xs
xsm
sm
md
lg

บรูไนได้ถอย C-130J “ซูเปอร์เฮอร์คิวลิส” ป้ายแดงเป็นชาติแรกในอาเซียน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>C-130J ของกองทัพอากาศสหรัฐ ของกองกำลังป้องกันชาติ เหนือสนามบินวอร์ฟีลด์ ในมลรัฐแมรีแลนด์ ระหว่างการบินฝึก ภาพนี้นำขึ้นเผยแพร่่ในเว็บไซต์ของกองบิน 175 เมื่อวันที่ 8 เม.ย.2553 จาก C-130A วิวัฒน์มาเป็น C-130J ใช้เวลาถึง 40 ปี และ ยังใช้ต่อมาอีก เกือบ 20 ปีแล้วจนถึงบัดนี้ ถึงแม้จะมีการผลิตเครื่องบินลำเลียงขนส่งขนาดใหญ่กว่าออกมาอีกหลายรุ่น แต่ก็ยังไม่มีรุ่นใดทำลายความอยู่ยงคงกระพัน ของตระกูลเฮอร์คิวลีสได้ ซึ่ง 6 ทศวรรษมานี้ผลิตออกมากว่า 2,300 ลำ มีใช้งานในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งในกองทัพบกและกองทัพอากาศไทยด้วย และในวันนี้บรูไนกำลังจะเป็นเจ้าของรุ่นใหม่ล่าสุด. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - รัฐบาลสหรัฐฯ ได้แสดงเจตนาที่จะขายเครื่องบินขนส่งลำเลียงที่ใช้กันมายาวนานมากที่สุดรุ่นหนึ่งของโลก ซึ่งได้ผ่านการพัฒนาปรับปรุงให้ทันสมัย ทันเทคโนโลยีเรื่อยมา จนกลายมาเป็น C-130J “ซูเปอร์เฮร์คิวลิส” (Super Hercules) ในวันนี้ กระทรวงการต่างประเทศในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ได้อนุมัติเรื่องนี้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แจ้งต่อรัฐสภาในสัปดาห์นี้ ตามขั้นปฏิบัติทางกฎหมาย เพื่อสนองคำร้องขอของประเทศที่มีสมาชิกขนาดเล็ก และมีประชากรน้อยที่สุดในบรรดาพันธมิตรกลุ่มอาเซียน

สหรัฐฯ ได้พิจารณาขาย C-130J จำนวน 1 ลำ ให้แก่บรูไนเป็นแพกเกจใหญ่ รวมมูลค่า 343 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมทั้งการขนส่ง วัสดุอุปกรณ์ประจำเครื่อง ชิ้นส่วน อะไหล่ และการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง และการสนับสนุนด้านอื่นๆ อีกจำนวนหนึ่ง องค์การความร่วมมือด้านความมั่นคงการกลาโหม (US Defense Security) ประกาศเรื่องนี้ในเว็บไซต์ วันอังคาร 7 ต.ค.2557 หลังจากได้รายงานต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ตามขั้นตอนในการขายอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ต่างประเทศ

“ข้อเสนอขายนี้จะช่วยเกื้อหนุนนโยบายการต่างประเทศกับความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติของสหรัฐฯ เป็นการช่วยกระชับความสัมพันธ์สหรัฐฯ-บรูไน ซึ่งได้เป็นกำลังหนึ่งสำหรับความมั่นคง และความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” DSCA กล่าว

“อากาศยานลำนี้จะช่วยให้บรูไนสนับสนุนมีขีดความสามารถมากยิ่งขึ้น ในการช่วยเหลือสนับสนุนพันธมิตร และหุ้นส่วนต่างๆ ในยามที่ต้องการ บรูไนจะไม่มีความยุ่งยากอะไร ในการนำเครื่องบินเข้าประจำการ” องค์การดังกล่าวระบุในเว็บไซต์

