xs
xsm
sm
md
lg

ทูตสหประชาชาติวิตกเหตุทำร้ายและสังหารในรัฐยะไข่ของพม่า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> นายโทมัส โอเจีย ควินตานา ทูตด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างแถลงข่าวที่สนามบินนานาชาตินครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2557.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - การขาดแคลนน้ำดื่ม และการรักษาทางการแพทย์อย่างฉับพลันในพื้นที่ภาคตะวันตกของพม่า หลังเกิดเหตุโจมตีกลุ่มบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม กลายเป็นความยากลำบากล่าสุดที่เกิดขึ้นต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา ที่อาจกลายเป็นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ผู้เชี่ยวชาญของสหประชาชาติเผยวานนี้ (7)

นายโทมัส โอเจีย ควินตานา ทูตด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติประจำพม่า กล่าวว่า การโจมตีหน่วยงานให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ได้ขัดขวางการให้ความช่วยเหลือด้านสาธารณสุข น้ำ และอาหารต่อชาวโรฮิงญา

“เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่นานนี้ในรัฐยะไข่ นับเป็นเหตุล่าสุดในประวัติศาสตร์อันยาวนานของการเลือกปฏิบัติ และการทำร้ายต่อชุมชนโรฮิงญา ที่อาจกลายเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” นายควินตานา ระบุในคำแถลงฉบับหนึ่ง

เจ้าหน้าที่ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์มากกว่า 170 คน ต้องถอนตัวออกจากพื้นที่จากผลของความไม่สงบเมื่อเดือนที่ผ่านมา ที่นับเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่เหล่านี้ต้องอพยพออกจากพื้นที่ทั้งหมด และต่างหวั่นวิตกว่าสิ่งปลูกสร้างบรรเทาทุกข์จะได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง

การอพยพเจ้าหน้าที่ยังส่งผลกระทบอย่างหนักต่อสถานการณ์ด้านสุขภาพของผู้ที่พึ่งพาความช่วยเหลือจากต่างชาติหลายแสนคน โดยเป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในค่ายพักชั่วคราว 140,000 คน และผู้ที่อาศัยอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ ที่ได้รับผลกระทบรุนแรงอีกมากกว่า 700,000 คน

ควินตานา กล่าวว่า เสบียงน้ำดื่มในค่ายพักบางแห่งที่ผู้อาศัยส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม อาจมีปริมาณอยู่ในระดับวิกฤตภายในช่วงสัปดาห์ และเรียกร้องให้ทางการดำเนินการมากขึ้นเพื่อความปลอดภัยของบุคลากรด้านมนุษยธรรม

ความเกลียดชังยาวนานระหว่างชาวพุทธ และมุสลิมในรัฐยะไข่ปะทุขึ้นจนเป็นเหตุนองเลือดในปี 2555 ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายสิบคนในเหตุปะทะหลายระลอก และความตึงเครียดพุ่งสูงสุดเมื่อทางการจัดสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกในรอบ 3 ทศวรรษ ที่จุดชนวนความโกรธแค้นในกลุ่มชาวพุทธซึ่งมองว่าการสำรวจสำมะโนประชากรนำไปสู่การรับรองชาวโรฮิงญาอย่างเป็นทางการ

ควินตานา กล่าวว่า การตัดสินใจของรัฐบาลที่ไม่อนุญาตโรฮิงญาลงทะเบียนเป็นชนกลุ่มน้อยในสำมะโนประชากร หมายความว่า การนับจำนวนประชากรไม่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล พร้อมกันนี้ นายควินตานา ยังเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขการเลือกปฏิบัติ และความเป็นคนชายขอบของชาวโรฮิงญาอย่างเป็นระบบ ในรายงานล่าสุดเกี่ยวกับพม่า

ด้านรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ ทวีตข้อความในวันจันทร์ว่า ได้เรียกทูตพม่าเข้าพบเพื่อแสดงความคิดเห็นกังวลเกี่ยวกับการเข้าถึงความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการจัดทำการสำรวจสำมะโนประชากรในรัฐยะไข่

ชาวมุสลิมโรฮิงญาในรัฐยะไข่ดำเนินชีวิตอยู่ในข้อจำกัดหลายอย่าง ตั้งแต่ความเคลื่อนไหว การจ้างงาน ไปจนถึงการแต่งงาน และในบางพื้นที่ยังจำกัดขนาดครอบครัวด้วย.
กำลังโหลดความคิดเห็น