xs
xsm
sm
md
lg

ทัพฟ้าเสือเหลืองได้ A400M ลำแรกใหม่เอี่ยม ทำ “แอร์แท็งเกอร์” ได้ด้วย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>รัฐมนตรีกลาโหมกับแม่ทัพอากาศ พร้อมเจ้าหน้าที่ระดับสูงสตรีจากกระทรวงกลาโหมอีก 2 คน เดินทางไปรับถึงหน้าโรงงานประกอบ ที่เมืองซีวิลล์ (Seville) ทางตอนใต้ของสเปน ก่อนส่งไปยังมาเลเซีย เป็นลำแรกจาก 3 ลำ ที่จะได้รับในปีนี้ ส่วนลำที่ 4 มีกำหนดปีหน้า มาเลเซียเซ็นซื้อเมื่อปี 2548 มูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์ ถึงวันนี้ก็ 10 ปีที่รอคอย สำหรับเครื่องบินขนส่งทหารที่ว่ากันว่า ประสิทธิภาพเยี่ยมที่สุดใน พ.ศ.นี้. -- ภาพ: Airbus Defence and Space.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - กองทัพอากาศมาเลเซีย กำลังจะได้รับเครื่องบินขนส่งลำเลียงทหาร A400M “แอตลาส” (Atlas) ที่ซื้อจากบริษัทแอร์บัสดีเฟนแอนด์สเปซ (Airbus Defence and Space) เป็นลำแรก และจะนำบินโชว์ในงาน LIMA Air Show 2015 ที่เกาะลังกาวีระหว่าง 17-21 มี.ค. นี้ด้วย

การส่งมอบมีขึ้นเมื่อไม่กี่วันมานี้ เพียงไม่นานหลังจาก ADS แสดงให้เห็นขีดความสามารถของ A400M ที่ดัดแปลงเป็นเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ สำหรับเครื่องบินรบได้อีกด้วย

พิธีส่งมอบอย่างเป็นทางการจัดขึ้นที่ โรงงานประกอบเมืองซีวิลล์ (Seville) ประเทศสเปน โดยผู้รับมอบได้แก่ พล.อ.อ.ตันศรี ดร.ซุลกิเฟลี (Tan Sri Dr Zulkifeli) รัฐมนตรีกลาโหมมาเลเซีย กับ พล.อ.ดาโต๊ะ ศรี รอสลาน บิน ซาอัด (Dato Sri Roslan Bin Saad) ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกระทรวงกลาโหมอีก 2 คน และมาเลเซียได้กลายลูกค้ารายแรกนอกค่ายนาโต้ที่ ADS ส่ง A400M ให้ มีรายงานเรื่องนี้ในเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของบริษัทผู้ผลิต

การส่งมอบยังมีขึ้นหลังจาก A400M ของมาเลเซีย ขึ้นบินทดสอบหลายครั้งในช่วงปลายเดือน ม.ค. กับต้น มี.ค.นี้ ที่เมืองซีวิลล์ ใกล้กับช่องแคบยิบรัลต้า ทางตอนใต้ทางประเทศ เว็บไซต์แห่งเดียวกันกล่าว

“A400M จะทำให้กองทัพอากาศมาเลเซียมีเครื่องบินขนส่งประสิทธิภาพสูงที่สุดในภูมิภาค ซึ่งจะทำให้เราสามารถปฏิบัติการทั้งทางทหาร และด้านมนุษยธรรม ได้ไกลออกไปอีกมากมาย” ADS อ้างคำพูดของ ผบ.ทอ.มาเลเซีย

แอร์บัส กล่าวว่า A400M เป็นเครื่องบินขนส่งรุ่นใหม่เอี่ยม ออกแบบเพื่อสนองความต้องการในศตวรรษที่ 21 ของกองทัพทั่วโลก ด้วยเทคโนโลยีก้าวไกล ทำให้บินได้สูงขึ้น เร็วขึ้น และไปได้ไกลขึ้น ขณะที่ยังคงความคล่องตัวอย่างสูง สามารควบคุมให้ปฏิบัติการในระดับความเร็วต่ำได้เป็นอย่างดี ขึ้นลงได้ในะทางวิ่งระยะสั้น ถึงแม้จะเป็นพื้นที่ไม่ปูยางก็ตาม จึงใช้ได้ทั้งในทางยุทธวิธี และในการขนส่งสนับสนุน

