กองทัพเรือเผยแพร่เอกสารชี้แจงโครงการจัดหาเรือดำน้ำตามที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมให้ พล.ร.อ.ไกรสร จันทร์สุวานิชย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ สร้างการรับรู้เพิ่มเติม ก่อนจะเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี
เอกสารชี้แจงของกองทัพเรือมีความยาว 9 หน้า สรุปเหตุผลความจำเป็นและความรอบคอบในการจัดหาเรือดำน้ำรุ่น เอส 26 ที จากจีน 3 ลำ มูลค่า 36,000 ล้านบาท 5 ประเด็น ตั้งแต่ความเป็นมาในการจัดหาเรือดำน้ำที่อยู่ในกรอบแนวคิดของกองทัพเรือมากว่า 100 ปี พร้อมย้ำความจำเป็นต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อรักษาดุลกำลังทางเรือในภูมิภาค และต้องเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2558 เพราะการต่อเรือและฝึกกำลังพลใช้เวลา 7-10 ปี ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่มีเรือดำน้ำประจำการแล้ว ทำให้มีขีดความสามารถเหนือกว่ากองทัพเรือไทยล่วงหน้า 8-10 ปี
กองทัพเรือยังเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการจัดหาเรือดำน้ำมูลค่า 36,000 ล้านบาท อายุการใช้งานกว่า 30 ปี กับการดูแลผลประโยชน์ทางทะเลมูลค่า 24 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งประเทศไทยอยู่ในเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สำคัญ หากในอนาคตเกิดปัญหาปิดล้อมพื้นที่หรือข้อพิพาทในพื้นที่ใดย่อมส่งผลกระทบต่อไทย ดังนั้น เรือดำน้ำจะช่วยสร้างความมั่นใจได้ เนื่องจากมิติใต้น้ำจะต้องใช้เรือดำน้ำปราบเรือดำน้ำเท่านั้น โดยในยามปกติเรือดำน้ำก็จะทำหน้าที่ป้องปราม
นอกจากนี้ ได้ยืนยันถึงความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งระดับความลึกเฉลี่ยในอ่าวไทย 50 เมตร ไม่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติการของเรือดำน้ำ เพราะเรือดำน้ำสมัยใหม่มีอุปกรณ์รักษาความลึกอัตโนมัติ และการปฏิบัติการในเขตน้ำตื้นถือเป็นเรื่องปกติของเรือดำน้ำ
กองทัพเรือยังย้ำว่าเหตุผลการเลือกจัดหาเรือดำน้ำจากจีนหลังเปรียบเทียบข้อเสนอจาก 6 ประเทศ เนื่องจากจีนเป็นประเทศเดียวที่เสนอขายให้ไทย 3 ลำ แต่ประเทศอื่นเสนอขายให้ 2 ลำในราคาเดียวกัน และยังติดตั้งระบบอาวุธ พร้อมระบบเอไอพี ทำให้ปฏิบัติงานใต้น้ำได้นาน และสนับสนุนอะไหล่ 8 ปี โดยเป็นการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ ผ่อนชำระ 7-10 ปี หรือปีละ 3,000-5,000 ล้านบาท โดยจัดสรรจากงบประมาณของกองทัพเรือตามปกติ
“หากรัฐบาลไม่อนุมัติโครงการจัดหาเรือดำน้ำในครั้งนี้ กองทัพเรือก็ต้องพัฒนากองทัพเรือด้วยงบประมาณก้อนนี้อยู่ดี แต่เปลี่ยนเป็นการจัดหายุทโธปกรณ์ประเภทอื่นแทน เช่น เรือฟริเกต หรือ อากาศยานปราบเรือดำน้ำแทนเป็นต้นซึ่งก็ไม่สามารถทำให้กองทัพเรือบรรลุภารกิจที่สมบูรณ์ได้อยู่ดีเพราะไม่มียุทโธปกรณ์ใด สามารถมาทำงานแทนที่เรือดำน้ำได้ดังนั้นโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือครั้งนี้ ถือว่าเป็นความจำเป็นจริงๆเพื่อผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงทางทะเลอย่างแท้จริง และคุ้มค่าเงินที่สุดจากเหตุผลความจำเป็นที่กล่าวมาทั้งหมด
