xs
xsm
sm
md
lg

ทูต UN ร้องรัฐบาลพม่าเป็นกลางสอบสวนความรุนแรงในรัฐยะไข่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายโทมัส โอเจีย ควินตานา ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ กล่าวกับผู้สื่อข่าวระหว่างแถลงข่าวที่สนามบินนานาชาตินครย่างกุ้ง เมื่อวันที่ 19 ก.พ. นายควินนาตาเดินทางเยือนพม่าตั้งแต่วันที่ 14-19 ก.พ. โดยได้กล่าวเตือนว่าความตึงเครียดในรัฐยะไข่ที่เกิดขึ้นหลังเหตุความไม่สงบ 2 ระลอก ที่ทำให้มีผู้ไร้ที่อยู่ราว 140,000 คน และจุดชนวนความรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมในทั่วประเทศ อาจเป็นอันตรายต่อกระบวนการเปลี่ยนผ่านทั้งหมดของประเทศ.-- Agence France-Presse/Soe Than Win.</font></b>

เอเอฟพี - ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติต่อพม่าแสดงความวิตกกังวลถึงความเป็นกลางในการสอบสวนของรัฐบาลในข้อกล่าวหาการโจมตีรุนแรงต่อชาวมุสลิมโรฮิงญา ในรัฐยะไข่

นายโทมัส โอเจีย ควินตานา ทูตพิเศษด้านสิทธิมนุษยชนสหประชาชาติต่อพม่า กล่าวเตือนว่า ความตึงเครียดในรัฐยะไข่ที่เกิดขึ้นหลังเกิดเหตุความไม่สงบ 2 ครั้งใหญ่ ที่ทำให้มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยราว 140,000 คน และจุดชนวนความรุนแรงต่อต้านชาวมุสลิมในพื้นที่ส่วนอื่นๆ ของประเทศนั้น อาจคุกคามกระบวนการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองทั้งหมดของพม่า

นายควินตานา ยังกล่าวว่า การสอบสวนนั้นล้มเหลวที่จะจัดการกับข้อกล่าวหาของการเกิดขึ้นของความรุนแรงในพื้นที่ห่างไกลของรัฐ ที่รวมทั้งการสังหารผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กอย่างโหดร้าย ความรุนแรงทางเพศต่อผู้หญิง และการปล้มสะดม และเผาทำลายทรัพย์สิน

พม่าที่ดำเนินการปฏิรูปการเมืองหลากหลายด้าน แต่ถูกบดบังด้วยเหตุนองเลือดทางศาสนา ได้กล่าวปฏิเสธอย่างหนักแน่นว่า มีพลเรือนถูกฆ่า แต่เจ้าหน้าที่กล่าวว่า มีเจ้าหน้าที่ตำรวจนายหนึ่งสันนิษฐานว่าเสียชีวิตหลังเหตุปะทะกันในเดือน ม.ค. อย่างไรก็ตาม รัฐบาลได้สั่งให้คณะกรรมเข้าดำเนินการไต่สวนเหตุการณ์ดังกล่าวซึ่งปัจจุบันกำลังอยู่ในรัฐยะไข่

“เราจำเป็นต้องเคารพการสอบสวนนั้น ในขณะเดียวกัน ผมก็มีความวิตกกังวลอย่างมากเกี่ยวกับความเป็นไปได้สำหรับการสอบสวนนี้ ... ว่าจะมีความเป็นธรรม และเป็นอิสระ” ควินตานา กล่าวกับผู้สื่อข่าว

นายควินตานา ยังเสริมว่า เรื่องราวของการไม่ต้องรับโทษในสมัยอดีตรัฐบาลเผด็จการทหารนั้นตีความได้ว่าไม่เคยมีการสอบสวนอย่างเป็นอิสระเกิดขึ้นไม่ว่าในเหตุการณ์ใดๆ ก็ตาม

ในการสรุปภารกิจสุดท้ายหลังปฏิบัติหน้าที่นาน 6 ปี ควินตานา กล่าวว่า การสอบสวนมีกำหนดรายงานข้อค้นพบในวันที่ 28 ก.พ.นี้ แต่ขณะเดียวกัน เขาจะเรียกร้องให้สหประชาชาติดำเนินการสอบสวนอีกครั้งหนึ่งหากการสอบสวนครั้งนี้ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล

ทูตสหประชาชาติรายนี้กล่าวว่า ได้พบกับหัวหน้าตำรวจของรัฐซึ่งได้ยอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่มากกว่า 100 นาย ติดอาวุธพร้อมกระสุนจริง มีส่วนร่วมในการค้นหมู่บ้านเพื่อหาเจ้าหน้าที่ตำรวจที่หายตัวไปซึ่งสันนิษฐานว่าถูกฆ่าโดยคนในท้องถิ่น พร้อมระบุว่า ไม่มีการตาย หรือบาดเจ็บใดๆ เกิดขึ้นระหว่างการปฏิบัติการในวันที่ 13-14 ม.ค.

พื้นที่ที่เชื่อว่าเกิดเหตุความรุนแรงครั้งล่าสุดนั้น มีชาวมุสลิมโรฮิงญาอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ โดยรัฐบาลพม่าระบุว่า ชาวโรฮิงญาในประเทศราว 800,000 คน เป็นชาวต่างชาติ ขณะเดียวกัน ชาวพม่าก็มองว่าชาวโรฮิงญาเหล่านี้เป็นผู้อพยพเข้าเมืองผิดกฎหมายจากบังกลาเทศ

เหตุไม่สงบ 2 ครั้ง ในรัฐยะไข่ เมื่อเดือน มิ.ย. และ ต.ค.2555 ระหว่างชาวพุทธในพื้นที่ และชาวมุสลิมโรฮิงญาที่เป็นชนกลุ่มน้อย ได้จุดชนวนความไม่สงบทางศาสนาแพร่กระจายไปทั่วประเทศ จนทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 250 คน.
กำลังโหลดความคิดเห็น