xs
xsm
sm
md
lg

ความตึงเครียดทวีคูณในค่ายโรฮิงญา หลังรัฐบาลพม่ามีแผนยกเลิกบัตรขาว

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ผู้หญิงและเด็กชาวโรฮิงญาในค่ายผู้พลัดถิ่นภายในประเทศ นอกเมืองซิตตะเว ส่วนหนึ่งของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการตัดสินใจของรัฐบาลพม่าที่จะยกเลิกบัตรขาวของชนกลุ่มน้อยในวันที่ 31 พ.ค.นี้-- Reuters/Minzayar.</font></b>

รอยเตอร์ - การตัดสินใจของรัฐบาลพม่าที่จะยกเลิกบัตรประจำตัวประชาชนชั่วคราวของชนกลุ่มน้อย เพิ่มความตึงเครียดในหมู่ชาวมุสลิมโรฮิงญา 1.1 ล้านคนของประเทศ ที่ถูกถอดสิทธิเลือกตั้งเพียงไม่กี่วันหลังรัฐสภาอนุมัติกฎหมายยืนยันสิทธิในการลงคะแนนเสียงในการลงประชามติ

เมื่อสัปดาห์ก่อน รัฐบาลพม่าประกาศว่าบัตรประชาชนชั่วคราว หรือบัตรขาว จะยกเลิกในวันที่ 31 พ.ค.นี้ ซึ่งผู้ที่ถือบัตรดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา ที่หลายคนมองว่าคนกลุ่มนี้เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

ในหมู่บ้านประมงแห่งหนึ่งทางภาคตะวันตกของพม่า ห่างจากเมืองซิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ เพียง 15 นาที หากเดินทางด้วยรถ ที่มีชาวโรฮิงญาหลายพันคนเข้ามาตั้งรกราก พบว่าการตัดสินใจของรัฐบาลทำให้คนในหมู่บ้านนี้เกิดความรู้สึกผสมปนเปกัน ทั้งต่อต้าน ไม่ไว้ใจ และยอมรับสภาพ

“หากรัฐบาลต้องการบัตรขาวของฉัน ฉันจะทำอะไรได้ คงทำได้แค่ให้บัตรเขาไป” มินารา แม่บ้านอายุ 23 ปี กล่าว

โมฮัมหมัด อายับ อายุ 28 ปี ระบุว่า จะยอมให้บัตรขาวต่อเมื่อเขาได้สิทธิพลเมืองเหมือนชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์อื่นๆ

ความรุนแรงระหว่างชาวโรฮิงญา และชาวพุทธยะไข่ในปี 2555 ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปอย่างน้อย 200 คน และมีผู้ไร้ที่อยู่ราว 140,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา

ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า แผนของรัฐบาลอาจส่งผลให้เกิดความรุนแรงครั้งใหม่

“ไม่มีแนวโน้มว่าผู้ที่ถือบัตรขาวในค่ายผู้ไร้ที่อยู่จะยอมคืนให้ด้วยความสมัครใจ เมื่อไม่มีความชัดเจนว่าพวกเขาจะได้บัตรประชาชนในรูปแบบใดก็ตามคืนกลับมา ความพยายามใดๆ ก็ตามที่จะบังคับให้ยอมคืนบัตรอาจจุดชนวนความรุนแรง” ริชาร์ด ฮอร์ซีย์ นักวิเคราะห์การเมืองอิสระในนครย่างกุ้ง กล่าว

นอกจากสิทธิในการลงคะแนนเสียงแล้ว บัตรขาวยังทำให้ชาวโรฮิงญาสามารถใช้บริการทางการแพทย์ และการศึกษา แต่ก็อยู่ภายใต้ข้อจำกัดเข้มงวด โดยผู้ถือบัตรขาวไม่สามารถทำงานในอาชีพข้าราชการพลเรือน และการศึกษาในบางหลักสูตร
<br><FONT color=#000033>ผู้ชุมนุมถือป้ายประท้วงต่อต้านกฎหมายมอบสิทธิลงคะแนนเสียงให้กับพลเมืองชั่วคราวของพม่าในเมืองซิตตะเว เมื่อวันที่ 15 ก.พ. ผู้ชุนนุมหลายร้อยคนรวมทั้งพระสงฆ์จัดชุมนุมประท้วงต่อต้านการตัดสินใจของรัฐสภาที่จะอนุญาตให้ผู้ที่ถือบัตรประชาชนชั่วคราว หรือ บัตรขาว มีสิทธิลงคะแนนเสียงในการลงประชามติที่กำลังจะมีขึ้น.-- Agence France-Presse.</font></b>
รัฐสภาพม่า มีมติเมื่อต้นเดือนที่จะมอบสิทธิการลงคะแนนเสียงให้แก่ผู้ถือบัตรขาวในการลงประชามติรัฐธรรมนูญ ที่เป็นการปูทางสำหรับการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในช่วงปลายปี

แต่ชาวพุทธได้ชุมนุมประท้วงต่อต้านแผนดังกล่าวในนครย่างกุ้ง โดยระบุว่า ผู้ถือบัตรขาวจำนวนมากเป็นคนต่างด้าวผิดกฎหมาย และไม่นานหลังจากการประท้วง รัฐบาลก็ประกาศว่าจะยกเลิกบัตรขาว

รัฐบาลระบุเมื่อวันที่ 11 ก.พ. ว่า บัตรขาวจะถูกยกเลิกในลักษณะที่เป็นธรรม และโปร่งใสโดยเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น แต่ไม่ได้อธิบายว่าจะมีสิ่งใดทดแทนหรือไม่

โครงการนำร่องตรวจสอบการเป็นพลเมืองของชาวโรฮิงญา และชาวมุสลิมอื่นๆ ต้องสะดุดลงจากการคัดค้านของชาวยะไข่ และการยืนยันของรัฐบาลที่ให้ชาวโรฮิงญาระบุตัวเองว่า เป็นชาวเบงกาลี

ชาวโรฮิงญา ปฏิเสธการนิยามดังกล่าว เพราะเป็นการชี้ว่าพวกเขาเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ ทั้งที่หลายคนใช้ชีวิตอยู่ในพม่ามาแล้วหลายชั่วอายุคน

ด้านชาวพุทธยะไข่ ก็ยังไม่ไว้วางใจรัฐบาลเช่นกัน โดยเมื่อวันอาทิตย์ (15) ชาวพุทธยะไข่ได้จัดชุมนุมประท้วงในเมืองซิตตะเว มีพระสงฆ์หลายร้อยรูปเป็นแกนนำ ฝูงชนต่างชูป้ายที่มีข้อความว่า “ไม่ยอมรับบัตรขาว” และร้องตะโกนร้องว่า “คนที่ปล่อยให้ชาวต่างชาติลงคะแนนเสียงถือเป็นศัตรูของเรา”

ซา ตุน อู อายุ 75 ปี อดีตนักธุรกิจที่เข้าร่วมการประท้วง ระบุว่า ยังไม่เชื่อว่าบัตรขาวจะถูกยกเลิก และรัฐบาลกำลังโกหก ขณะที่ผู้ร่วมชุมนุมประท้วงอีกคนเชื่อว่า ชาวโรฮิงญาอาจเสียบัตร แต่ก็อาจยังมีสิทธิลงคะแนนเสียงอยู่.
กำลังโหลดความคิดเห็น