xs
xsm
sm
md
lg

สหประชาชาติเตือนพม่าอาจเกิดการแบ่งแยกเชื้อชาติอย่างถาวรในรัฐยะไข่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ยังฮี ลี ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างการแถลงข่าวที่สนามบินนานาชาตินครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 26 ก.ค.--Associated Press/Khin Maung Win.</font></b>

เอเอฟพี - แผนของพม่าสำหรับอนาคตของพื้นที่ทางภาคตะวันตกที่แตกแยกเพราะเหตุความไม่สงบระหว่างชาวพุทธ และมุสลิม อาจส่งผลให้เกิดการแบ่งแยกเชื้อชาติอย่างถาวรของกลุ่มศาสนา 2 กลุ่ม ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติเตือนวานนี้ (26)

ยังฮี ลี (Yanghee Lee) ทูตด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติต่อพม่า กล่าวว่า สถานการณ์ในค่ายผู้ไร้ที่อยู่อาศัยในรัฐยะไข่ น่าเวทนาอย่างยิ่ง อันเนื่องจากเหตุปะทะรุนแรงเมื่อ 2 ปีก่อนที่ทำให้มีผู้ไร้ที่อยู่ถึง 140,000 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมโรฮิงญา

ในการกล่าวสรุปการเยือนพม่าอย่างเป็นทางการครั้งแรก ลี เตือนว่าแผนของรัฐบาลเพื่อความสงบสุขในระยะยาวอาจมีแนวโน้มที่จะส่งผลในการแบ่งแยกเชื้อชาติอย่างถาวรของสองชุมชน

“ด้วยเป็นความสำคัญอย่างเร่งด่วน ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องทำเพื่อลดความตึงเครียด และความเกลียดชัง และส่งเสริมความปรองดองระหว่างสองชุมชน” ลี กล่าว

ทูตสหประชาชาติ ยังแสดงความยินดีต่อความเคลื่อนไหวของทางการพม่าในสัปดาห์นี้ที่เชื้อเชิญองค์การแพทย์ไร้พรมแดน (MSF) ที่ให้บริการทางการแพทย์ต่อประชาชนมากกว่า 500,000 คน ให้กลับเข้ามาทำงานในรัฐยะไข่ ขณะเดียวกัน ก็ได้เน้นย้ำถึงความปลอดภัยของเจ้าหน้าหากกลับเข้าทำงาน

รัฐยะไข่ ตกอยู่ในภาวะวิกฤตทางสุขภาพอย่างรุนแรงเกือบ 5 เดือน นับจากที่กลุ่มบรรเทาทุกข์ทางการแพทย์กลุ่มนี้ถูกรัฐบาลขับออกจากพื้นที่

ความรุนแรงระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมปะทุขึ้นในรัฐยะไข่ ในปี 2555 ทำให้ประชาชนเสียชีวิตไปราว 200 คน

รัฐยะไข่ เกือบแบ่งแยกอย่างเด็ดขาดจากประเด็นทางศาสนา ชุมชนชาวมุสลิมติดอยู่ในค่ายพักแรม หรือในชุมชนที่โดดเดี่ยว และถูกจำกัดความเคลื่อนไหว และการเข้าถึงบริการพื้นฐาน รวมทั้งการจ้างงาน

รัฐบาลพม่าพิจารณาให้ชาวโรฮิงญาเป็นชาวต่างชาติ ขณะที่พลเมืองจำนวนมากมองชาวโรฮิงญาเป็นผู้อพยพผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ และมองว่าคนเหล่านี้เป็นศัตรู

ลี ได้เตือนถึงความวิตกว่าขั้วความต่างระหว่างชุมชนชาวพุทธ และมุสลิมจะขยายตัวมากยิ่งขึ้น จากการแพร่กระจายถ้อยคำที่สร้างความเกลียดชัง และการยั่วยุให้เกิดความรุนแรง การเลือกปฏิบัติ และความเป็นศัตรู ในสื่อ และบนอินเทอร์เน็ต

ทูตสหประชาชาติผู้นี้ยังได้เดินทางไปเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 ของพม่า ที่เพิ่งเกิดเหตุความไม่สงบทางศาสนา จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน เข้าพบกับ นางอองซานซูจี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน และหารือกับเจ้าหน้าที่รัฐในกรุงเนปีดอ พร้อมทั้งเรียกร้องมาตรการในการปราบปรามการยั่วยุปลุกปั่น.
กำลังโหลดความคิดเห็น