กองทัพเรือ ขอยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเรือดำน้ำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ด้วยการเพิ่มศักยภาพของกำลังทางเรือของกองทัพเรือให้ทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาดุลกำลังทางเรือในภูมิภาคให้มีความสมดุล”
เอกสารชี้แจงของกองทัพเรือมีความยาว 9 หน้า สรุปเหตุผลความจำเป็นและความรอบคอบในการจัดหาเรือดำน้ำรุ่น เอส 26 ที จากจีน 3 ลำ มูลค่า 36,000 ล้านบาท 5 ประเด็น ตั้งแต่ความเป็นมาในการจัดหาเรือดำน้ำที่อยู่ในกรอบแนวคิดของกองทัพเรือมากว่า 100 ปี พร้อมย้ำความจำเป็นต่อสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อรักษาดุลกำลังทางเรือในภูมิภาค และต้องเริ่มโครงการตั้งแต่ปี 2558 เพราะการต่อเรือและฝึกกำลังพลใช้เวลา 7-10 ปี ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่มีเรือดำน้ำประจำการแล้ว ทำให้มีขีดความสามารถเหนือกว่ากองทัพเรือไทยล่วงหน้า 8-10 ปี
กองทัพเรือยังเปรียบเทียบความคุ้มค่าในการจัดหาเรือดำน้ำมูลค่า 36,000 ล้านบาท อายุการใช้งานกว่า 30 ปี กับการดูแลผลประโยชน์ทางทะเลมูลค่า 24 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งประเทศไทยอยู่ในเส้นทางคมนาคมทางทะเลที่สำคัญ หากในอนาคตเกิดปัญหาปิดล้อมพื้นที่หรือข้อพิพาทในพื้นที่ใดย่อมส่งผลกระทบต่อไทย ดังนั้น เรือดำน้ำจะช่วยสร้างความมั่นใจได้ เนื่องจากมิติใต้น้ำจะต้องใช้เรือดำน้ำปราบเรือดำน้ำเท่านั้น โดยในยามปกติเรือดำน้ำก็จะทำหน้าที่ป้องปราม
นอกจากนี้ ได้ยืนยันถึงความเหมาะสมทางภูมิศาสตร์ที่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ซึ่งระดับความลึกเฉลี่ยในอ่าวไทย 50 เมตร ไม่เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติการของเรือดำน้ำ เพราะเรือดำน้ำสมัยใหม่มีอุปกรณ์รักษาความลึกอัตโนมัติ และการปฏิบัติการในเขตน้ำตื้นถือเป็นเรื่องปกติของเรือดำน้ำ
กองทัพเรือยังย้ำว่าเหตุผลการเลือกจัดหาเรือดำน้ำจากจีนหลังเปรียบเทียบข้อเสนอจาก 6 ประเทศ เนื่องจากจีนเป็นประเทศเดียวที่เสนอขายให้ไทย 3 ลำ แต่ประเทศอื่นเสนอขายให้ 2 ลำในราคาเดียวกัน และยังติดตั้งระบบอาวุธ พร้อมระบบเอไอพี ทำให้ปฏิบัติงานใต้น้ำได้นาน และสนับสนุนอะไหล่ 8 ปี โดยเป็นการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ ผ่อนชำระ 7-10 ปี หรือปีละ 3,000-5,000 ล้านบาท โดยจัดสรรจากงบประมาณของกองทัพเรือตามปกติ
“หากรัฐบาลไม่อนุมัติโครงการจัดหาเรือดำน้ำในครั้งนี้ กองทัพเรือก็ต้องพัฒนากองทัพเรือด้วยงบประมาณก้อนนี้อยู่ดี แต่เปลี่ยนเป็นการจัดหายุทโธปกรณ์ประเภทอื่นแทน เช่น เรือฟริเกต หรือ อากาศยานปราบเรือดำน้ำแทนเป็นต้นซึ่งก็ไม่สามารถทำให้กองทัพเรือบรรลุภารกิจที่สมบูรณ์ได้อยู่ดีเพราะไม่มียุทโธปกรณ์ใด สามารถมาทำงานแทนที่เรือดำน้ำได้ดังนั้นโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกองทัพเรือครั้งนี้ ถือว่าเป็นความจำเป็นจริงๆเพื่อผลประโยชน์ของชาติและความมั่นคงทางทะเลอย่างแท้จริง และคุ้มค่าเงินที่สุดจากเหตุผลความจำเป็นที่กล่าวมาทั้งหมด
กองทัพเรือ ขอยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องจัดหาเรือดำน้ำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ด้วยการเพิ่มศักยภาพของกำลังทางเรือของกองทัพเรือให้ทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน และรักษาดุลกำลังทางเรือในภูมิภาคให้มีความสมดุล”