xs
xsm
sm
md
lg

สหรัฐฯ หายมึน แจ้งรัฐสภาขาย UH-72A “ลาโคตา” ให้ไทย 9 ลำรวด $89 ล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>เฮลิคอปเตอร์ UH-72A ของกองทัพบกสหรัฐ ที่กระทรวงกลาโหม กรุงวอชิงตันดีซี เมื่อครั้งเปิดตัวในปี พ.ศ.2553 ไทยกำลังจะเป็นชาติแรกนอกสหรัฐ ที่จะได้เป็นเจ้าของ ฮ.ขนส่งลำเลียง-อเนกประสงค์ เชื้อสายยุโรปที่ผลิตในเมริกา กระทรวงกลาโหมกำลังดำเนินการเรื่องการขายให้กับกองทัพไทย ตามการเสนอของกระทรวงการต่างประเทศ คำขู่ที่จะบอยคอตความร่วมมือด้านกลาโหมต่อไทย ที่เคยได้ยินเมื่อก่อนนี้ไม่มีอีกแล้ว. -- ภาพ: En.Wikipedia.Org</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะขายเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ UH-72A “ลาโคตา” (Lakota) จำนวน 9 ลำให้แก่รัฐบาลไทย ถึงแม้ว่าฝ่ายไทยจะขอซื้อเพียง 6 ลำก็ตาม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหม แจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภาปลายสัปดาห์ที่แล้ว โดยระบุว่า อากาศยานปีกหมุนฝูงนี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการอำนวยการร่วมกัน ระหว่างสหรัฐฯ กับ “ชาติพันธมิตรนอกนาโต้ที่มีความสำคัญมากประเทศหนึ่ง” และเป็นการช่วยสนับสนุนไทยยกระดับ และพัฒนากองทัพให้ทันสมัยตามเป้าหมาย

องค์การความร่วมมือความมั่นคงปลอดภัยด้านกลาโหม (Defense Security Cooperation Agency) แจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภาฯ ในวันที่ 26 ก.ย. อันเป็นการดำเนินการตามกฎหมายอีกขั้นตอนหนึ่ง เกี่ยวกับการขายอาวุธล็อตใหญ่ให้แก่ต่างประเทศโดยรัฐบาลสหรัฐฯ องค์การดังกล่าวรายงานเรื่องนี้ในเอกสารข่าวฉบับหนึ่ง ที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ในวันจันทร์ 29 ก.ย. ตามเวลาในกรุงวอชิงตันดีซี หรือวันที่ 30 ก.ย. เวลาในประเทศไทย

การเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่าง 2 ประเทศ ยังมีขึ้นหลังจาก พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายความมั่นคง และผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้พบสนทนากับ นายจอห์น แครี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ ระหว่างที่ฝ่ายไทยเดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ในนครนิวยอร์กสัปดาห์ที่แล้ว

ทั้งหมดนี้เป็นพัฒนาการใหม่ในความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สหรัฐฯ นับตั้งแต่การทำรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหารไทย ซึ่งสหรัฐฯ ประกาศต่อต้าน รวมทั้งข่มขู่อาจจะใช้มาตรการแซงก์ชันต่อคณะรักษาความสงบแห่งชาติ และรัฐบาลไทย รวมทั้งบอยคอตความร่วมมือทางด้านกลาโหมระหว่าง 2 ฝ่ายอีกด้วย

รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ตกลงขาย ฮ.จำนวนดังกล่าวให้ไทย เป็นแพกเกจใหญ่รวมเป็นวงเงิน 89 ล้านดอลลาร์ ซึ่งรวมทั้งประกัน อะไหล่ และการซ่อมแซม อุปกรณ์สนับสนุน อุปกรณ์สื่อสาร เอกสาร รายงานทางด้านเทคนิคต่าง สถานีวางแผนการบิน การฝึกฝนบุคลากร และอุปกรณ์สำหรับการฝึก บริการสนับสนุนด้านเทคนิคและบริการโดยรัฐบาลสหรัฐฯ กับบริษัทผู้ผลิต พร้อมรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการสนับสนุนด้านการลำเลียงขนส่งอีกจำนวนหนึ่ง DSCA รายงาน

รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ ดำเนินการเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นปี 2556 ซึ่งเชื่อกันว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การขาย ฮ.ให้แก่ไทย ยาวนานกว่าปกติ

“ข้อเสนอนี้จะช่วยสนับสนุนนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติของสหรัฐฯ โดยช่วยเหลือชาติพันธมิตรสำคัญนอกกลุ่มนาโต้ประเทศหนึ่ง ในการปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัย” และจะช่วยประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการยกระดับและพัฒนากองทัพให้ทันสมัย “ขณะเดียวกัน ก็จะช่วยเสริมขยายการอำนวยการร่วมระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และกับชาติพันธมิตรอื่นๆ” DSCA บอกกับรัฐสภาสหรัฐฯ

เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ ผู้แทนจำนวน 10 คนจากบริษัทผู้จัดหาคือ EADS North America ที่เมืองเฮิร์นดอน (Herndon) มลรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต จะเดินทางไปยังประเทศไทยเป็นเวลา 5 สัปดาห์ เพื่อตระเตรียมด้านอุปกรณ์ และลงภาคสนาม ตรวจเช็กระบบ หน่วยงานนี้ระบุอีกว่า การขาย UH-72A ทั้ง 9 ลำให้แก่ไทย จะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อความพร้อมในด้านการป้องกันประเทศของสหรัฐฯ และไม่เปลี่ยนแปลงดุลทางการทหารในภูมิภาค
.


