xs
xsm
sm
md
lg

ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติด้านสิทธิมนุษยชนชี้พม่ากำลังก้าวไปสู่ความขัดแย้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพแฟ้มเอเอฟพีเดือนก.ค.2557 ยางฮี ลี ผู้แทนพิเศษของสหประชาชาติ ด้านสิทธิมนุษยชนในพม่าขณะแถลงข่าวในสนามบินนครย่างกุ้ง รายงานของยางฮี ลี ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระบุว่า พม่ากำลังก้าวไปสู่ความขัดแย้ง ไม่เป็นไปตามคำมั่นที่จะปกป้องสิทธิมนุษยชน หลังเดินทางเยือนพม่าครั้งล่าสุดพบว่าไม่มีความคืบหน้าในประเด็นของชาวมุสลิมโรฮิงญา รวมทั้งยังพบว่าความตึงเครียดทางเชื้อชาติมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลังพม่าร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเปลี่ยนศาสนา และทางการประกาศยกเลิกบัตรประชาชนชั่วคราวที่เป็นการตัดสิทธิการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและการลงประชามติที่กำลังจะมีขึ้นเร็วๆ นี้.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

รอยเตอร์ - พม่ากำลังก้าวไปสู่ความขัดแย้งเมื่อรัฐบาลไม่ปฏิบัติตามดังคำมั่นที่ระบุจะปกป้องสิทธิมนุษยชน และความกลัว ความไม่เชื่อใจ และความเกลียดชังก็แพร่ลามไปทั่ว ผู้สืบสวนของสหประชาชาติ กล่าวในรายงานที่เผยแพร่วานนี้ (9)

ยางฮี ลี ผู้แทนพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนประจำพม่าของสหประชาชาติ ระบุว่า “ไม่มีความคืบหน้า” สำหรับชาวมุสลิมโรฮิงญา นับตั้งแต่การเดินทางเยือนพม่าในเดือน ก.ค. เพื่อสืบสวนข้อกล่าวหาเกี่ยวกับการปฏิบัติไม่ดีของชาวพุทธในรัฐยะไข่ต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา

ลี ยังพบ “บรรยากาศของความกลัว ความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ และความเกลียดชังแพร่ลาม” ระหว่างการเยือนพม่าครั้งล่าสุดในเดือน ม.ค. ที่ลีถูกพระสงฆ์หัวรุนแรงของพม่าประณามว่าเป็นโสเภณีอีกด้วย นอกจากนั้น ยังพบกับสภาพอันเลวร้ายของค่ายพักแรมสำหรับชาวมุสลิมโรฮิงญาที่ถูกควบคุมตัวด้วยเหตุผลเพื่อความปลอดภัย

“หลายคนบอกต่อผู้แทนพิเศษว่า พวกเขามี 2 ทางเลือก คือ จะอยู่ และตาย หรือหนีออกไปทางเรือ” รายงานต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระบุ

การละเมิดสิทธิมนุษยชนในรัฐยะไข่ ก่อให้เกิดผลกระทบเป็นลูกโซ่ขึ้นในภูมิภาค ที่ผู้คนถูกลักลอบ หรือค้ามนุษย์ไปยังไทย หรือมาเลเซีย

ชนกลุ่มน้อยไร้รัฐส่วนใหญ่มีแนวโน้มที่จะเป็นผู้สูญเสียหลักอันเนื่องจากกฎหมายฉบับใหม่ที่ริเริ่มขึ้นโดยพรรคแห่งชาติยะไข่ นอกจากนั้น ศาลรัฐธรรมนูญพม่ายังกำจัดสิทธิการลงคะแนนเสียงในการลงประชามติรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีขึ้นต่อผู้ที่ถือบัตรประชาชนชั่วคราว ตามที่ประธานาธิบดีเต็งเส่ง ได้กล่าวว่าบัตรเหล่านั้นจะหมดอายุในเดือนนี้

ลี กล่าวว่า นี่เป็นการก้าวถอยหลังของการปฏิรูป และเรียกร้องให้ทุกคนที่อาศัยอยู่ตามปกติในพม่าสามารถลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง และการทำประชามติได้

“รัฐบาลควรมุ่งสร้างประชากร รวมทั้งเยาวชน และสตรี เพื่อรับประกันว่าคนรุ่นใหม่จะสามารถทำงานร่วมกันเพื่อสร้างประเทศที่เจริญรุ่งเรือง และมีเสถียรภาพ และมุ่งไปในเส้นทางตรงข้ามกับปัจจุบันที่กำลังมุ่งไปสู่ความเป็นชาตินิยมสุดโต่ง ความเกลียดชังทางศาสนา และความขัดแย้ง” ลี ระบุ

ความตึงเครียดทางเชื้อชาติอาจเลวร้ายลงเพราะร่างกฎหมายการเปลี่ยนศาสนา การแต่งงานระหว่างศาสนา การมีคู่ครองคนเดียว และการควบคุมประชากร นอกจากนั้น ยังมีเสียงเตือนจากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นใกล้พรมแดนจีน

รายงานยังอ้างข้อมูลเกี่ยวกับกองทัพทหารพม่ายังคงเกณฑ์ทหารเด็ก จำนวนนักโทษการเมืองในพม่าที่แท้จริงมีตัวเลขสูงกว่าที่ทางการระบุไว้ รวมทั้งปนะเด็นการใช้กระสุนจริงของเจ้าหน้าที่ตำรวจ การควบคุมสื่อ และการขับไล่เกษตรกรที่ประท้วงต่อต้านเหมืองทองแดง.
กำลังโหลดความคิดเห็น