xs
xsm
sm
md
lg

“แอตลาส” A400M เสือเหลืองเป็นรูปเป็นร่าง ปีหน้าแอร์บัสส่งให้ 3 ลำรวด

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>ภาพที่แอร์บัสเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ เป็น A400M ลำแรกของกองทัพอากาศมาเลเซีย ที่จะส่งมอบต้นปีหน้า เป็นหนึ่งในจำนวน 4 ลำ ที่เซ็นซื้อขายกันเมื่อ 7 ปีก่อน การส่งมอบเลื่อนมาจากกลาย ปี 2558 จะได้รับ 3 ลำ ส่วนลำสุดท้ายส่งปีถัดไป ปัจจุบันทัพฟ้ามาเลเซียมี C-130 เฮอร์คิวลีส อยู่แล้วจำนวน 15 ลำ แต่กำลังจะเป็นประเทศนอกกลุ่มยุโรป ที่จะได้เป็นเจ้าของเครื่องบินขนส่งลำเลียงขนาดใหญ่และทันสมัยรุ่นแรกสุดของแอร์บัส. </b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - มาเลเซีย กำลังจะเป็นเจ้าแรกนอกค่ายยุโรปกับนาโต้ ที่จะได้เป็นเจ้าของเครื่องบินขนส่งลำเลียงทางทหารที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และใช้งานได้อเนกประสงค์ที่บริษัทแอร์บัสผลิตออกมาเป็นรุ่นแรก และกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะนี้ ซึ่งกันเชื่อว่าหลายประเทศทั่วโลกจะนำเข้าประจำการแทน หรือเอาไปใช้เสริมเครื่องบินในตระกูล C-130 “เฮอร์คิวลิส” (Hercules) ที่ใช้มาตั้งแต่ช่วงก่อน และ ระหว่างสงครามเวียดนาม

หลังจากดีเลย์การส่งมอบมาตั้งแต่ปี 2556 แอร์บัส ดีเฟนซ์ แอนด์ สเปซ (Airbus Defence and Space) บริษัทผลิตอากาศยานสำหรับการกลาโหมของกลุ่มแอร์บัส ประกาศเมื่อเร็วๆ นี้ว่า กำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายการประกอบ A400M “แอตลาส” (Atlas) ลำแรกของกองทัพอากาศมาเลเซีย และจะส่งมอบได้ต้นปี 2558 นี้ จากทั้งหมด 4 ลำ ที่เซ็นซื้อขายกันเมื่อ 7 ปีก่อน อีก 2 ลำ จะทยอยส่งให้ในปีเดียวกัน และลำสุดท้ายในปี 2559

เมื่อเทียบกับ C-130J ซึ่งเป็นรุ่นล่าสุด และใหญ่ที่สุดของตระกูลเฮอร์คิวลิส A400M ใช้เครื่องยนต์เทอร์โบพร็อพ (ไอพ่น-ใบพัด) จำนวน 4 เครื่องยนต์เหมือนกัน แต่ขนาดใหญ่โตกว่า บินเร็วกว่า และประหยัดกว่า เมื่อคำนวณตามระยะทางกับน้ำหนักบรรทุก และมีคุณสมบัติโดดเด่นของ C-130J ที่ผลิตโดยบริษัทล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) แห่งสหรัฐฯ อย่างครบครัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือ ใช้ทางวิ่งขึ้นลงที่สั้น และขึ้นลงได้บนเส้นทางวิ่งที่ขรุขระ ไม่ได้จัดเตรียมล่วงหน้า แต่แอตลาสก็จะต้องพิสูจน์ตัวเอง และผ่านกระบวนการพัฒนาปรับปรุงอีกมากมาย ไม่ต่างกับเฮอร์คิวลิส
.

