ASTVผู้จัดการรายวัน-สหรัฐฯ แจ้งรัฐสภาขายเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ UH-72A ลาโคตา จำนวน 9 ลำให้ไทย มูลค่า 89 ล้านเหรียญสหรัฐ ล้มล้างคำขู่ก่อนหน้านี้ที่จะบอยคอตความร่วมมือด้านกลาโหมต่อไทย
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะขายเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ UH-72A “ลาโคตา” (Lakota) จำนวน 9 ลำ ตามที่รัฐบาลไทยขอซื้อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหม แจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภาปลายสัปดาห์ที่แล้ว โดยระบุว่า เฮลิคอปเตอร์ฝูงนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการอำนวยการร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ กับชาติพันธมิตรนอกนาโต้ที่มีความสำคัญมากประเทศหนึ่ง และเป็นการช่วยสนับสนุนไทยยกระดับและพัฒนากองทัพให้ทันสมัยตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ องค์การความร่วมมือความมั่นคงปลอดภัยด้านกลาโหม (Defense Security Cooperation Agency - DSCA) ได้แจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ในวันที่ 26 ก.ย.2557 อันเป็นการดำเนินการตามกฎหมายอีกขั้นตอนหนึ่ง เกี่ยวกับการขายอาวุธล็อตใหญ่ให้แก่ต่างประเทศโดยรัฐบาลสหรัฐฯ องค์การดังกล่าวรายงานเรื่องนี้ในเอกสารข่าวฉบับหนึ่งที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ในวันจันทร์ 29 ก.ย.2557 ตามเวลาในกรุงวอชิงตันดีซี หรือวันที่ 30 ก.ย.2557 เวลาในประเทศไทย
การเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่าง 2 ประเทศ มีขึ้นหลังจาก พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายความมั่นคง และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้พบสนทนากับนายจอห์น แครี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ระหว่างที่ฝ่ายไทยเดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ในนครนิวยอร์กสัปดาห์ที่แล้ว
ทั้งหมดนี้ เป็นพัฒนาการใหม่ในความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สหรัฐฯ นับตั้งแต่การทำรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหารไทย ซึ่งสหรัฐฯ ประกาศต่อต้าน รวมทั้งข่มขู่อาจจะใช้มาตรการแซงก์ชันต่อ คสช. และรัฐบาลไทย รวมทั้งบอยคอตความร่วมมือทางด้านกลาโหมระหว่าง 2 ฝ่ายอีกด้วย
"รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ตกลงขาย ฮ.จำนวนดังกล่าวให้ไทย เป็นแพกเกจใหญ่รวมเป็นวงเงิน 89 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมทั้งประกัน อะไหล่ และการซ่อมแซม อุปกรณ์สนับสนุน อุปกรณ์สื่อสาร เอกสาร รายงานทางด้านเทคนิคต่าง สถานีวางแผนการบิน การฝึกฝนบุคลากร และอุปกรณ์สำหรับการฝึก บริการสนับสนุนด้านเทคนิคและบริการโดยรัฐบาลสหรัฐฯ กับบริษัทผู้ผลิต พร้อมรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการสนับสนุนด้านการลำเลียงขนส่งอีกจำนวนหนึ่ง" DSCA รายงาน
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ ดำเนินการเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นปี 2556 ซึ่งเชื่อกันว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การขาย ฮ.ให้แก่ไทย ยาวนานกว่าปกติ
"ข้อเสนอนี้ จะช่วยสนับสนุนนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติของสหรัฐฯ โดยช่วยเหลือชาติพันธมิตรสำคัญนอกกลุ่มนาโต้ประเทศหนึ่ง ในการปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัย และจะช่วยประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการยกระดับและพัฒนากองทัพให้ทันสมัย ขณะเดียวกัน ก็จะช่วยเสริมขยายการอำนวยการร่วมระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และกับชาติพันธมิตรอื่นๆ” DSCA บอกกับรัฐสภาสหรัฐฯ
เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ ผู้แทนจำนวน 10 คน จากบริษัทผู้จัดหา คือ EADS North America ที่เมืองเฮิร์นดอน (Herndon) มลรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต จะเดินทางไปยังประเทศไทยเป็นเวลา 5 สัปดาห์ เพื่อตระเตรียมด้านอุปกรณ์ และลงภาคสนาม ตรวจเช็กระบบ หน่วยงานนี้ ระบุอีกว่า การขาย UH-72A ทั้ง 9 ลำให้แก่ไทย จะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อความพร้อมในด้านการป้องกันประเทศของสหรัฐฯ และไม่เปลี่ยนแปลงดุลทางการทหารในภูมิภาค
.
รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ได้แสดงเจตนารมณ์ที่จะขายเฮลิคอปเตอร์อเนกประสงค์ UH-72A “ลาโคตา” (Lakota) จำนวน 9 ลำ ตามที่รัฐบาลไทยขอซื้อ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงกลาโหม แจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภาปลายสัปดาห์ที่แล้ว โดยระบุว่า เฮลิคอปเตอร์ฝูงนี้ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการอำนวยการร่วมกันระหว่างสหรัฐฯ กับชาติพันธมิตรนอกนาโต้ที่มีความสำคัญมากประเทศหนึ่ง และเป็นการช่วยสนับสนุนไทยยกระดับและพัฒนากองทัพให้ทันสมัยตามเป้าหมาย
ทั้งนี้ องค์การความร่วมมือความมั่นคงปลอดภัยด้านกลาโหม (Defense Security Cooperation Agency - DSCA) ได้แจ้งเรื่องนี้ต่อรัฐสภาสหรัฐฯ ในวันที่ 26 ก.ย.2557 อันเป็นการดำเนินการตามกฎหมายอีกขั้นตอนหนึ่ง เกี่ยวกับการขายอาวุธล็อตใหญ่ให้แก่ต่างประเทศโดยรัฐบาลสหรัฐฯ องค์การดังกล่าวรายงานเรื่องนี้ในเอกสารข่าวฉบับหนึ่งที่เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ในวันจันทร์ 29 ก.ย.2557 ตามเวลาในกรุงวอชิงตันดีซี หรือวันที่ 30 ก.ย.2557 เวลาในประเทศไทย
การเผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับความร่วมมือด้านกลาโหมระหว่าง 2 ประเทศ มีขึ้นหลังจาก พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รองหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฝ่ายความมั่นคง และผู้บัญชาการทหารสูงสุด ได้พบสนทนากับนายจอห์น แครี รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ ระหว่างที่ฝ่ายไทยเดินทางไปร่วมการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ ในนครนิวยอร์กสัปดาห์ที่แล้ว
ทั้งหมดนี้ เป็นพัฒนาการใหม่ในความสัมพันธ์ทวิภาคีไทย-สหรัฐฯ นับตั้งแต่การทำรัฐประหารยึดอำนาจของฝ่ายทหารไทย ซึ่งสหรัฐฯ ประกาศต่อต้าน รวมทั้งข่มขู่อาจจะใช้มาตรการแซงก์ชันต่อ คสช. และรัฐบาลไทย รวมทั้งบอยคอตความร่วมมือทางด้านกลาโหมระหว่าง 2 ฝ่ายอีกด้วย
"รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ตกลงขาย ฮ.จำนวนดังกล่าวให้ไทย เป็นแพกเกจใหญ่รวมเป็นวงเงิน 89 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งรวมทั้งประกัน อะไหล่ และการซ่อมแซม อุปกรณ์สนับสนุน อุปกรณ์สื่อสาร เอกสาร รายงานทางด้านเทคนิคต่าง สถานีวางแผนการบิน การฝึกฝนบุคลากร และอุปกรณ์สำหรับการฝึก บริการสนับสนุนด้านเทคนิคและบริการโดยรัฐบาลสหรัฐฯ กับบริษัทผู้ผลิต พร้อมรายละเอียดอื่นๆ เกี่ยวกับการสนับสนุนด้านการลำเลียงขนส่งอีกจำนวนหนึ่ง" DSCA รายงาน
รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ ดำเนินการเรื่องนี้มาตั้งแต่ต้นปี 2556 ซึ่งเชื่อกันว่าการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทย เดือน พ.ค.ที่ผ่านมา เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การขาย ฮ.ให้แก่ไทย ยาวนานกว่าปกติ
"ข้อเสนอนี้ จะช่วยสนับสนุนนโยบายด้านการต่างประเทศและความมั่นคงปลอดภัยแห่งชาติของสหรัฐฯ โดยช่วยเหลือชาติพันธมิตรสำคัญนอกกลุ่มนาโต้ประเทศหนึ่ง ในการปรับปรุงความมั่นคงปลอดภัย และจะช่วยประเทศไทยบรรลุเป้าหมายในการยกระดับและพัฒนากองทัพให้ทันสมัย ขณะเดียวกัน ก็จะช่วยเสริมขยายการอำนวยการร่วมระหว่างไทยกับสหรัฐฯ และกับชาติพันธมิตรอื่นๆ” DSCA บอกกับรัฐสภาสหรัฐฯ
เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ ผู้แทนจำนวน 10 คน จากบริษัทผู้จัดหา คือ EADS North America ที่เมืองเฮิร์นดอน (Herndon) มลรัฐเวอร์จิเนีย (Virginia) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิต จะเดินทางไปยังประเทศไทยเป็นเวลา 5 สัปดาห์ เพื่อตระเตรียมด้านอุปกรณ์ และลงภาคสนาม ตรวจเช็กระบบ หน่วยงานนี้ ระบุอีกว่า การขาย UH-72A ทั้ง 9 ลำให้แก่ไทย จะไม่ส่งผลกระทบในทางลบต่อความพร้อมในด้านการป้องกันประเทศของสหรัฐฯ และไม่เปลี่ยนแปลงดุลทางการทหารในภูมิภาค
.