xs
xsm
sm
md
lg

เขมรแถลงยอมคำสั่งศาลโลก เกทับได้อีก “อยากเห็นสันติภาพ”

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<bR><FONT color=#000033>ชมกันเองครื้นเครงในพนมเปญ--  ไม่เพียงแต่จะยอมรับและปฏิบัติตาม คำสั่งอันถูกต้อง ของศาลโกลเท่านั้น คำแถลงของรัฐบาลกัมพูชายังขอบคุณนายฮอนัมฮอง (ขวาสุด) ที่ประสบความสำเร็จทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกัมพูชาที่ต้องการให้เกิดสันติภาพ แม้จะไม่ได้ตามที่ขอทั้งหมดจากคำสั่งของศาล แต่หลายอย่างก็ได้มากกว่าที่ขอ และ ถ้าหากกัมพูชายอมถอนทหารออกจากพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ด้วยความสมัครใจตามที่ฝ่ายไทยเสนอ ก่อนจะให้ผู้สังเกตการณ์เข้าประจำ สันติภาพที่กัมพูชากล่าวอ้าง ก็อาจจะเกิดตั้งแต่หลายเดือนก่อนหน้านี้.-- REUTERS/Michael Kooren.</b>

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- รัฐบาลกัมพูชาออกคำแถลงฉบับหนึ่งตอนค่ำวันจันทร์ 18 ก.ค.2554 ยอมรับปฏิบัติตามสั่งของศาลโลก ที่ออกมาในวันเดียวกัน โดยอ้างว่า ตรงตามความประสงค์ของกัมพูชาที่จะให้มีการหยุดยิง และให้คณะสังเกตการณ์ระหว่างประเทศเข้าประจำตามแนวชายแดน เพื่อทำให้เกิดสันติภาพ


คำแถลงที่ออกในนามรัฐบาล ระบุว่า กัมพูชาพร้อมที่จะถอนทหารออกจาก “เขตปลอดทหาร” เพื่อการดังกล่าว ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ได้ยืนยันมาตลอดจะไม่ถอนออกจากพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร รอบๆ ปราสาทพระวิหาร ตามที่ฝ่ายไทยตั้งเป็นเงื่อนไข ก่อนจะให้คณะสังเกตการณ์จากอินโดนีเซียเดินทางเข้า

นายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีต่างประเทศ กล่าวในหลายโอกาสว่า “เป็นเรื่องตลก ที่ให้กัมพูชาถอนทหารออกจากดินแดนของตัวเอง”

คำแถลงของกัมพูชาไม่ได้ระบุโดยตรงถึงการกลับคืนสู่โต๊ะเจรจากับฝ่ายไทย เพื่อแก้ปัญหาพิพิพาทพรมแดนตามคำสั่งของศาลโลก ซึ่งไทยได้ยืนยันในจุดยืนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาด้วยการเจรจาสองฝ่ายตลอดมา แต่กัมพูชายืนยันมาตลอดเช่นกันว่าที่จะไม่เจรจาทวิภาคีกับไทยอีก

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice) ได้จัดตั้งเขตปลอดทหารขึ้นกินอาณาบริเวณโดยรอบปราสาท ซึ่งเคยเป็นพื้นที่พิพาทระหว่าง 2 ประเทศ และยังล้ำเข้าไปในพื้นที่บางส่วนทั้งในกัมพูชาและฝั่งไทย ให้ทั้งสองฝ่ายถอนทหารออกไป ละเว้นกิจกรรมทางทหาร และกิจกรรมทุกอย่างที่จะทำให้สถานการณ์เลวร้ายลง

สองฝ่ายต้องรายงานต่อศาลโลกเป็นระยะๆ เกี่ยวกับการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าว จนกว่าศาลจะประกาศผลการพิจารณาตีความคำตัดสินปี 2505 เกี่ยวกับพื้นที่ที่เป็นปัญหา ซึ่งยังไม่ได้กำหนดว่าจะชี้ขาดเรื่องนี้เมื่อไร แต่หลายฝ่ายกล่าวว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี

กัมพูชาได้นำความขัดแย้งปราสาทพระวิหาร ฟ้องต่อศาลโลกในปี 2502 ศาลตัดสินในวันที่ 15 มิ.ย.2505 ยกปราสาทให้กัมพูชาบนพื้นฐานข้อเท็จจริงที่ว่า ปราสาทเก่าแก่อยู่ในดินแดนกัมพูชาตามแผนที่มาตรา 1:200,000 ของฝรั่งเศส-สยาม ที่จัดทำขึ้นเมื่อกว่า 100 ปีก่อน โดยไม่ได้เป็นไปตามสนธิสัญญา 1904 ที่ระบุให้ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนธรรมชาติ ตามกฎหมายระหว่างประเทศ

ขณะที่รัฐบาลไทยประกาศยอมรับคำตัดสินใจของศาลโลก และจะปฏิบัติตามคำสั่งต่างๆ ทุกประการ รวมทั้งการส่งมอบโบราณวัตถุจากปราสาทพระวิหารคืนให้แก่กัมพูชาด้วย แต่ไทยได้ยื่นเป็นลายลักษณ์อักษรต่อศาลโลก ขอสงวนสิทธิ์เหนือดินแดนแดนโดยรอบปราสาทมาตั้งแต่ปี 2505 เช่นกัน

นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ ให้ปากคำต่อศาลโลกในต้นเดือน มิ.ย.ปีนี้ ว่า กว่า 40 ปีมานี้ กัมพูชาไม่เคยคัดค้านการกล่าวอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ของไทยแม้สักครั้งเดียว แต่เพิ่งจะเป็นปัญหา เมื่อกัมพูชานำปราสาทเข้าจดทะเบียนเป็นมรดกโลกเพียงฝ่ายเดียว และถ้าหากขาดพื้นที่โดยรอบก็จะทำให้แผนบริหารจัดการมรดกโลกไม่สมบูรณ์

คำแถลงของกัมพูชาเมื่อวันจันทร์นี้ ระบุว่า กัมพูชาสนับสนุนอย่างเต็มที่ในคำสั่งของศาลโลก เนื่องจากสอดคล้องกับความเรียกร้องต้องการของกัมพูชาที่ต้องการจะเห็นสันติภาพในพื้นที่ ให้คณะสังเกตการณ์เข้าประจำในเขตปลอดทหารที่จัดตั้งขึ้นและให้ประชาชนดำเนินชีวิตและกิจกรรมต่างๆ ของพลเรือนอย่างเป็นปรกติต่อไป

กัมพูชา หวังว่า รัฐบาลไทยจะยอมรับและปฏิบัติตาม “คำสั่งอันถูกต้อง” ของศาลโลก และ หวังว่า ศาลจะดำเนินการตามภารกิจอันเร่งด่วนนี้โดยเร็ว ซึ่งฝ่ายตนพร้อมจะเอื้ออำนวยความสะดวก คำแถลงกล่าว
กำลังโหลดความคิดเห็น