xs
xsm
sm
md
lg

ฝ่ายค้านพม่าเผยประชาชนร่วมลงนามหนุนแก้รัฐธรรมนูญแล้ว 5 ล้านชื่อ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>ภาพถ่ายเมื่อวันที่ 16 ก.ค. ชาวพม่าร่วมลงชื่อสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2551 ขณะที่สมาชิกพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) เดินสายรณรงค์และรวบรวมรายชื่อสนับสนุน บนถนนสายหนึ่งในนครย่างกุ้ง.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

รอยเตอร์ - พรรคฝ่านค้านพม่า ระบุว่า พรรคสามารถรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้แล้ว 5 ล้านชื่อ ในความพยายามที่จะลดอำนาจสมาชิกรัฐสภาที่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้งก่อนการเลือกตั้งครั้งต่อไปจะมีขึ้นในปีหน้า

พรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) นำโดย นางอองซานซูจี ได้รณรงค์ให้มีการยกเลิกมาตรา 436 ในรัฐธรรมนูญ ที่ระบุว่า การแก้ไขมาตราใดๆ ในรัฐธรรมนูญต้องได้รับเสียงสนับสนุน 75% ของรัฐสภา ซึ่งความพยายามของพรรคมีแนวโน้มที่จะไม่บรรลุผล หรือสร้างความเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากนัก

ฉ่วย มาน ประธานรัฐสภากล่าวว่า คำร้องดังกล่าวจะไม่มีอิทธิพลต่อการทำงานของคณะกรรมการรัฐสภาที่มีหน้าที่เสนอแนะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ

แม้ว่า ซูจียัง คงได้รับความนิยมอย่างมากในพม่า แต่ก็ไม่สามารถร่วมลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีได้ เนื่องจากรัฐธรรมนูญระบุห้ามผู้สมัครมีคู่สมรส หรือบุตรเป็นชาวต่างชาติ ซึ่งซูจีมีสามี และบุตรชายเป็นชาวอังกฤษ ดังนั้น การยกเลิกมาตรา 436 จึงกลายเป็นเป้าหมายแรกที่นำไปสู่การแก้ไขมาตรา 59 ที่จะทำให้ นางอองซานซูจี สามารถลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีได้

ตุน ตุน เฮง เจ้าหน้าที่ของพรรค NLD ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับคำร้อง กล่าวกับสำนักข่าวรอยเตอร์ว่า พรรคยังคงนับจำนวนรายชื่อผู้ร่วมสนับสนุน และคาดว่ายอดรวมทั้งหมดจะมีมากกว่า 5 ล้านชื่อ และพรรคจะพิจารณาเกี่ยวกับวิธีเสนอคำร้องต่อรัฐบาลเมื่อรวบรวมรายชื่อเรียบร้อยในสิ้นเดือน ก.ค.

พรรค NLD ออกสำรวจความคิดเห็นจากประชาชนทั่วประเทศเป็นเวลาเกือบ 2 เดือน ที่ส่วนใหญ่ระบุว่า กองทัพควรถอนตัวออกจากการเมือง หลังปกครองประเทศมาเป็นเวลา 49 ปี

“หลายสิ่งเปลี่ยนจากย่ำแย่เป็นเลวร้ายยิ่งขึ้นภายใต้การปกครองของทหาร พอก็คือพอ” กอ วิน เจ้าหน้าที่รัฐที่ยืนอยู่ในแถวลงนามคำร้องที่ซุ้มริมถนนในนครย่างกุ้ง กล่าว

ภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน กำหนดว่า 25% ของที่นั่งในรัฐสภาเป็นของทหาร และเกินครึ่งของที่นั่งที่เหลือ พรรค USDP ครอบครองอยู่

อดีตรัฐบาลทหารของพม่าที่ปราบปรามการชุมนุมประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยหลายครั้ง ได้ก้าวลงจากอำนาจเมื่อเดือน มี.ค.2554 และรัฐบาลกึ่งพลเรือนเข้าทำหน้าที่ พร้อมดำเนินการปฏิรูปประเทศ ที่รวมทั้งการปล่อยตัวนักโทษการเมือง

ขณะที่ทหารยกอำนาจทางการเมืองให้แก่พลเรือน ที่ประกอบด้วย อดีตนายทหารเกษียณราชการที่เข้าร่วมพรรค USDP ได้กลับเข้ามาทำหน้าที่ในรัฐบาลผ่านรัฐธรรมนูญฉบับที่ทหารร่างขึ้นในปี 2551

“รัฐบาลชุดปัจจุบันมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงจากรัฐบาลชุดก่อนหน้า และนั่นเป็นเหตุผลว่า ทำไมพวกเขาถึงออกกฎหมายเช่นนั้น เราต้องเร่งแก้ไขกฎหมายนี้” เต มี้น อู กัปตันเรือ อ้างถึงมาตรา 436 และร่วมลงชื่อในคำร้องแก้ไขรัฐธรรมนูญ.
กำลังโหลดความคิดเห็น