ประมาณกันว่าในปัจจุบันบรูไนมีประชากรเพียง 4 แสนคนเศษ เป็นประเทศที่ร่ำรวยจากการขายน้ำมันดิบ ตัวเลขรายได้ต่อหัวประชากรเป็นเงินกว่า 47,000 ดอลลาร์ ทั้งประเทศมีพื้นที่ 5,770 ตารางกิโลเมตร เทียบกับสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศเกาะ ที่มีเนื้อที่รวม 697 ตร.กม. แต่มีประชากรกว่า 4 ล้านคน บรูไนเป็นอีกชาติหนึ่งในอยู่ในความขัดแย้งกับจีนในทะเลีนใต้ หลังจากยักษ์ใหญ่คอมมิวนิสต์ประกาศเป็นเจ้าของทะเลใหญ่เกือบทั้งหมด ซึ่งล้ำเข้าไปถึงน่านน้ำของบรูไนในเขตหมู่เกาะสแแปร็ตลีย์

องค์การ DSCA กล่าวว่าบรูไนขอซื้อ C-130J ไปเพื่อใช้ในการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและภารกิจกู้ภัยในยามที่เกิดภัยพิบัติ รวมทั้งใช้ในการบินลาดตระเวนน่านน้ำ กับภารกิจการค้นหาและกู้ภัยด้วย
.

วิดีโอคลิปเนื่องในโอกาสครบรอบปีที่ 30 ของ C-130H กองทัพอากาศไทย เมื่อปี 2553 ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ไทยมีเฮอร์คิวลิสใช้มาก่อนใครๆ เป็นประเทศแรกๆ ในย่านนี้ จนกระทั่งวันนี้ได้กลายมาเป็น Super Hercules และเศรษฐีบรูไนกำลังจะได้ครอบครองเป็นชาติแรกในอาเซียน.


ในช่วง 10 ปีสงครามเวียดนาม ชื่อ “สปู้กกี้” “สเป็กเตอร์” “โกสท์ไรเดอร์” หรือ AC-130 เวอร์ชันกันชิปที่มักจะออกปฏิบัติการในย่ามค่ำคืน เป็นที่น่าเกรงขามมากที่สุด

.
ตามรายงานของสำนักข่าวกลาโหมก่อนหน้านี้ รัฐบาลบรูไนได้ขอซื้อ C-130J มาตั้งแต่ปี 2548 เมื่อครั้งเครื่องบินต้นแบบรุ่นใหม่ ไปสาธิตให้ชมครั้งแรกถึงประเทศ สุลต่านแห่งบรูไนทรงติดตามไปทอดพระเนตรด้วยพระองค์เองอีกครั้งหนึ่ง ในงานเอโรอินเดียแอร์โชว์ ที่ประเทศอินเดีย ในครั้งนั้นบรูไนได้พิจารณาเครื่องบินขนส่งลำเลียงอยู่หลายรุ่น ซึ่งรวมทั้ง CN235 กับ C295 ของแอร์บัส, เอทีอาร์ 42 จากฝรั่งเศส, บีช 1900D, แดช 8 (Dash 8) ของบอมบาร์เดียร์ (Bombadier) และซาบ 2000 จากสวีเดน แต่ในที่สุดก็เลือก C-130J ซึ่งในปัจจุบันมีประจำการในกองทัพของชาติพันธมิตรสหรัฐฯ ไม่กี่ประเทศ และส่วนใหญ่เป็นชาติอาหรับ

ในช่วง 10 ปีสงครามเวียดนาม กล่าวได้ว่า “เฮอร์คิวลิส” เป็นม้างานที่ถูกใช้งานหนักหน่วงที่สุด ขณะเดียวกัน เฮอร์คิวลีสในอีกเวอร์ชันหนึ่ง ก็เป็นเพชฌฆาตที่น่าเกรงขามมากที่สุด เมื่อกลายสภาพเป็นอากาศยานติดปืน หรือ “กันชิป” (Gunship) ที่มีชื่อเสียง และหลังจากได้ผ่านยุคสงครามเวียดนาม เข้าสู่ยุคใหม่ อากาศยานรุ่นนี้ยังผ่านสงครามมาอีกนับครั้งไม่ถ้วน ได้เข้าไปรับใช้ในความขัดแย้งต่างๆ ในทุกๆ ที่กองทัพสหรัฐฯ เข้าไปมีส่วนอยู่ด้วย