.
สำหรับมาเลเซียที่ซื้อเพียง 4 ลำ A400M คงจะทำหน้าที่เป็นตัวช่วย C-130s ที่กองทัพอากาศมีประจำการ จำนวน 15 ลำ มากกว่าจะเข้าแทนที่เครื่องบินขนส่งลำเลียงของค่ายสหรัฐฯ และเมื่อมองภาพไกล เครื่องบินทหารรุ่นแรกของแอร์บัสคงจะต้องใช้เวลาอีกนานหลายทศวรรษ จึงจะสามารถแทนที่ C-130 เครื่องบินขนส่ง ใช้งานมากที่สุดในโลกปัจจุบัน และมีประจำการในกว่า 60 ประเทศ รวมทั้งในฝ่ายพลเรือน

เครื่องบินตระกูลเฮอร์คิวลิส กรำศึกมาทั่วทุกมุมโลก ผ่านการพิสูจน์ ผ่านการพัฒนายกระดับมาหลายยุคตลอด 6 ทศวรรษที่ผ่านมา จนกลายเป็นอากาศยานขนส่งลำเลียงทั่วไปที่มีความลงตัวในทุกด้าน ใช้งานง่าย และคล่องตัวมากที่สุดในปัจจุบัน เพียงแต่ว่า A400M แอตลาส ทำให้เฮอร์คิวลิสเล็กลงเท่านั้นเอง

แอรบัส ดีเฟนซ์ฯ กล่าวด้วยว่า ปัจจุบันนักบินมาเลเซียกำลังฝึกอยู่ที่เมืองเซวิล (Seville) ในสเปน อันเป็นแหล่งประกอบ A400M ซึ่งรวมอยู่ในแพกเกจซื้่อขายที่เซ็นกันเมื่อปี 2550 มีมูลค่ารวม 3,500 ล้านริงกิต หรือประมาณ 925 ล้านดอลลาร์ ตามอัตราแลกเปลี่ยนในปีโน้น ซึ่งนับเป็นการลงทุนอันมหาศาลยิ่ง สำหรับมาเลเซียที่มีงบประมาณกลาโหมปีละประมาณ 5,000 ล้านดอลลาร์
.
<bR><FONT color=#000033>ภาพที่แอร์บัสเผยแพร่ไม่กี่เดือนก่อนหน้านี้ เป็นการทดสอบขีดความสามารถของ A400M แอตลาส ในการเติมน้ำมันกลางอากาศให้ F/A-18 ฮอร์เนต ลำหนึ่ง เรียกได้ว่า เข้าล็อก พอดีกับมาเลเซียที่มี F/A-18 D อยู่ 1 ฝูง ถึงแม้ว่าจะมี C-130T ทำหน้าที่นี้อยู่แล้วก็ตาม.  </b>
2
<bR><FONT color=#000033>แอร์บัส A400M ขึ้นจากสนามบินเลอบูเก ชานกรุงปารีส วันที่ 20 มิ.ย.2554 ในงานแอร์โชว์ เพื่อสาธิตต่อหน้านายนิโคลัส ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสในช่วงนั้น  เป็นการขึ้นบินครั้งเดียวในงาน เนื่องจากเครื่องยนต์มีปัญหา ยอดขายของ A400M ไม่ค่อยลื่นไหลเท่าที่ควร แต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งในภารกิจส่งกำลังบำรุงของหลายประเทศ แม้จะมี C-130 ใช้อยู่แล้วก็ตาม. -- Agence France Presse/Piere Verdy.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>แผนภูมิเปรียบเทียบระหว่าง A400M กับ C-130J ด้านอัตราบรรทุก จำนวน สินค้า และ ระยะบินปฏิบัติการ. </b>
4
<bR><FONT color=#000033>เปรียบเทียบกับ C-130J, C-130-30 ซึ่งเป็นรุ่นยาวที่สุดและลำตัวกว้างสุดของ ซูเปอร์เฮอร์คิวลีส กับ A400M แต่ไม่ได้เปรียบเทียบกับ C-17 โกบอลมาสเตอร์ III ให้เห็น เอาไปเอามาสถานะทางการตลาดของเครื่องบินทหารค่ายแอร์บัสก็คือ ปัจจุบันตกอยู่ในวงล้อมระหว่าง C-130J และ C-17. </b>
5
<bR><FONT color=#000033>A400M ของกองทัพอากาศฝรั่งเศสเดือน ส.ค.2556 เป็นลำแรกที่แอร์บัสส่งมอบให้ลูกค้า. </b>
6
<bR><FONT color=#000033>ภาพที่บล็อกข่าวกลาโหมมาเลเซียทำขึ้น เน้นให้เห็นคุณสมบัติดีเด่นประการหนึ่ง ที่ A400M มีไม่ต่างกับ C-130 ก็คือ ใช้ทางวื่งขึ้นลงที่สั้น และ ขึ้นลงได้ บนทางวิ่งที่ไม่ต้องเตรียมอะไรล่วงหน้ามากมาย. </b>
7
แอร์บัสให้นิยาม A400M เป็นเครื่องบินขนส่งลำเลียงทางทหารระดับ “ฟูลไซส์” (Full Size) หรือ “ขนาดใหญ่เต็มรูป” ในขณะที่เครื่องบินในครอบครัวเฮอร์คิวลิส เป็นเพียงระดับกลาง หรือ Medium Size และเป้าหมายก็คือดึงตลาดส่วนนี้ไปจาก C-130J แต่สหรัฐฯ หรือจะหยุดนิ่ง นั่งดูค่ายยุโรปแย่งส่วนแบ่งที่ครอบครองมานานกว่า 6 ทศวรรษไปจนหมดสิ้น และตอนนี้ A400M ต้องเผชิญกับการแข่งขันที่ร้อนแรง เมื่อสหรัฐฯ ให้บริษัทโบอิ้งผลิต C-17 โกลบอลมาสเตอร์ 3 (Global Master III) ส่งออกได้ แม้ว่าจะยังเจาะจงขายให้เฉพาะบรรดาชาติพันธิมิตรใกล้ชิด กับประเทศสมาชิกนาโต้ก็ตาม

