xs
xsm
sm
md
lg

ลาวขุดร่องน้ำสี่พันดอน-เขื่อนฮูสะโฮง ปลอบเพื่อนบ้านยันปลาว่ายสะดวก

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#00003>แผ่นป้ายต้อนรับนักท่องเที่ยวเข้าสู่เขตนทีสี่พันดอน ถิ่นอาศัยของ ปล่าข่า หรือ โลมาอิรวดี ที่นับวันหาดูได้ยากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ไปจากแม่น้ำโขงทางตอนใต้ของลาว ฝ่ายคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮงวิตกว่า เขื่อนจะทำให้สิ่งดีงามต่างๆ หายไปและส่งผลกระทบต่อระบบแม่น้ำ รวมทั้งชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน. -- ภาพ: International Rivers Network.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ - ทางการลาวนำเจ้าหน้าที่ กับสื่อมวลชน 3 ประเทศคณะใหญ่เข้าจุดก่อสร้างเขื่อนใหญ่ดอนสะโฮง ในเขตนทีสี่พันดอนทางใต้สุด รัฐมนตรีนำทีมเองเพื่อพิสูจน์ประเด็นกล่าวหาที่ว่า ลาวทำผิดกฎคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ยันเขื่อนไม่ได้กั้นทางน้ำไหลสายหลัก ขณะเจ้าหน้าที่โครงการเปิดเผยว่าได้มีการขุด “ฮูน้ำ” แห่งหนึ่งให้เป็นร่องลึกมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้ปลายว่ายขึ้นลงได้อย่างเต็มที่

นับเป็นความพยายามอีกครั้งหนึ่งของทางการลาวในการหาทางผ่อนคลายความวิตกกังวลของประเทศเพื่อนบ้าน และฝ่ายที่คัดค้าน นับตั้งแต่ประกาศเดินหน้าก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าขนาด 260 เมกะวัตต์ มูลค่า 723.1 ล้านดอลลาร์ ในลำน้ำโขงโดยให้สัมปทานแก่นักลงทุนจากมาเลเซีย

คณะกว่า 100 คน ที่ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ฝ่ายต่างๆ ของลาว เวียดนาม และกัมพูชา กับผู้สื่อข่าวทั้งใน และต่างประเทศได้เดินทางไปเยี่ยมชมจุดก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง ในเขตเมืองโขง แขวงจำปาสักระหว่างวันที่ 10-11 พ.ย.นี้

กระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ของลาว บริษัทผู้ดำเนินโครงการ และคณะกรรมการแม่น้ำโขงประจำลาวต้องการให้ทุกฝ่ายได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสภาพทางธรรมชาติ และสภาพทางสังคมในพื้นที่ และเพื่อให้ได้ความคิดเห็นต่างๆ ด้วย

ผู้ร่วมคณะจะเดินทางโดยเรือไปยังจุดก่อสร้าง รวมทั้งได้เดินเท้าไปตามดอน (เกาะ) ต่างๆ ตลอดจน “ฮูน้ำ” หรือทางน้ำไหลในบริเวณก่อสร้างเขื่อน หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์สรายงานวันอาทิตย์นี้
.

.
นายปีเตอร์ ฮอว์คินส์ (Peter Hawkins) ผู้จัดการโครงการด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการดอนสะโฮง โดยบริษัทเมกะ เฟิร์สต์ คอร์ปอเรชั่น เบอร์ฮัด (Mega First Corporation Berhad) แห่งมาเลเซีย กล่าวว่า เขื่อนไม่ได้สร้างกั้นทางน้ำไหลสายหลักของแม่น้ำโขง จึงไม่ได้เข้าเกณฑ์ที่จะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงนานาชาติก่อน

นอกจากนั้น ฮูสะโฮงไม่ใช่ทางน้ำไหลใหญ่ที่สุดในขตสี่พันดอน ตามที่มีการกล่าวหาก่อนหน้านี้ จึงไม่ได้ขวางกั้นเส้นทางอพยพของฝูงปลายในแม่น้ำสายสำคัญนี้ ฝูงปลาสามารถอพยพขึ้นลงตามทางน้ำไหลอีกหลายสายในเขตสี่พันดอน สื่อของทางการกล่าว

นายฮอว์คินส์ เปิดเผยว่า ผู้ดำเนินโครงการได้ทำการขุดฮูสะดำ ซึ่งเป็นทางน้ำไหลสายหนึ่งที่อยู่ถัดจากฮูสะโฮง ทำให้ลึกเพิ่มขึ้นอีก 0.5 เมตร นอกจากนั้น ก็ยังมีแผนการขุดเอาโขดหิน และแก่งออกจากฮูช้างเผือก ซึ่งเป็นทางน้ำไหลที่ขนาดใหญ่กว่าฮูสะโฮง ทั้งนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การแพร่พันธุ์ของปลาในแม่น้ำ

นายวีละพัน วีละวง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพลังงานและเหมืองแร่ กล่าวว่า ทางน้ำไหลสายหลักในแม่น้ำโขงช่วงนั้นเป็นบริเวณหลี่ผีที่มีน้ำไหลผ่านราว 60% ของทั้งหมด รองลงไปเป็นบริเวณคอนพะเพ็งอีกราว 30% ซึ่งลาวมองว่าเขื่อนดอนสะโฮงไม่ได้สร้างกั้นทางน้ำสายหลักของแม่น้ำโขง จึงไม่ผิดข้อตกลงคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงนานาชาติปี 2538 ที่จะต้องหารือเรื่องนี้เวียงจันทน์ไทม์สกล่าว

ก่อนหน้านี้ ในเดือน ก.ย.นี้ ฝ่ายลาวได้จัดการพบปะกับผู้แทนจากเวียดนาม และไทยที่ไปร่วมประชุมกลุ่มอาเซียนในกรุงบรูไนดารุสซาลาม แจ้งให้ทราบเกี่ยวกับการตัดสินใจก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮง รวมทั้งชี้แจงสถานะก่อสร้างเขื่อนใหญ่ไซยะบูลี กั้นแม่น้ำโขงทั้งสายในแขวงภาคเหนือด้วย.
.
<bR><FONT color=#000033>บริเวณที่เครือข่ายแม่น้ำนานาชาติระบุว่าเป็นจุดก่อนสร้างเขื่อนดอนสะโฮงขนาด 260 เมกะวัตต์ บน ฮูสะโฮง ทางน้ำไหลสำคัญสายหนึ่งในระบบแม่น้ำโขงเขตสีพันดอน ทางการลาวจัดทริปเข้าพื้นที่สุดสัปดาห์นี้ดูสภาพความเป็นจริงต่างๆ. -- ภาพ: International Rivers Network.</b>
2
<bR><FONT color=#000033>หลี่ อุปกรณ์จับปลาในฤดูน้ำหลากในเขต 4,000 ดอนทางตอนใต้ของลาว ฝ่านต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนดอนสะโฮงกล่าวหาว่า เขื่อนแห่งนี้จะทำให้ฝูงปลาลดลงและหายไปในที่สุด. - ภาพ: International Rivers Network.</b>
3
<bR><FONT color=#000033>รัฐมนตรีลาวกล่าวว่าบริเวณหลี่ผีกับคอนพะเพ็งต่างหากที่เป็น ฮู หรือทางน้ำไหลใหญ่ที่สุดไม่ใช่ฮูสะโฮง การสร้างเขื่อนจึงไม่ผิดข้อตกลงของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงระหว่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องปรึกษาหารือก่อน. -- ภาพ: International Rivers Network.</b>
4
กำลังโหลดความคิดเห็น