.
เคยมีข่าวคราวเกี่ยวกับเรื่องนี้ในเดือน มิ.ย.2556 ซึ่งระบุว่า กองทัพบกไทยได้ขอซื้อลาโคตาจำนวน 6 ลำ มูลค่า 77 ล้านดอลลาร์ ต่อมาในเดือน ก.ย.ปีเดียวกัน กองทัพเรือของไทยได้เซ็นสัญญาซื้อ ฮ.อเนกประสงค์ EC645 จำนวน 5 ลำ จากแอร์บัสเฮลิคอปเตอร์ ผู้ผลิตในยุโรป เพื่อนำไปใช้แทน ฮ. แบบเบลล์ 212 (Bell 212) ที่ปลดระวาง

เป็นที่ทราบกันดีว่า UH-72A ที่ผลิตในสหรัฐฯ กับ EC645 T2 ของค่ายยุโรป เป็นอากาศยานปีกหมุนที่สร้างขึ้นจากโครงเดียวกันบนโครงเดิมของ ฮ. EC145 ที่ใช้ในกิจการพลเรือน ซึ่งมีการนำไปผลิตในญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่งออกมาเป็น ฮ.คาวาซากิ BK 117

ตามตัวเลขในเว็บไซต์ข่าวกลาโหม ลาโคตา มีพิกัดน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 3,585 กิโลกรัม ออกแบบสำหรับนักบินกับลูกเรือ จำนวน 2 คน สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ถึง 9 คน หรือบรรทุกเปลสนามได้ 2 ชุด พร้อมเจ้าหน้าที่การแพทย์ ทำความเร็วได้สูงสุด 269 กม/ชั่วโมง และมีรัศมีปฏิบัติการ 685 กม./ชม.

ตามรายงานของสำนักข่าวกลาโหมหลายแห่งก่อนหน้านี้ นอกจากสหรัฐฯ แล้ว ไทยกำลังจะเป็นประเทศแรกในโลกที่จะได้เป็นเจ้าของ UH-72A

ในขณะเดียวกัน ไฟลต์โกลบอล (Flightglobal) เว็บไซต์ข่าวอากาศยานที่ได้รับความเชื่อถือมากที่สุดอีกแห่งหนึ่ง รายงานเมื่อเร็วๆ นี้ว่า กองทัพอากาศไทย ได้เซ็นความตกลงกับบริษัทเปี้ยกโจ้เอโร อินดัสตรี (Piaggio Aero Industry) แห่งอิตาลี ซื้อ เครื่องบินแบบ P180 “อาวานตี 2” (Avanti II) เพื่อใช้ในการขนส่ง โดยไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรอีก รวมทั้งกำหนดการส่งมอบ

บ.อิตาลีรุ่นนี้ทำความเร็วสูงสุดได้ 745 กม./ชม. รัศมีปฏิบัติการถึง 2,722 กม. ติดตั้งอุปกรณ์พิเศษหลายรายการ รวมทั้งกล้อง และระบบอินฟราเรด นอกจากนั้น ยังสามารถติดตั้งเรดาร์ กับระบบจำแนกแยกอากาศยานที่เป็นมิตร หรือศัตรูได้อีกด้วย เว็บไซต์เดียวกันกล่าว.
.
<bR><FONT color=#000033>มองระยะไกลดูเป็น ฮ.ลำเล็ก แต่ข้างใน UH-72A กว้างขวางทีเดียว ใช้ประโยชน์ได้หลายทาง. </b>
2
<bR><FONT color=#000033>ญาติจากยุโรป -- EC-145 ของหน่วยบิน Life Flight ประจำโรงพยาบาล   Memorial Hermann ในนครฮิวสตัน มลรัฐเท็กซัส ภาพโดย Greg Kramer ไม่ได้ระบุวันถ่าย. -- En.Wikipedia.Org</b>
3
<bR><FONT color=#000033>ญาติจากญี่ปุ่น -- ภาพโดย Nachoman-au เป็น คาวาซากิ BK117 (Kawasaki BK117) ของหน่วย ตำรวจบิน รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ถ่ายวันที่ 28 ก.ค.2545 มีต้นตระกูลในยุโรปเช่นกัน. -- ภาพ: En.Wikipedia.Org </b>
4
กำลังโหลดความคิดเห็น