บริษัทล็อกฮีดมาร์ติน แห่งสหรัฐฯ ผลิตออกมาล็อตแรกเป็น C-130A เป็นเครื่องบิน 4 เครื่องยนต์เทอร์โบพร็อพที่สมบุกสมบัน ขึ้นง่าย ลงสะดวก เพื่อใช้สำหรับขนส่งลำเลียงพลโดยเฉพาะ กองทัพสหรัฐฯ นำเข้าประจำการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2499 ต่อมา ค่อยๆ พัฒนาไปใช้งานด้านอื่นๆ อีกมากมาย รวมทั้งติดตั้งอุปกรณ์เครื่องมือทางการแพทย์ สำหรับลำเลียงขนส่งผู้ได้รับบาดเจ็บ ใช้เป็นเครื่องบินตรวจสภาพอากาศ ใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัย เป็นเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ บินตรวจการณ์น่านน้ำ ฯลฯ และอีกจำนวนหนึ่งใช้เป็นเครื่องบินขนส่งสินค้าทางพลเรือน

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ได้มีการการผลิต C-130 รุ่นย่อยต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 40 รุ่น พร้อมปรับปรุงบระบบต่างๆ มาเป็นระยะ และตามข้อมูลจนถึงปี 2552 มีการผลิตเฮอร์คิวลิสออกมาทั้งหมดกว่า 2,300 ลำ มีใช้ในกว่า 60 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งในกองทัพไทย กับเพื่อนบ้านในย่านนี้ด้วย

ในช่วงสงครามเวียดนาม ล็อกฮีดมาร์ติน ได้ร่วมกับบริษัทโบอิ้ง ผลิต AC-130 ออกมา ติดปืนใหญ่อากาศ และปืนกลหนัก รวมทั้งจรวดนำวิถี เพื่อใช้ในภารกิจยิงโจมตีสนับสนุนภาคพื้นดิน โดยนำเข้าประจำการแทน AC-47 “สปู้กกี้” (Spooky) ของแม็กดอนเนลดักลาส ซึ่งเวลาต่อมาได้มี AC-130 “กันชิป” ออกมาอีกหลายเวอร์ชันตามภารกิจที่นำไปใช้ และมีชื่อเรียกขานต่างๆ กันไป ทั้งสเป็กเตอร์ (Spectre), สปู้กกี้, โกสท์ไรเดอร์ (Ghostrider) และ สติงเกอร์ 2 (Stinger II) เหล่านี้เป็นต้น
.
<bR><FONT color=#000033>ใกล้ที่สุดในย่านนี้ก็จะเป็นของกองทัพอากาศอินเดีย ภาพนี้เป็นพิธีนำเข้าประจำการ C-130J-30 ลำใหม่ ที่ฐานทัพอากาศฮินดอน (Hindon Air Force Base) กรุงนิวเดลี เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2554 สหรัฐขายเครื่องบินขนส่งลำเลียงทันสมัยรุ่นนี้ให้แก่อินเดียหลายลำ รวมทั้ง C-17 ด้วย นับตั้งความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ . -- ภาพ: Hemant.rawat1234/En.Wikipedia.Org  </b>
2
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลของล็อกฮีดมาร์ติน ระบุว่า มีการผลิต AC-130 “กันชิป” ออกมาทั้งหมดเพียง 47 ลำเท่านั้น เกือบทั้งหมดใช้ในกองทัพสหรัฐฯ

