xs
xsm
sm
md
lg

ทูตพิเศษสหประชาชาติเชื่อมั่นทางการพม่าจะคุ้มครองความปลอดภัยระหว่างเยือนครั้งหน้า

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ยางฮี ลี ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนในพม่า (กลาง) เดินทางถึงค่ายผู้ผลัดถิ่นภายในประเทศ (IDP) ในเมืองสิตตะเว เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2557 ในรายงานที่ยื่นต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหลังจากเยือนพม่าในเดือนก.ค. ลีระบุว่า ไม่พบความก้าวหน้าในประเด็นสิทธิมนุษยชนของชาวมุสลิมโรฮิงญา ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้กับชาวพม่าโดยเฉพาะพระวิระธู ที่ออกมาโจมตีผู้แทนจากสหประชาชาติรายนี้.-- Agence France-Presse/STR.</font></b>

รอยเตอร์ - ยางฮี ลี ผู้สืบสวนด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ระบุว่า ตนเองคาดหวังว่าทางการพม่าจะรับประกันความปลอดภัย แม้ทางการพม่าล้มเหลวที่จะตำหนิพระสงฆ์หัวรุนแรงซึ่งเรียกเธอว่าโสเภณี และยังปลุกปั่นให้ผู้นับถือต่อต้านเธอด้วย

ยางฮี ลี ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนในพม่า ได้สร้างความไม่พอใจให้รัฐบาลพม่า จากการวิพากษ์วิจารณ์การจำกัดเสรีภาพทางการเมือง และจากการเรียกร้องสิทธิพลเมืองให้แก่ชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมโรฮิงญา ในรัฐยะไข่ ซึ่งทำให้เธอกลายเป็นบุคคลที่ถูกเกลียดชังในหมู่พระสงฆ์นำโดยพระวิระธู ที่กล่าวประณามยางฮี ลี ว่า เป็นโสเภณี ในการชุมนุมเมื่อเดือน ม.ค. ที่ผ่านมา

หลังจากลี ยื่นรายงานฉบับล่าสุดต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในเจนีวา เมื่อสัปดาห์ก่อน พระวิระธู ได้โพสต์ตอบโต้ข่มขู่บนหน้าเพจเฟซบุ๊กของตัวเอง

“ถึงผู้รักชาติที่รัก ช่วยกันหาวิธีที่จะสอนบทเรียนให้แก่หญิงชั่วร้าย” ข้อความที่พระวิระธู โพสต์บนเฟซบุ๊ก ซึ่งสำนักงานสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติแปลออกมา

รูเพิร์ต โคลวิลล์ โฆษกของซีด ราอัด อัล ฮุสเซน ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า อัลฮุสเซน มองว่าข้อความดังกล่าวเป็นการยั่วยุปลุกปั่นให้เกิดความรุนแรง และต้องการที่จะย้ำว่าสิ่งนี้เป็นความรับผิดชอบอย่างแท้จริงของรัฐบาลพม่าที่จะจัดการต่อภัยคุกคามความรุนแรง และการยั่วยุปลุกปั่น และเพื่อรับประกันความปลอดภัยของผู้แทนพิเศษในระหว่างการเดินทางเยือนพม่า

ลี กล่าวต่อผู้สื่อข่าวว่า มีความเป็นไปได้อย่างมากว่าความปลอดภัยของเธอนั้นอาจเป็นอันตราย

“ฉันเชื่อมั่นในรัฐบาลพม่าว่า พวกเขาจะเห็นว่าความปลอดภัยของฉัน และความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ในทีมเป็นความสำคัญสูงสุดของพวกเขา แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มีใครทำอะไรบ้าๆ ได้ อย่างไรก็ตาม ฉันก็รู้สึกผิดหวังที่รัฐบาลไม่แยกตัวเองออกจากความเห็นเหล่านี้ และยังกล่าวโทษฉันที่เดินทางออกจากพม่า พร้อมกับความไม่ไว้ใจ ความบาดหมาง และการยุยง” ลี กล่าว

ภายใต้กฎหมายพม่า คำขวัญ หรือโลโก้ที่ใช้ในการชุมนุมประท้วงใดๆ ก็ตามจะต้องแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ล่วงหน้า ซึ่งลี ระบุว่า นั่นทำให้รัฐบาลสามารถป้องกันการกล่าวสุนทรพจน์ที่เป็นการปลุกระดมของพระวิระธูได้

พระวิระธู ถูกจำคุกนาน 25 ปี ในปี 2546 ฐานแจกจ่ายใบปลิวต่อต้านชาวมุสลิมที่ยั่วยุให้เกิดความไม่สงบระหว่างชุมชน ที่ทำให้กลุ่มชาวพุทธสังหารชาวมุสลิมไปอย่างน้อย 10 คน แต่ได้รับการปล่อยตัวในปี 2554 ระหว่างการอภัยโทษนักโทษการเมือง.
กำลังโหลดความคิดเห็น