ASTVผู้จัดการรายวัน - เมื่อเวลา 23.00 น.วันที่ 14 ก.ค.54 ภายในอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศขาออก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นาย กษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยก่อนเดินทางไปยังกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อฟังคำพิพากษาของศาลโลกกรณี ที่กัมพูชาร้องขอให้ออกมาตรการคุ้มครองชั่วคราว บริเวณพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ซึ่งศาลโลกได้นัดทั้งไทยและกัมพูชา ไปรับฟังคำตัดสินในวันที่18 กรกฏาคม นี้ เวลา 10.00น.ตามเวลาท้องถิ่นหรือ 15.00 น.ตามเวลาประเทศไทย ว่า การเดินทางไปครั้งนี้ ทุกคนต่างก็เดินทางไปด้วยใจระทึก แต่ก็ด้วยความคาดหวังที่ดี เพราะจากการเตรียมการมาเป็นร่วมปี รวมกับที่เราได้พบปะกับคณะที่ปรึกษาของเราทั้ง 3 ท่านและจากการที่เราไปให้การในวันที่ 30-31 พ.ค.ที่ผ่านมา ทั้งที่ผมไม่ใช่นักกฎหมาย เท่าที่ฟังดูด้วยเหตุด้วยผลก็มีความหนักแน่น ตามหลักกฎหมายและครอบคลุมทุกประเด็นในการปฎิเสธคำขอ ของกัมพูชา หรือข้อโต้แย้งใดใด และการให้การก็เป็นเรื่องเป็นราว เราก็มีความมุ่งหวังว่าเหตุและผลและหลักกฎหมายนั้นจะเพียงพอให้ทางคณะผู้พิพากษาศาลโลก 15 ท่านได้รับทราบพิจารณาด้วยดี ก็ได้ความหวังที่ดีว่าเค้าจะรับฟังเหตุผล หลักการและข้อกฎหมายต่าง
ส่วนเอกสารที่เรายื่นเพิ่มเติมนั้น ก็เป็นเรื่องเล็กน้อยเพราะเป็นเอกสารเกี่ยวกับการปะทะ บริเวณปราสาทตาเหมือนธม และปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นเรื่องของการให้ข้อเท็จจริงและ ได้ยืนยันมาตลอดเวลา ว่าการปะทะใดใดที่ได้เกิดขึ้นนั้น มันเป็นเรื่องที่เราถูกรุกรานก่อน ด้วยเหตุผลที่ทางกัมพูชาต้องการใช้การปะทะอันนั้นไปที่สหประชาชาติ เพื่อสร้างความเห็นอกเห็นใจที่คณะกรรมการมรดกโลกหรือยูเนสโก และในที่สุดก็ใช้การปะทะที่บริเวณดังกล่าวไปที่ศาลโลก ซึ่งเป็นเป้าหมายเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีข้อพิพาทกัน ส่วนการป้องกันตนเองนั้นเราก็ทำขอบเขต ณ พื้นที่ ไม่ได้มีการขยายการสู้รบ ส่วนความหนักหน่วงนั้นก็อยู่ที่ว่าจะถูกโจมตีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในช่วงของการสู้รบนั้น เราก็มีการติดต่อที่จะให้มีการหยุดยิง หยุดปะทะ นอกจากนั้นเราก็ได้เรียกร้องต่อกัมพูชาโดยตรง รวมถึงผ่านไปทางรัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซีย ว่า เรามีกรอบการเจรจา มีสมุดคู่มือที่จะให้มีการเจรจาคือบันทึกช่วยจำ หรือ MOU ปีพ.ศ. 2543 มีกรอบการเจรจาเจบีซี จีบีซี ต่างต่างเหล่านี้ทั้งที่เราพร้อม แต่จนกระทั่งถึงวันนี้ ทางรัฐบาลกัมพูชาก็ยังปฎิเสธอยู่
ส่วนประเด็นปัญหาที่ทางกัมพูชาระบุว่ารัฐสภาของเราไม่พิจารณาและให้ความเห็นชอบ ต่อบันทึกช่วยจำ 3 ฉบับ ที่สืบเนื่องมาจากผลการประชุมเจบีซี ล่าสุดทางสภาฯ ก็ได้ส่งเรื่องกลับมาให้ที่ฝ่ายบริหาร ตามข้อคิดเห็นของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งหมดก็พร้อมแล้วอยู่ที่กัมพูชาจะนำขึ้นมาพูดคุยกันหรือไม่ แต่การที่ทางรัฐบาลกระทำอยู่อย่างนี้ บ่งบอกถึงเจตนาว่าไม่อยากจะเจรจา แต่อยากจะใช้เวทีระหว่างประเทศเพื่อจะบีบคั้นประเทศไทย
ทั้งนี้ จากกรณีที่กัมพูชายื่นคำร้องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ออกมาตรการชั่วคราวระหว่างรอการพิจารณาตีความคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505 โดยขอให้ (1) ไทยถอนกองกำลังทั้งหมดจากส่วนต่างๆ ในดินแดนกัมพูชาในพื้นที่ปราสาทพระวิหารทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข (2) ห้ามไทยมีกิจกรรมทางทหารใดๆ ในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร (3) ให้ไทยงดการกระทำหรือการดำเนินการใดๆ ที่กระทบต่อสิทธิของกัมพูชาหรือเพิ่มความขัดแย้งในคดีการตีความ
ศาลโลกมีกำหนดที่จะอ่านคำพิพากษากรณีการออกมาตรการชั่วคราวดังกล่าวในวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ เวลา 10.00 น.ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ (15.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย) โดยจากการประเมินของกระทรวงการต่างประเทศนั้น อาจเป็นไปได้ว่าศาลจะมีคำตัดสินออกมาใน 3 รูปแบบ คือ
(1) ศาลอาจปฏิเสธคำขอของกัมพูชาที่จะให้มีมาตรการชั่วคราว (2) ศาลอาจมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราว แต่เป็นในลักษณะอื่นที่ศาลเห็นสมควรซึ่งต่างจากสิ่งที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาล หรือ (3) ศาลอาจมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราวตามที่ฝ่ายกัมพูชาขอทั้งหมด.