ซี-17 โกลบอลมาสเตอร์ III เป็นเครื่องบินไอพ่น 4 เครื่องยนต์ ปีกหุบขนาดใหญ่ ที่มีประวัติการพัฒนามายาวนานกว่า 30 ปี และเริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี 2544 จนถึงบัดนี้ทำเป็นเวอร์ขันต่างๆ ออกมากว่า 250 ลำ และกลายมาเป็นเครื่องบินขนส่งลำเลียงระยะไกลระดับ “จัดหนัก” ขนาดใหญ่โตกว่า A400M ในทุกมิติ ทำความเร็วสูงสุดได้เร็วกว่า บรรทุกได้มากกว่าเกือบเท่าตัว เป็นมวยคนละรุ่นกับ A400M ซึ่งสหรัฐฯ กับบริษัทโบอิ้ง ทิ้งไว้ให้เป็นคู่แข่งกับเฮอร์คิวลิส และ เปิดโอกาสให้ชาติพันธมิตรได้มีทางเลือกอีกทางหนึ่ง
.


.

เครื่องบินขนส่งลำเลียงระยะไกลที่มีขนาดใหญ่โต ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อให้สามารถบรรทุก “สินค้า” ขนาดใหญ่มากๆ ซึ่งรวมทั้งรถบรรทุกหนักกับพวกยานเกราะต่างๆ หรือใช้ในภารกิจเสริมกำลังทหารคราวละมากๆ และต้องเดินทางไกล เช่น ในช่วงสงครามอิรัก ปัจจุบันเครื่องบินบรรทุกขนาดใหญ่ของฝ่ายทหาร ได้เข้าไปมีบาทบาทอย่างสูงในภารกิจด้านมนุษยธรรม รวมทั้งการช่วยเหลือกู้ภัย

เมื่อครั้งเฮอริเคนคาทรินา (Katrina) พัดถล่มภาคตะวันออกเฉียงใต้ของสหรัฐฯ C-17 เข้าไปมีบทบาทอย่างสูง ร่วมกับ บ.ขนส่งรุ่นอื่นๆ ของกองทัพ ในการช่วยเหลือกู้ภัยผู้ประสบเคราะห์ รวมทั้งกา่รเยียวยาคนเหล่านั้นในระยะต่อมาอีกด้วย และ A400M ก็มีความเป็นอากาศยานอเนกประสงค์ไม่ต่างกัน
.

