xs
xsm
sm
md
lg

พม่าประกาศ “บัตรขาว” หมดอายุสิ้นเดือน มี.ค. หลังประชาชนรวมตัวประท้วง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้ชุมนุมถือป้ายประท้วงเดินขบวนต้านกฎหมายให้สิทธิลงคะแนนเสียงแก่พลเมืองชั่วคราวของพม่า ในนครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 11 ก.พ. แต่ไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ประธานาธิบดีเต็งเส่งประกาศว่าบัตรขาว หรือ บัตรประชาชนชั่วคราวจะใช้การไม่ได้ตั้งแต่ปลายเดือนมี.ค. นี้ ทำให้ผู้ที่ถือบัตรดังกล่าว รวมทั้งชาวโรฮิงญา ไม่มีสิทธิลงคะแนนเสียงในการลงประชามติ.--Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอพี - ประธานาธิบดีพม่า ประกาศวานนี้ (11) ว่า ระบบบัตรประชาชนชั่วคราวสำหรับผู้ที่ต้องการสิทธิพลเมืองนั้นจะใช้การไม่ได้ตั้งแต่วันที่ 31 มี.ค. นี้ ลบล้างการตัดสินใจก่อนหน้าที่จะอนุญาตให้ผู้ที่ถือบัตรดังกล่าวลงคะแนนเสียงในการลงประชามติรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้น

การประกาศของประธานาธิบดีเต็งเส่ง มีขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังชาวพม่าหลายร้อยคนชุมนุมประท้วงในนครย่างกุ้ง ต่อต้านการอนุญาตให้ผู้ที่มิใช่พลเมืองซึ่งถือบัตรดังกล่าวรวมทั้งชาวโรฮิงญา เข้าร่วมในการลงประชามติ

ชาวมุสลิมโรฮิงญาส่วนใหญ่ไม่ได้เป็นพลเมืองพม่า และความอคติต่อคนกลุ่มนี้มีสูงในประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ความตึงเครียดระหว่างชุมชนได้นำไปสู่ความรุนแรงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ที่ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตอย่างน้อย 280 คน และผู้ไร้บ้านอีกกว่า 140,000 คน มุสลิมส่วนใหญ่จำกัดขอบเขตอยู่ในค่ายเสื่อมโทรมในรัฐยะไข่ ทางภาคตะวันตกของประเทศ

ผู้ชุมนุมประท้วงราว 300 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธยะไข่ และพระสงฆ์อย่างน้อย 70 รูป

ความเคลื่อนไหวของประธานาธิบดีเต็งเส่ง มีขึ้นอย่างน่าตกใจ และรายละเอียดยังคงไม่ชัดเจน รวมทั้งเหตุผลของการตัดสินใจที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันนี้ ด้านผู้อำนวยการสำนักงานประธานาธิบดีระบุบนเฟซบุ๊กว่ าประกาศดังกล่าวส่งผลให้สิทธิในการลงคะแนนเสียงของผู้ถือบัตรประชาชนชั่วคราวนั้นสิ้นสุดลงโดยอัตโนมัติ

บัตรประชาชนชั่วคราว หรือที่นิยมเรียกว่า “บัตรขาว” มีขึ้นในสมัยการปกครองของรัฐบาลเผด็จการทหารสำหรับการเลือกตั้งในปี 2553 ผู้ถือบัตรขาวคือ ผู้ที่อยู่ในกระบวนการยื่นขอสิทธิความเป็นพลเมือง ซึ่งนอกจากชาวโรฮิงญาแล้ว ยังรวมถึงสมาชิกของชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์ เช่น ชาวโกก้าง ว้า และคนเชื้อสายจีน และอินเดีย.
กำลังโหลดความคิดเห็น