xs
xsm
sm
md
lg

นักเคลื่อนไหวชาวพม่ารณรงค์ต่อต้าน “การใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง” ในย่างกุ้ง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> นักเคลื่อนไหวต่อต้านการใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง (ขวา) แจกสติ๊กเกอร์รณรงค์ให้กับผู้ที่สัญจรไปมาบนถนนสายหนึ่งในนครย่างกุ้ง วันที่ 4 เม.ย.-- Agence France-Presse/Soe Than Win .</font></b>

เอเอฟพี - นักเคลื่อนไหวหลายสิบคน ออกรณรงค์ตามท้องถนนในนครย่างกุ้ง เมื่อวันศุกร์ (4) ต่อต้านการใช้ถ้อยคำสร้างความเกลียดชังในประเทศที่แตกแยกจากเหตุความรุนแรงระหว่างศาสนา และการลุกฮือของกระแสชาตินิยมชาวพุทธ

บรรดาอาสาสมัครเรียกร้องให้ผู้ที่สัญจรผ่านไปมาช่วยกันส่งเสริมความสามัคคีของสังคมในชาติ ที่หลังจากปี 2555 เกิดเหตุความไม่สงบต่อต้านชาวมุสลิม จนเป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก และประชาชนหลายหมื่นคนต้องไร้ที่อยู่อาศัย

สติกเกอร์รณรงค์ที่ติดอยู่ตามที่ต่างๆ สื่อสารกับผู้ที่พบเห็นว่า ให้ระวังถ้อยคำเพื่อไม่ให้ความเกลียดชังระหว่างผู้คนแพร่ขยายออกไป

คำพูดวิจารณ์ทางศาสนาอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วบนสื่อสังคมออนไลน์ พร้อมๆ กับเหตุนองเลือด ขณะที่พระสงฆ์หัวรุนแรงถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้กระพือความเกลียดชัง ด้วยการรณรงค์คว่ำบาตรกิจการของชาวมุสลิม และข้อห้ามการแต่งงานระหว่างผู้นับถือต่างศาสนา

“มีการใช้คำพูดสร้างความเกลียดชังเกิดขึ้นมากมายในประเทศของเรา เราไม่ต้องการให้เป็นอย่างนั้น เราต้องการที่จะกำจัดมันให้หมดไป” นักรณรงค์ อายุ 28 ปี กล่าว หลังจากติดสติกเกอร์รณรงค์บนรถแท็กซี่ และรถโดยสารในนครย่างกุ้ง

พม่าที่หลุดพ้นจากการปกครองระบอบเผด็จการทหารเมื่อปี 2554 แต่ความผ่อนคลายจากการควบคุมอันเข้มงวดภายใต้การบริหารของรัฐบาลกึ่งพลเรือนชุดใหม่ก็เป็นการเปิดทางให้เกิดเหตุความไม่สงบระหว่างชุมชน

เมื่อสัปดาห์ก่อน ความตึงเครียดในรัฐยะไข่เกิดปะทุขึ้นกลายเป็นเหตุจลาจลเมื่อม็อบชาวพุทธเข้าโจมตีกลุ่มบรรเทาทุกข์ต่างชาติ ที่ถูกกล่าวหาว่าลำเอียงเข้าข้างชาวมุสลิม

“ผมพบว่ามีบางคนเขียนข้อความเช่น ชาวต่างชาติเป็นพวกหยิ่งยโสสมควรถูกฆ่า ความคิดจิตใจของผู้คนจะค่อยๆ ถูกกัดเซาะ หากพวกเขายังเห็นถ้อยคำเกลียดชังที่อันตรายเหล่านี้” บล็อกเกอร์และอดีตนักโทษการเมือง ที่ช่วยเหลือจัดโครงการรณรงค์ครั้งนี้กล่าว และระบุเพิ่มเติมว่า หากถ้อยคำเหล่านี้ถูกเผยแพร่โดยพระสงฆ์ หรือรัฐมนตรีจะยิ่งเป็นอันตรายมากขึ้นไปอีก

บล็อกเกอร์ผู้นี้ยังกล่าวว่า การรณรงค์ครั้งนี้ยังเรียกร้องให้ประชาชนช่วยแจ้งหากพบเห็นข้อความถ้อยคำเกลียดชังบนเฟซบุ๊ก เพื่อที่จะได้รายงาน และลบข้อความเหล่านั้นออก

การเคลื่อนไหวครั้งนี้นับเป็นเสียงของประชาชนที่หาได้ยากในการต่อต้านความรุนแรง และการใช้ถ้อยคำแสดงความเกลียดชังที่แพร่ขยายมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดเหตุรุนแรงระหว่างศาสนา 2 ระลอกในรัฐยะไข่ เมื่อปี 2555 ที่จุดชนวนให้เกิดความรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมไปทั่วประเทศ.
<br><FONT color=#000033>สติ๊กเกอร์ต่อต้านถ้อยคำสร้างความเกลียดชัง ถูกติดอยู่บนเสาไฟฟ้าต้นหนึ่ง บนถนนในนครย่างกุ้ง.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น