xs
xsm
sm
md
lg

ญี่ปุ่นบอก “เต็งเส่ง” พร้อมช่วยโครงการท่าเรือทวาย

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033> ภาพจากสำนักข่าวพม่า วันที่ 3 ม.ค. ประธานาธิบดีเต็งเส่ง (ซ้าย) สัมผัสมือกับนายทาโร อาโซะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลังญี่ปุ่น (ขวา) ระหว่างหารือที่ทำเนียบประธานาธิบดีในกรุงเนปีดอ นายอาโซะอยู่ในระหว่างการเดินทางเยือนพม่าเพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศ. --  AFP PHOTO / Myanma News Agency. </font></b>
.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง: พม่าต้องการรื้อโครงการทวาย


เอเอฟพี - รัฐบาลชุดใหม่ของญี่ปุ่นยังคงสานต่อคำมั่นที่จะยกหนี้ให้แก่พม่าพร้อมขยายวงเงินกู้ยืมก้อนใหม่ รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของญี่ปุ่นระบุวานนี้ (3 ม.ค.) ในระหว่างเดินทางเยือนพม่าเพื่อกระตุ้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน

นายทาโร อาโซะ ยังเห็นชอบที่จะพิจารณาความเกี่ยวข้องของญี่ปุ่นในโครงการท่าเรือน้ำลึกทวายมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ในการประชุมร่วมกันกับประธานาธิบดีเต็งเส่ง

การเยือนของอดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่ถูกนำตัวกลับมารับตำแหน่งในแนวหน้าทางการเมือง โดยนายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อเดือนก่อน สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญทางเศรษฐกิจที่ญี่ปุ่นวางไว้กับพม่า

การเยือนครั้งนี้ มีขึ้นท่ามกลางความวิตกกังวลที่ขยายตัวขึ้นเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองในรัฐกะฉิ่น ทางเหนือของพม่า ซึ่งสหรัฐฯ และสหประชาชาติต่างเรียกร้องให้พม่ายุติการโจมตีทางอากาศต่อกบฏชนกลุ่มน้อย

ทั้งนี้ รัฐบาลญี่ปุุ่นชุดก่อนได้ประกาศในเดือน เม.ย. ว่า จะยกหนี้ จำนวน 300,000 ล้านเยน (3,400 ล้านดอลาร์) ที่พม่าติดค้างจากทั้งหมด 500,000 ล้านเยน หลังพม่าดำเนินการปฏิรูปการเมืองหลากหลายประการ และรัฐบาลญี่ปุ่นยังได้ยืนยันวานนี้ว่า จะปล่อยกู้ก้อนใหม่ จำนวน 50,000 ล้านเยนให้แก่พม่าเพื่อใช้ในการยกระดับระบบพลังงาน กระตุ้นการพัฒนาชนบท และเป็นทุนในโครงการนิคมอุตสาหกรรมที่วางแผนไว้ นับเป็นเงินกู้ยืมดอกเบี้ยต่ำระยะยาวครั้งแรกที่ญี่ปุ่นจัดสรรให้แก่พม่าในรอบเกือบ 3 ทศวรรษ

พม่าต้องการการลงทุนเพื่อหวังช่วยกระตุ้นการเติบโต และปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานที่ทรุดโทรม ขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นที่พึ่งพาการส่งออกก็ต้องการโอกาสใหม่ๆ ในประเทศที่รุ่มรวยไปด้วยทรัพยากร เพื่อชดเชยการเติบโตในประเทศที่ซบเซา

กระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นระบุว่า ในเดือน ธ.ค. ที่ผ่านมา ทั้งสองประเทศได้เห็นชอบร่วมกันที่จะเริ่มดำเนินการโครงการเขตเศรษฐกิจขนาดใหญ่ใกล้กับนครย่างกุ้งในปีนี้

โครงการติลาวาบนเนื้อที่ 15,000 ไร่ ที่รวมทั้งท่าเรือ และนิคมอุตสาหกรรม และคาดว่าจะสามารถเริ่มใช้งานได้ในปี 2558 ที่จะดำเนินการโดยกลุ่มบริษัทหุ้นส่วนของญี่ปุ่นที่ประกอบด้วย บริษัทมิตซูบิชิ ซูมิโตโม และบริษัทมารุเบนิ.
กำลังโหลดความคิดเห็น