ส่วนเอกสารที่เรายื่นเพิ่มเติมนั้น ก็เป็นเรื่องเล็กน้อยเพราะเป็นเอกสารเกี่ยวกับการปะทะ บริเวณปราสาทตาเหมือนธม และปราสาทตาควาย อ.พนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ ก็เป็นเรื่องของการให้ข้อเท็จจริงและ ได้ยืนยันมาตลอดเวลา ว่าการปะทะใดใดที่ได้เกิดขึ้นนั้น มันเป็นเรื่องที่เราถูกรุกรานก่อน ด้วยเหตุผลที่ทางกัมพูชาต้องการใช้การปะทะอันนั้นไปที่สหประชาชาติ เพื่อสร้างความเห็นอกเห็นใจที่คณะกรรมการมรดกโลกหรือยูเนสโก และในที่สุดก็ใช้การปะทะที่บริเวณดังกล่าวไปที่ศาลโลก ซึ่งเป็นเป้าหมายเกี่ยวกับพื้นที่ที่มีข้อพิพาทกัน ส่วนการป้องกันตนเองนั้นเราก็ทำขอบเขต ณ พื้นที่ ไม่ได้มีการขยายการสู้รบ ส่วนความหนักหน่วงนั้นก็อยู่ที่ว่าจะถูกโจมตีมากน้อยแค่ไหน ซึ่งในช่วงของการสู้รบนั้น เราก็มีการติดต่อที่จะให้มีการหยุดยิง หยุดปะทะ นอกจากนั้นเราก็ได้เรียกร้องต่อกัมพูชาโดยตรง รวมถึงผ่านไปทางรัฐมนตรีต่างประเทศของอินโดนีเซีย ว่า เรามีกรอบการเจรจา มีสมุดคู่มือที่จะให้มีการเจรจาคือบันทึกช่วยจำ หรือ MOU ปีพ.ศ. 2543 มีกรอบการเจรจาเจบีซี จีบีซี ต่างต่างเหล่านี้ทั้งที่เราพร้อม แต่จนกระทั่งถึงวันนี้ ทางรัฐบาลกัมพูชาก็ยังปฎิเสธอยู่
ส่วนประเด็นปัญหาที่ทางกัมพูชาระบุว่ารัฐสภาของเราไม่พิจารณาและให้ความเห็นชอบ ต่อบันทึกช่วยจำ 3 ฉบับ ที่สืบเนื่องมาจากผลการประชุมเจบีซี ล่าสุดทางสภาฯ ก็ได้ส่งเรื่องกลับมาให้ที่ฝ่ายบริหาร ตามข้อคิดเห็นของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งทั้งหมดก็พร้อมแล้วอยู่ที่กัมพูชาจะนำขึ้นมาพูดคุยกันหรือไม่ แต่การที่ทางรัฐบาลกระทำอยู่อย่างนี้ บ่งบอกถึงเจตนาว่าไม่อยากจะเจรจา แต่อยากจะใช้เวทีระหว่างประเทศเพื่อจะบีบคั้นประเทศไทย
ทั้งนี้ จากกรณีที่กัมพูชายื่นคำร้องให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ออกมาตรการชั่วคราวระหว่างรอการพิจารณาตีความคดีปราสาทพระวิหาร ปี 2505 โดยขอให้ (1) ไทยถอนกองกำลังทั้งหมดจากส่วนต่างๆ ในดินแดนกัมพูชาในพื้นที่ปราสาทพระวิหารทันทีโดยไม่มีเงื่อนไข (2) ห้ามไทยมีกิจกรรมทางทหารใดๆ ในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร (3) ให้ไทยงดการกระทำหรือการดำเนินการใดๆ ที่กระทบต่อสิทธิของกัมพูชาหรือเพิ่มความขัดแย้งในคดีการตีความ
ศาลโลกมีกำหนดที่จะอ่านคำพิพากษากรณีการออกมาตรการชั่วคราวดังกล่าวในวันที่ 18 กรกฎาคมนี้ เวลา 10.00 น.ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ (15.00 น.ตามเวลาในประเทศไทย) โดยจากการประเมินของกระทรวงการต่างประเทศนั้น อาจเป็นไปได้ว่าศาลจะมีคำตัดสินออกมาใน 3 รูปแบบ คือ
(1) ศาลอาจปฏิเสธคำขอของกัมพูชาที่จะให้มีมาตรการชั่วคราว (2) ศาลอาจมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราว แต่เป็นในลักษณะอื่นที่ศาลเห็นสมควรซึ่งต่างจากสิ่งที่กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาล หรือ (3) ศาลอาจมีคำสั่งออกมาตรการชั่วคราวตามที่ฝ่ายกัมพูชาขอทั้งหมด.