ตั้งแต่ปี 2539 เป็นต้นมา C-130 ก็ได้ก้าวเข้าสู่ยุคใหม่เป็น “ซูเปอร์เฮอร์คิวลิส” ซึ่งแม้ว่าจะยังคงรักษารูปลักษณ์โดยรวม ของเทพผู้ทรงพลังแห่งเทพนิยายของกรีกเอาไว้ครบถ้วน แต่ก็มีการพัฒนารอบตัว ตั้งแต่ติดตั้งเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่ทรงพลังมากยิ่งขึ้น ติดตั้งระบบการบินและควบควบต่างๆ ใหม่ทั้งหทด มีการต่อเติมโครงสร้างออกมาเป็นรุ่นย่อยอีกจำนวนหนึ่ง ตามความต้องการที่จะนำปใช้ เช่น ยืดลำตัวให้ยาวขึ้นอีกนับสิบเมตร บรรทุกได้มากขึ้น และบางรุ่นขยายลำตัวให้เป็น “ไวด์บอดี้” หรือกว้างขึ้น สามารถบรรทุกยุทโธปกรณ์ขนาดใหญ่ขึ้น ฯลฯ

ตามรายงานของเว็บไซต์ข่าวกลาโหม C-130J มี “ราคาหน้าโรงงาน” หรือราคา “ขับไปเลย” (Fly Away Price) ลำละ 67.3 ล้านดอลลาร์ และเมื่อจำหน่ายให้แก่ลูกค้าต่างแดนจะมีราคาเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 100-120 ล้านดอลลาร์ต่อลำ

การเดินเรื่องเพื่อจำหน่าย C-130J ให้แก่กองทัพบรูไน ยังมีขึ้นเพียงไม่นานหลังจาก DSCA ดำเนินการในขั้นตอนเดียวกันนี้ เพื่อขาย UH-72 “ลาโคตา” (Lakota) เฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ลูกครึ่งอเมริกา-ยุโรป ให้แก่ไทย จำนวน 9 ลำ มูลค่า 89 ล้านดอลลาร์ และไทยกำลังจะเป็นชาติแรกนอกจากสหรัฐฯ ที่มี ฮ.รุ่นนี้ประจำการในกองทัพ.
.

<bR><FONT color=#000033>AC-130H สเป็กเตอร์ ทดลองปล่อยพลุร้อนต่อต้านอาวุธนำวิถึด้วยอินฟราเรด เป็นอีกภาพหนึ่งที่กลายเป็นสัญลักษณ์ของกันชิปล้ำสมัยที่สุดของโลก ในสังกัดฝูงบินปฏิบัติการพิเศษ 16 ที่สนามบินเฮิร์ลเบิร์ตฟีลด์ ในรัฐฟลอริดา ขณะขึ้นฝึกซ้อมเมื่อวันที่ 24 ส.ค.2550 ในนี้ตระกูลเฮอร์คิวลีสได้พัฒนาไปไกล และยังเป็นเครื่องบินลพเลียงขนส่งที่ใช้งานมากที่สุดในโลก. -- US Air Force/Senior Airman Julianne Showalter.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>AC-130U สปู้กกี้ (Spooky) ลำนี้จากกองบินปฏิบัติการพิเศษ 4 ที่ฐานทัพเฮิร์ลเบิร์ต (Hurlbert Field) รัฐฟลอริดา ออกฝึกบินในภาพเมื่อปี 2551 เป็นกันชิปติดปืนใหญ่ขนาด 40 มม. อีกรุ่นหนึ่งในตระกูลเฮอร์คิวลีส ใช้งานมาตั้งแต่สงครามเวียดนาม กรำศึกต่อมาอีกหลายสนาม และยังคงใช้ประจำการมาจนกระทั่งบัดนี้ ในขณะที่มีการพัฒนาเข้าสู่อีกยุคหนึ่งมาเป็น C-130J ที่ทันสมัยยิ่งขึ้น มีขนาดใหญ่โตขึ้น. -- US Air Force/Senior Airman Andy M Kin.</b>
4
กำลังโหลดความคิดเห็น