<bR><FONT color=#000033>C-17 บนรันเวย์ที่ฐานทัพอากาศบากราม ในอัฟกานิสถาน 30 ม.ค.2552  สหรัฐกับพันธมิตรที่ใกล้ชิดใช้มานานกว่า 20 ปี กรำศึกมาหลายสนาม มีประวัติการพัฒนามายาวนานกว่า 30 ปี ปัจจุบันรัฐบาลสหรัฐอนุญาตให้โบอิ้งผลิตส่งออกได้แล้ว ให้เป็นทางเลือกที่ใหญ่โตขึ้นไปอีกสำหรับ A400M ของค่ายยุโรป. </b>
8
<bR><FONT color=#000033>C-17 โกลบอลมาสเตอร์ III จอดที่ฐานทัพอากาศแม็คคอร์ด รัฐวอชิงตัน พร้อมบินข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปสนับสนุนการกู้ภัยช่วยผู้ประสบเคราะห์ จากไซโคลนนาร์กิส ในพม่าเดือน พ.ค.2551 อีก 2 ลำสแตนด์บายอยู่ในไทย โชคร้ายยิ่งที่รัฐบาลทหารพม่าในขณะนั้น เปิดรับการช่วยเหลือจากโลกภายนอกอย่างจำกัด มีผู้เสียชีวิตกว่า 230,000 ในภัยพิบัติดังกล่าว. -- US Air Force Photo/Abner Guzman. </b>
9
เมื่อไซโคลนนากิส (Nargis) พัดถล่มแถบที่ราบปากแม่น้ำอิรวดีในพม่า เดือน พ.ค.2551 สหรัฐฯ ส่งโกลบอลมาสเตอร์ III จำนวน 2 ลำ พร้อมเครื่องยังชีพ และอุปกรณ์ดำรงชีพเต็มลำ เตรียมพร้อมอยู่ในประเทศไทย อีก 2 ลำ สแตนด์บายอยู่ที่ฐานทัพ ในมลรัฐวอชิงตัน พร้อมเหินฟ้าข้ามมหาสมุทรแปซิฟิกไปช่วยเหลือชาวพม่าที่ประสบภัย ซึ่งในขณะนั้นพบผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 100,000 คน แต่โชคร้ายอย่างยิ่ง รัฐบาลทหารในอดีตอนุญาตให้นานาชาติเข้าไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติได้อย่างจำกัด

หน่วยงานของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ประกาศในสัปดาห์นี้ว่า บรูไนกำลังจะเป็นชาติแรกในบรรดาเพื่อนบ้านอาเซียนที่จะได้เป็นเจ้าของ “ซูเปอร์เฮร์คิวลิส” ซึ่งจะทำให้การขนส่งของกองทัพประเทศอาเซียนเล็กๆ นี้เปลี่ยนรูปโฉมไป และในวันนี้ มาเลเซียกำลังจะเป็นเจ้าแรกในกลุ่ม ที่จะได้เป็นเจ้าของ “แอตลาส”

ตามตัวเลขอย่างเป็นทางการ ปัจจุบันกองทัพอากาศเสือเหลือง มี C-130 เวอร์ขันต่างๆ ประจำการรวมทั้งสิ้น 15 ลำ ในนั้นเป็น บ.ขนส่ง C-130H จำนวน 10 ลำ อีก 3 ลำ คือ C-130MP ออกแบบไปใช้งานบินตรวจการณ์น่านน้ำเป็นภารกิจหลัก เพราะนอกจากประเทศนี้จะตั้งอยู่ในแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้ว ดินแดนอีกส่วนหนึ่งคือ รัฐซาบาห์ อยู่ไกลโพ้นถึงริมทะเลจีนใต้ แต่ทั้ง 3 ลำก็สามารถผันไปใช้เป็น บ.ขนส่งได้เช่นกัน รวมทั้งใช้ในภารกิจกระโดดร่มของกำลังรบด้วย อีก 1 ลำ คือ C-130T ออกแบบมาเป็น "แอร์แท็งเกอร์" หรือเครื่องบินสำหรับเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศ สำหรับอากาศยานต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบินรบ

ยังไม่ทราบในรายละเอียดว่า มาเลเซียสั่งประกอบ A400M ออกมา เพื่อใช้ในภารกิจจำเพาะใดๆ หรือไม่ แต่การทดสอบที่ผ่านมา โดยบริษัทผู้ผลิตได้พิสูจน์แล้วว่า “แอตลาส” สามารถทำทุกอย่างแทนเฮอร์คิวลิสได้ทั้งหมด เมื่อมีครบทั้ง 4 ลำ ก็จะทำให้กองทัพอากาศมาเลเซีย ล้ำหน้าเพื่อนบ้านในย่านเดียวกันไปข้างหน้าอีกก้าวใหญ่ๆ ทั้งในด้านการส่งกำลังบำรุง และการช่วยเหลือกู้ภัยในอนาคต.
กำลังโหลดความคิดเห็น