมทางเรือครั้งใหญ่ที่สุดในอีกไม่นาน.  --  Agence France-Presse/Vietnam News Agency. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>นาวาเอก เอวี โปตาปอฟ (AV Potapov) - คนแรกขวามือ -  ผู้บังคับการเรือ ได้รับการต้อนรับจากผู้บัญชาการกองทัพเรือเขต 3 เวียดนาม พร้อมเจ้าหน้าที่จากสถานทูตรัสเซียจากกรุงฮานอย และ จากสถานกงสุลใหญ่รัสเซียครด่าหนัง ในพิธีตอนเช้าวันที่ 31 ก.ค. ที่ผ่านมา เรือแพนเทเลเยฟ จากกองทัพเรือแปซิฟิก เมืองวลาดิวอสตอก เยือนสันถวไมตรีเวียดนามจนถึงวันอาทิตย์ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา. --  Agence France-Presse/Vietnam News Agency. </b>
3
เรือชั้นอูดาลอย มีขนาด 6,900 ตัน เป็นมาตรฐาน ยาว 163 เมตร แต่ขนาดเล็กกว่าเรือพิฆาตชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก (Arleigh Burke-Class) ของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ซึ่งแม้จะยาวเพียง 154-155 เมตร แต่มีระวางตั้งแต่ 8,300 ตันใน “ไฟลต์ 1” ขึ้นไปจนถึง 9,200 และ 9,800 ตันใน “ไฟลต์ 2A” และ “ไฟลต์ 3” ตามลำดับ

ข้อมูลของสำนักข่าวกลาโหม ที่เปรียบเทียบเรือพิฆาตชั้นอูดาลอย กับเรือชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก ของกองทัพเรือสหรัฐฯ บ่งชี้ว่า เรือของโซเวียต/รัสเซีย ถูกออกแบบมาให้ทำความเร็วได้สูงกว่า และ ปฏิบัติการได้ไกลกว่าเรือสหรัฐฯ

เรือชั้นอูดาลอยเล็กกว่า แต่ติดเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ของ COGAG จำนวน 4 เครื่อง ให้กำลังทั้งหมด 120,000 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุดได้ 35 นอต หรือ 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และมีระยะปฏิบัติการถึง 19,400 กิโลเมตร ต่อการเติมเชื้อเพลิง 1 ครั้ง

ส่วนเรือชั้นอาร์ลีห์เบิร์ก ที่ใหญ่กว่า ติดเครื่องยนต์แก๊สเทอร์ไบน์ของเจเนอรัลอีเล็กทริก 4 เครื่อง รีดพลังได้ 106,000 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุดได้ “30 นอต+” หรือกว่า 55.5 กม./ชม. และระยะทำการเพียง 8,100 กม. ที่ความเร็ว 37 กม./ชม.

อย่างไรก็ตาม เรือของสหรัฐฯ ติดอาวุธมากกว่า รวมทั้งระบบอาวุธปราบเรือดำน้ำด้วย แต่มุ่งภารกิจยิงโจมตีทำลายเรือผิวน้ำเป็นหลัก รวมทั้งยิงโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินที่อยู่ห่างออกไปหลายร้อย กม. ด้วยจรวดโทมาฮอว์ก

เรือรบของสหรัฐฯ ได้พิสูจน์ความเป็นเลิศให้เห็นตลอดมา ทั้งในสงครามอ่าวเปอร์เซีย ตะวันออกกลาง และในแอฟริกาเหนือ ขณะที่เรือของโซเวียตยังไม่มีโอกาส และได้แสดงความสามารถให้เห็นเพียงแค่ในการซ้อมรบเท่านั้น.
.

ถิ่นเก่าทะเลจีนใต้ เหงือยเดือตินออนไลน์

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13
กำลังโหลดความคิดเห็น