xs
xsm
sm
md
lg

ภาวะขาดแคลนอาหารในพม่าเริ่มเผยให้เห็น หลังเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์อพยพออกจากรัฐยะไข่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ชายชาวมุสลิมขนกระสอบข้าวบนรถสามล้อเพื่อนำไปขายที่ตลาดในหมู่บ้านแห่งหนึ่งชานเมืองซิตตะเว รัฐยะไข่ ทางตะวันตกของพม่า ในวันที่ 1 เม.ย. ผู้ด้อยโอกาสหลายพันคนในรัฐยะไข่ใกล้จะขาดแคลนอาหารและน้ำสะอาด เมื่อกลุ่มบรรเทาทุกข์ต่างชาติถูกบังคับให้ต้องหลบหนีออกจากพื้นที่หลังเกิดเหตุความรุนแรงระลอกใหม่.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - ผู้ด้อยโอกาสหลายพันคนในรัฐทางตะวันตกของพม่า ใกล้ขาดแคลนอาหาร และน้ำสะอาดเข้าไปทุกที เมื่อกลุ่มช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ต้องหลบหนีออกจากพื้นที่หลังเกิดเหตุความรุนแรง

ผู้ไร้ที่อยู่จำนวนมากที่ส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิมโรฮิงญา ซึ่งอาศัยอยู่ในค่ายพักชั่วคราวในรัฐยะไข่นั้น ต้องพึ่งพาความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม แต่ความช่วยเหลือดังกล่าวต้องยุติลง หลังเกิดเหตุโจมตีที่ไม่คาดคิดกับหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์เหล่านี้

“เราวิตกอย่างมากต่อผลกระทบที่มีต่อภารกิจด้านมนุษยธรรม เราทำงานทั้งวันทั้งคืนเพื่อเร่งหาทางแก้ไขในระยะสั้นไม่ให้ประชาชนต้องขาดแคลนอาหาร และน้ำดื่ม” ปิแอร์ เปรอง โฆษกสำนักงานผู้ประสานงานกิจการด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติ กล่าว

นายเปรอง ระบุว่า น้ำดื่มสำรองสำหรับประชาชน 18,000 คน ในค่ายที่พัก 2 แห่ง ในเมืองป๊อกตอ อยู่ในระดับวิกฤต แต่เจ้าหน้าที่พยายามที่จะใช้เรือของรัฐจัดส่งเสบียงเข้าไป แต่การบริการด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีฉุกเฉินนั้นได้รับผลกระทบอย่างหนัก

ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่ที่ทำงานด้านมนุษยธรรมต่างกลัวว่า จะถูกขัดขวางในการจัดหาเสบียงที่จำเป็น และการให้บริการทางสาธารณสุขต่อประชาชนกว่า 170,000 คน ตามค่ายพักแรมต่างๆ และหมู่บ้านห่างไกลรอบเมืองซิตตะเว

“การไม่มีทั้งน้ำ และอาหาร จะยิ่งเพิ่มความตึงเครียดขึ้นเป็น 2 เท่า ไม่เพียงเกิดขึ้นระหว่างชุมชนต่อชุมชนเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นภายในชุมชนนั้นๆ ด้วย” เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ชาวต่างชาติอีกคนหนึ่งกล่าว
<br><FONT color=#000033> ชายชาวพม่ายืนอยู่ข้างซากข้าวของที่เสียหายของสำนักงานองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐในเมืองซิตตะเว เมื่อวันที่ 28 มี.ค. กลุ่มม็อบชาวพุทธที่โกรธแค้นได้เข้าทำลายและรื้อค้นสำนักงาน ทรัพย์สิน และคลังสินค้าของหน่วยงานบรรเทาทุกข์ต่างชาติที่ตั้งอยู่ในรัฐยะไข่ หลังกล่าวหาเจ้าหน้าที่หญิงชาวอเมริกันรายหนึ่งจัดการกับธงศาสนาด้วยท่าทางที่ไม่เคารพ และกล่าวหาว่าหน่วยงานเหล่านี้ลำเอียงเข้าข้างโรฮิงญา .-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>
<br><FONT color=#000033> สภาพความเสียหายในคลังสินค้าที่เก็บสิ่งของบรรเทาทุกข์ของ UNHCR ในเมืองซิตตะเว รัฐยะไข่ วันที่ 28 มี.ค.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>
<br><FONT color=#000033> เจ้าหน้าที่ NGO เดินทางถึงสนามบินย่างกุ้ง หลังอพยพออกจากเมืองซิตตะเว เพราะเกิดเหตุม็อบชาวพุทธเข้าโจมตีสำนักงานช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ต่างชาติ.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>
กลุ่มบรรเทาทุกข์ระหว่างประเทศถูกกดดันจากชาวพุทธท้องถิ่นซึ่งกล่าวหาว่าพวกเขาลำเอียงเข้าข้างชาวมุสลิม และนับเป็นครั้งแรกที่กลุ่มบรรเทาทุกข์เหล่านี้ถูกบังคับให้ออกจากรัฐยะไข่ทั้งหมด

เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานบรรเทาทุกข์ต้องเผชิญกับภัยคุกคาม และชาวพุทธยังรณรงค์ให้คนท้องถิ่นหยุดให้ความร่วมมือกับพวกเขา

เจ้าหน้าที่รายหนึ่งกล่าวว่า รายชื่อหน่วยงานต่างชาติที่ทำงานในรัฐยะไข่ปรากฏอยู่บนสื่อสังคมออนไลน์ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับพนักงาน รวมทั้งที่อยู่บ้านพัก สำนักงาน และคลังสินค้า หรือแม้แต่รายชื่อผู้จัดหาเสบียงในท้องถิ่น เจ้าของที่ดิน และคนขับรถ ก็ถูกเผยแพร่เช่นกัน

“เราอยู่ในสถานการณ์ที่เราคาดว่าคงไม่มีใครจะให้พวกเราเช่าสำนักงาน เช่ารถ หรือขายอะไรให้พวกเราอีก” เจ้าหน้าที่อีกคนหนึ่งกล่าว และให้ข้อมูลเพิ่มว่า เรือที่ใช้ส่งสิ่งของบรรเทาทุกข์ให้แก่ค่ายพักแรมก็ถูกทำลาย ส่วนฤดูฝนที่กำลังจะมีถึงยิ่งเพิ่มความวิตกกังวลเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรค

ความรุนแรงในรัฐยะไข่ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อน เมื่อชาวพุทธกล่าวหาว่า เจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ชาวอเมริกัน จัดการกับธงศาสนาพุทธด้วยลักษณะที่ไม่ให้ความเคารพ

กลุ่มม็อบที่โกรธแค้นเข้าทำลายรื้อค้นสำนักงาน ทรัพย์สิน และคลังสินค้าของกลุ่มช่วยเหลือต่างชาติ ทำให้พนักงานหลายสิบชีวิตต้องอยู่ในความคุ้มครองของเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ในเหตุความรุนแรงครั้งนี้ มีเด็กหญิงอายุ 11 ปี ถูกกระสุนลูกหลงเสียชีวิต เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจยิงปืนเตือนหลายนัดเพื่อสลายฝูงชน

นายบัน คี-มูน เลขาธิการสหประชาชาติ เรียกร้องการปกป้องคุ้มครองพลเรือน และการเคารพต่อกฎหมายอย่างเต็มที่ ในระหว่างกาพูดคุยทางโทรศัพท์กับประธานาธิบดีเต็งเส่ง เมื่อวันอาทิตย์ (30)

ความตึงเครียดในรัฐยะไข่เพิ่มสูงเมื่อการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งแรกในรอบ 3 ทศวรรษของพม่าได้จุดชนวนความไม่พอใจให้แก่กลุ่มชาวพุทธที่มองว่าการสำรวจสำมะโนประชากรครั้งนี้อาจนำไปสู่การรับรองชาวโรฮิงญา.
กำลังโหลดความคิดเห็น