xs
xsm
sm
md
lg

ชาวพม่านับพันรวมตัวประท้วงผู้แทนพิเศษสหประชาชาติเดินทางเยือน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มปี 2557 ยางฮี ลี ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติประจำพม่า ขณะแถลงข่าวสรุปการเดินทางเยือนพม่าอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปีก่อน ที่สนามบินในนครย่างกุ้ง.--Photo/Alex Bookbinder/DVB.</font></b>

เอเอฟพี - ผู้ชุมนุมชาวพม่านับพันคนรวมตัวอยู่ด้านนอกสนามบินในเมืองทางภาคตะวันตกของประเทศวันนี้ (8) เพื่อประท้วงต่อต้านการเดินทางเยือนของผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ

ยางฮี ลี ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนประจำพม่า มีกำหนดเดินทางถึงเมืองซิตตะเว เมืองเอกของรัฐยะไข่ ที่เกิดเหตุความรุนแรงทางศาสนาระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมโรฮิงญาในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

ในเดือน ส.ค.2556 ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติคนก่อน จำต้องยกเลิกแผนที่จะเดินทางเยี่ยมชาวโรฮิงญาไร้ที่อยู่อันเนื่องจากเหตุรุนแรงต่อต้านมุสลิมในเมืองเมะทีลา (Meiktila) ทางภาคกลางของพม่า เมื่อขบวนรถของผู้แทนถูกกลุ่มม็อบที่โกรธแค้นเข้าโจมตี

การเยือนของลี ในครั้งนี้ มีขึ้นไม่กี่วันหลังจากสหประชาชาติเรียกร้องให้พม่ามอบสถานะพลเมืองให้แก่ชนกลุ่มน้อยกลุ่มนี้ ซึ่งทางการพม่ามองว่า เป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ และได้จำกัดความเคลื่อนไหว การแต่งงาน และโอกาสทางเศรษฐกิจ

“ชาวบ้านราว 1,000 คน รวมตัวกันตั้งแต่เช้าเพื่อประท้วงต่อต้านผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ เราจะดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยเต็มที่เมื่อผู้แทนเดินทางมาถึง” เจ้าหน้าที่ตำรวจเมืองซิตตะเว กล่าว

ชาวโรฮิงญาหลายพันคนต้องหลบหนีออกจากยะไข่ตั้งแต่เกิดเหตุปะทะกันระหว่างชาวโรฮิงญากับชาวพุทธในพื้นที่ตั้งแต่ปี 2555 ที่เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตราว 200 คน และอีกราว 140,000 คน กลายเป็นผู้ไร้บ้าน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮิงญา และการอพยพของผู้คนเป็นจำนวนมากที่ส่วนใหญ่มุ่งหน้าไปยังประเทศมาเลเซีย ผ่านทางทะเล หลายคนต้องตกอยู่ในมือของขบวนการค้ามนุษย์

ยางฮี ลี เดินทางถึงพม่าตั้งแต่วันอังคาร (6) ในการเดินทางเยือนนาน 10 วัน เพื่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งที่มาโดยตรงเกี่ยวกับสถานการณ์สิทธิมนุษยชนในปัจจุบันในรัฐยะไข่ รวมทั้งรัฐกะฉิ่น ทางภาคเหนือ

รัฐกะฉิ่น เป็นรัฐที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ ก็ประสบกับภาวะสงครามกลางเมืองยาวนานในการต่อสู้ระหว่างกองกำลังทหาร และกลุ่มติดอาวุธชาติพันธุ์ ที่ส่งผลให้ผู้คนราว 100,000 คน ต้องหลบหนีออกจากที่อยู่ของตัวเองนับตั้งแต่การหยุดยิง 17 ปี ยุติลงในปี 2554.
กำลังโหลดความคิดเห็น