ตามข้อมูลในเว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่ง A400M ถูกออกแบบมาให้บรรทุกสัมภาระได้มากกว่า และบรรทุกสัมภาระขนาดใหญ่พิเศษได้ เชื่อถือได้ มีความคงทนสูง คุ่มค่าคุ้มราคา ด้วยต้นทุนปฏิบัติการที่ต่ำกว่าของคู่แข่งค่ายสหรัฐฯ และใช้ในภารกิจเชิงอเนกประสงค์ได้เช่นเดียวกัน

เมื่อเดือนที่แล้ว ADS ได้เผยแพร่วิดีโอชิ้นหนึ่งที่แสดงให้เห็น A400M ลำหนึ่ง ที่ดัดแปลงเป็นเครื่องแอร์แท็งเกอร์ (Air Tanker) ปฏิบัติการเติมน้ำมันกลางอากาศให้แก่เครื่องบิน A/F-18 “”ฮอร์เน็ต” (Hornet) 2 ลำพร้อมกัน ซึ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความเป็นเครื่องบินอเนกประสงค์ ในขณะที่กองทัพอากาศมาเลเซียเอง มี A/F-18 ประจำการถึง 18 ลำ
.

.
การดัดแปลง A400M เป็น “แอร์แท็งเกอร์” ได้เช่นเดียวกับ C-130 ของสหรัฐฯ ทำให้นักวิเคราะห์กลาโหม กล่าวว่า สักวันหนึ่งข้างหน้าเครื่องบินขนส่งรุ่นนี้ก็อาจจะกลาย “กันชิป” หรือเครื่องบินติดปืนใหญ่/จรวด สำหรับการโจมตีสนับสนุนทางอากาศได้เช่นกัน ประชันกับค่ายสหรัฐฯ ที่กำลังดัดแปลง C-130J ให้เป็นกันชิปรุ่นใหม่เช่นกัน

มาเลเซีย เซ็นสัญญาซื้อ A400M ทั้ง 4 ลำ เมื่อปี 2548 รวมมูลค่า 2,500 ล้านดอลลาร์ เพื่อนำเข้าประจำการแทน C-130H กับ KC-130H และ ตามกำหนดนั้นจะได้รับอีก 2 ลำในปีนี้ ลำสุดท้ายมีกำหนดส่งมอบในปี 2559

จนถึงปัจจุบัน แอร์บัสส่งมอบ A400M ให้แก่ลูกค้าต่างๆ ใน 5 ประเทศ เพียง 12 ลำเท่านั้น คือ ฝรั่งเศส เยอรมนี อังกฤษ ตุรกี และมาเลเซีย

A400M สามารถบรรทุกกำลังพลติดอาวุธพร้อมได้ถึง 116 นาย หรือบรรทุกสัมภาระได้ 37 ตัน หรือบรรทุกเปลสนาม จำนวน 66 หลัง กับทหารบาดเจ็บอีก 25 นาย ถ้าหากลดน้ำหนักบรรทุกลงเหลือ 20 ตัน A400M ก็จะสามารถบินได้ไกลถึง 6,300 กิโลเมตร บนความสูง 11 กม. และความเร็ว 890 กม./ชม.

คู่แข่งโดยตรงในตลาดปัจจุบัน คือ C-130J ที่ผลิตโดยบริษัทล็อกฮีดมาร์ติน (Lockheed Martin) แห่งสหรัฐฯ นั่นเอง.
.
<bR><FONT color=#000033>เว็บไซต์ข่าวกลาโหมหลายแห่งกล่าวว่า A400M บรรทุกน้ำหนักได้มากกว่า บรรทุกคนก็ได้มากกว่า บินได้ไกลกว่า ต้นทุนปฏิบัติการต่ำกว่า จึงเหนือกว่า C-130J ของค่ายสหรัฐทุกประตู. -- ภาพ: Airbus Defence and Space.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>รหัส MSN22 ของกองทัพอากาศมาเลเซีย ขึ้นบินเที่ยวปฐมฤกษ์ เป็นเวลา 1 ชั่วโมงกับ 30 นาที เมื่อวันที่ 10 ม.ค.2558 ที่เมืองซีวิลล์ ประเทศสเปน ลำนี้เป็นเพียงลำที่ 12 ที่แอร์บัสดีเฟ้นซ์ฯ ส่งมอบให้ลูกค้า 5 ประเทศ และ มาเลเซียเป็นรายแรกนอกกลุ่มนาโต้. -- ภาพ: Airbus Defence and Space.</b>
3
กำลังโหลดความคิดเห็น